เจาะนโยบาย 3 ผู้สมัครรับเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพบัญชี

โดย

 

"สภาวิชาชีพบัญชีฯ" เป็นองค์กรหลักที่มีบทบาทหน้าที่ในการกำกับดูแลและพัฒนานักบัญชีไทยนับว่าเป็นวาระสำคัญยิ่งในการที่สมาชิกของสภาวิชาชีพบัญชี จะได้มีโอกาสร่วมกันกำหนดทิศทางของวิชาชีพบัญชี ด้วยการแสดงพลังเลือกตั้งนายกสภาวิชาชีพบัญชีและกรรมการ ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2560 เวลา 8.00 - 15.00 น. ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ห้องพลาซ่า โซน c


เอกสารภาษีอากร จึงไม่พลาดที่จะเกาะติดกระแสการเลือกตั้งโดยได้นำนโยบายของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งตำแหน่ง "นายกสภาวิชาชีพบัญชีและกรรมการ" ทั้ง 3 ท่าน จาก 3 คณะผู้สมัครเพื่อเผยแพร่ และใช้ในการตัดสินใจเลือกตั้งครั้งนี้

     นโยบายของทีม ประสัณห์  เชื้อพานิช หมายเลข 1

 


ผลงานหลัก และขอให้เราทำงานต่อไป
1. ได้พัฒนามาตรฐานรายงานทางการเงินและมาตรฐานการสอบบัญชี ทำให้การประเมิน CG Watch 2016 (Asian Ranking)
2. Accounting & Auditing ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซียและดีกว่าฮ่องกงและไต้หวัน
3. ยกระดับผู้ทำบัญชีให้สามารถแข่งขันกับประเทศใน AEC ได้ด้วยโครงการ ASEAN Charter Professional Accountant
4. จัดทำหลักสูตรปริญญาตรีบัญชีให้สอดคล้องกับ IES (International Education Standard for Professional Accountant)
5. เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิกด้วยหลักสูตรอบรมราคาพิเศษ 399-599 บาท ซึ่งมีผู้เข้าอบรมเกือบ 10,000 คน  ในปี 2559
6. พัฒนาการบริการในระบบออนไลน์ให้สมาชิกทำรายการที่ไหนก็ได้ในเวลาที่สะดวกและปรับปรุงช่องทางรูปแบบในการสื่อสาร เผยแพร่ข่าวสาร ให้เข้าถึงสมาชิกให้มากขึ้น ง่ายขึ้นผ่าน Social media ต่างๆ
7. มีบทบาทและได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากทุกภาคส่วน ในการจัดอบรมสัมมนาให้ความรู้ความเข้าใจร่วมกับหน่วยงานต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ ทั้ง กลต. ตลท. คปภ. IOD กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมสรรพากร และหน่วยงานอื่นๆ

โครงการที่ดำเนินอยู่ และต้องทำให้ลุล่วง
1. ร่วมมือในการพัฒนาโครงการ Software บัญชีสำหรับ SMEs โดยใช้ระบบ POS Scan Barcode ผ่านมือถือ บันทึกข้อมูลซื้อขาย เพื่อลงบัญชีและจัดทำงบการเงิน งบกระแสเงินสด สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ อีกทั้งรองรับระบบ e-filing ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
2. ดำเนินการต่อเนื่องในการส่งเสริมความรู้ เพื่อให้นักบัญชีสามารถพัฒนาเป็น CFO มืออาชีพ
3. ดำเนินการต่อเนื่องเพื่อพัฒนาผู้ทำบัญชีในตลาดทุนและบริษัทที่จะเข้า IPO ด้วยหลักสูตร CFO course: Focus on Financial Reporting.
4. ร่วมกับ กลต. ตลท. และองค์กรอื่นๆ ในการจัดทำ CG code เพื่อเป็นแนวทางสำหรับกรรมการบริษัทในการกำกับดูแลกิจการที่ดี
5. ดำเนินการแปล COSO เป็นภาษาไทยให้ลุล่วง เพื่อจัดพิมพ์เผยแพร่ให้ทุกภาคส่วนใช้การพัฒนาระบบควบคุมภายในที่ดี
6. ยกระดับวิชาชีพบัญชีในระดับอุดมศึกษาด้วย Thailand Accounting Challenge ที่จัดมาอย่างต่อเนื่อง 5 ปี มี 152 ทีมจาก 81 สถาบัน เข้าร่วมต่อยอดด้วยโครงการ Thailand Accounting Case Competition ที่จัดเป็นครั้งแรกในเดือนพฤษภาคมนี้
7. เร่งสานต่อในการพัฒนาคณาจารย์บัญชีในโครงการ Train the trainer โดยเน้นภูมิภาคให้มีองค์ความรู้ TFRS และเป็นช่องทางการพัฒนานักศึกษา และผู้ประกอบวิชาชีพในต่างจังหวัดต่อไป
8. เร่งพัฒนาหลักสูตรเพิ่มเติมให้มีการใช้เทคโนโลยีมาเป็นเครื่องมือในการทำงานในยุคดิจิทอล เช่น IT Audit   e-filing และ e-learning ในการเรียนรู้ เป็นต้น
9. ผลักดันเพื่อลดความแตกต่างระหว่างบัญชีและภาษีที่มีภาระต้นทุนต่อภาคธุรกิจ เช่นในเรื่อง Functional Currency

     นโยบายของทีม จักรกฤศฏิ์  พาราพันธกุล หมายเลข 2

 



นโยบายของ KN Team ต่อผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดย “ต่อยอดสิ่งที่ดีให้ดีขึ้น ปรับปรุงสิ่งบกพร่องให้ถูกต้อง”

1. ต่อนักบัญชี / ผู้สอบบัญชี / ผู้ประกอบธุรกิจ
ระยะสั้น – ทำทันที
1.1 ปรับปรุงมาตรฐานการบัญชี ให้ชัดเจน ไม่คลุมเครือ/อำพลาง สอดคล้องกับฐานะภาพของนักบัญชีและกิจการแต่ละขนาด เป็น 3 ระดับคือ
ก. ระดับกิจการใน SET – ให้ใช้ TFRS for PAE
ข. ระดับที่เกี่ยวข้องกับข้อ (ก) ให้ใช้ TFRS for SME ตามมาตรฐานสากล
ค. ระดับเล็ก/ย่อม (ที่ไม่ใช่ ข้อ ก.และ ข.) ให้ใช้ TFRS for NPAE ต่อไป โดยแก้ไขปัญหาและความยุ่งยากที่ยังมีอยู่ในทางปฏิบัติให้ชัดเจน/เข้าใจง่าย/ใช้สะดวก และลดความแตกต่างกับภาษีอากร
1.2 ตั้งทีมติดตามและแก้ไขปัญหาในการปฏิบัติตามมาตรฐานบัญชีทั้ง 3 ระดับ แก่นักบัญชี/ผู้สอบบัญชี ให้เกิดความชัดเจน/เข้าใจง่าย/ใช้สะดวก
1.3 เปิดคลินิกบัญชี/สอบบัญชี เพื่อเป็นที่พึ่ง ให้คำปรึกษาปัญหาทางปฏิบัติแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.4 ต่อยอดโครงการให้ความรู้งานตรวจสอบภายใน และเพื่อสอบ IIA
ระยะกลาง
1.5 ยกระดับมาตรฐานสำนักงานทำบัญชี/สำนักงานสอบบัญชี โดยพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ (National Software – TSQC1) ที่เป็น ERP Base รองรับการใช้งานที่ง่าย/สะดวก/ครบถ้วน
1.6 ส่งเสริมผู้รับทำบัญชี/ผู้สอบบัญชีรายบุคคล เชื่อมโยงกับระดับสำนักงาน โดยใช้ระบบ ERP-IT ตาม (1.5)
1.7 จัดทำตัวอย่างการบันทึกบัญชี/การคำนวณ สำหรับแต่ละมาตรฐานบัญชีที่เป็นรูปธรรม/เข้าใจง่าย เพิ่มจากแนวปฏิบัติ
1.8 จัดให้มีการอบรมเพื่อสอบ CPA
1.9 จัดให้มีคู่มือเตรียมสอบ ในระบบ CD ROM หรือ On Line ซึ่งสมาชิกสามารถนำไปฝึกฝนด้วยตนเอง
1.10 เพิ่มช่องทางการทดสอบ CPA ให้มากขึ้นและสะดวกขึ้น ในเบื้องต้นผ่านสาขาทั้ง 12 แห่งของสภา
1.11 จัดให้สภาฯ เป็นศูนย์กลาง ระหว่าง “ผู้ให้บริการทำบัญชี”/ “สำนักงานสอบบัญชี”/ “ผู้ทำบัญชี”/ “ผู้สอบบัญชี”.และ “ผู้ประกอบการ”
1.12 ขยายการอบรมไปยังต่างจังหวัด  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางและส่งเสริมศักยภาพของนักผู้สอบบัญชีและผู้ทำบัญชีในภูมิภาค
1.13 เพิ่มความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน  ได้แก่ สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (โดยเฉพาะโครงการช่วยเหลือธุรกิจ SMEs Start Up) โดยให้ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าใจและสามารถใช้ประโยชน์ของข้อมูลบัญชีในการสร้างความเข้มแข็งทางการเงิน เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางธุรกิจ

2. ต่อคณาจารย์ด้านการบัญชี และเทคโนโลยีการบัญชี
ระยะสั้น – ทำทันที
2.1 ปรับปรุงโครงการพัฒนาผู้สอน (Train the trainer) โดยเพิ่มความถี่และช่องทางในการอบรมให้เข้าถึงได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น ช่องทาง Online / CD / Youtube/  E-Book ฯลฯ
ระยะกลาง
2.2 ประสานกับมหาวิทยาลัยที่สอนวิชาบัญชี เพื่อให้สถาบันการศึกษานับเวลาที่ครู/อาจารย์แต่ละท่านที่เสียสละเวลาช่วยงานวิชาการของสภาฯ เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อปรับระดับฐานะทางวิชาการตามเกณฑ์ของแต่ละสถาบัน
2.3 พัฒนาหลักสูตรบัญชี/สอบบัญชีภาคปฏิบัติ โดยร่วมกับสถาบันการศึกษาสร้างหลักสูตรให้มีการทำงานจริงในห้องปฏิบัติการของแต่ละสถาบันให้นิสิต/นักศึกษาได้ทำจริงโดยระบบคอมพิวเตอร์ให้รู้รอบด้านในการทำบัญชี/สอบบัญชี
2.4 พัฒนาศูนย์กลางการวิจัยทางบัญชี/สอบบัญชี และสร้างสื่อเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณาอาจารย์

3. ต่อการบริการสมาชิก
ระยะสั้น – ทำทันที
3.1 ลดค่าธรรมเนียมสมาชิก โดยแก้ไขข้อบังคับจากธรรมเนียมสมาชิกปีละ 500 บาท เป็นปีละ 300 บาท เพื่อคืนกำไรแก่สมาชิก
3.2 ลดค่าสมัครสอบ CPA
3.3 ทบทวนอัตราค่าอบรมของสภาฯ ให้ลดลงจากเดิม
3.4 สานต่อหลักสูตรอบรมที่ อาจารย์สุพจน์ สิงห์เสน่ห์ ริเริ่มและได้ดำเนินการให้สมาชิกแล้ว คือ
ก. หลักสูตรการบัญชี/สอบบัญชีราคาประหยัด 599 บาท
ข. หลักสูตร Self Study CPD และ LEARN & TEST CPD ที่ใช้เวลาเข้าร่วมเพียง 1 วัน ได้ CPD ครบ 20 ชั่วโมง
ค. หลักสูตรยกระดับผู้ทำบัญชี  DIP TFR
3.5 แก้ไขปัญหา/อุปสรรคของบริการ Online เช่นเมื่อขาดต่ออายุ / การแจ้ง CPD  / การแจ้งการสอบบัญชี

     นโยบายของทีม ไพฑูรย์ ทวีผล หมายเลข 3

 


“สภาวิชาชีพบัญชีเป็นองค์กรของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี” ทีมไพฑูรย์จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อการบริหารให้เป็นไปตามหลักการข้างต้นดังนี้

1. ปฏิรูป
1.1 ระบบสวัสดิการและผลตอบแทนที่เหมาะสมและยั่งยืนแก่สมาชิก
1.2 การให้บริการแก่สมาชิกในการจัดการทดสอบความรู้ของผู้ขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตในภูมิภาค
1.3 จัดทำคลินิกวิชาชีพบัญชีทุกด้าน เพื่อให้สะดวกปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
1.4 จัดให้มีคู่มือการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
1.5 จัดทำคู่มือการบัญชีภาษีอากร เพื่อส่งเสริมสนับสนุนความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านภาษีอากรให้สอดคล้องกันระหว่างมาตรฐานการรายงานทางการเงินและประมวลรัษฎากร
1.6 ให้สภาวิชาชีพบัญชีเป็นแหล่งเรียนรู้โดยขอความร่วมมือสถาบันการศึกษาเกี่ยวกับงานวิจัยทางด้านวิชาชีพบัญชีที่เป็นประโยชน์ต่อสมาชิก รวมทั้งศึกษาและรวบรวมผลงานทางวิชาการออกเผยแพร่

2 แก้ไขและพัฒนา
2.1 ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของสภาฯ ให้มีความทันสมัยและรองรับการให้บริการในทุก ๆ ด้านให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
2.2 ให้ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการที่ทันต่อเหตุการณ์ผ่าน SOCIAL NETWORK ที่เป็นการสื่อสาร 2 ทาง
2.3 ศึกษาและนำเสนอเพื่อปรับปรุงพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ ของสภาวิชาชีพบัญชีให้ทันสมัยและเหมาะสมกับปัจจุบัน
2.4 ปรับปรุงการนำมาตรฐาน TFRS for SMEs มาใช้กับธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม ให้เหมาะสมกับการประกอบธุรกิจในประเทศไทย และพร้อมก้าวไปสู่สากล โดยคำนึงถึงผลกระทบทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนำมาตรฐานดังกล่าวมาถือปฏิบัติ
2.5 พัฒนาวิชาชีพทั้ง 6 ด้านให้มีความเป็นเอกภาพและทัดเทียมอย่างเป็นรูปธรรม
2.6 ส่งเสริมให้มีการพัฒนาผู้สอนและวิทยากรด้านการบัญชี การสอบบัญชี การวางระบบบัญชี การบัญชีภาษีอากร หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีในต่างจังหวัดและภูมิภาคมากขึ้นเพื่อให้บริการแก่สถาบันการศึกษาทั้งของรัฐและเอกชนในภูมิภาคทั่วประเทศ
2.7 ส่งเสริมให้สภาฯ มีบทบาทมากขึ้นในองค์กรด้านการบัญชีระหว่างประเทศ ประกอบด้วย สหพันธ์นักบัญชีอาเซียน(Asean Federation of Accountants: AFA) สหพันธ์นักบัญชีนานาชาติ (International Federation of Accountants: IFAC) สหพันธ์นักบัญชีนานาชาติแห่งเอเชียและแปซิฟิค (Confederation of Asia and Pacific Accountants: CAPA)

3.ใส่ใจและดูแล
3.1ให้มีการประกาศเกียรติคุณแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่สร้างคุณประโยชน์ต่อวิชาชีพและสังคม
3.2 ให้มีสถานที่ในการแลกเปลี่ยนความคิดในการปฏิบัติ เพื่อสัมพันธ์ภาพที่ดีของสมาชิกโดยเครื่องและสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน
3.3 การบริการสมาชิกอาวุโสที่ไม่สามารถเข้าสื่อทาง SOCIALNETWORKได้
3.4 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพทุกภาคส่วน ทุกระดับอายุ และนักวิชาการจากทุกสถาบันมีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางเพื่อพัฒนาวิชาชีพบัญชี
3.5 เรียนเชิญอดีตนายกสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย  และอดีตนายกสภาวิชาชีพบัญชี ซึ่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวิชาชีพและเคยทำคุณประโยชน์ให้วิชาชีพอย่างมากเป็นคณะที่ปรึกษาสภาวิชาชีพบัญชี เพื่อสืบทอดวัฒนธรรมและความเป็นสถาบันวิชาชีพบัญชีที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องกันมาจนเป็นสภาวิชาชีพในปัจจุบัน
3.6 ส่งเสริมให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพและเที่ยงธรรม ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพและมีค่าตอบแทนวิชาชีพที่เหมาะสม

4. ให้บริการ
4.1 มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีให้บริการแก่สมาชิกทุกระดับพร้อมทั้งรณรงค์และให้ความรู้ในการใช้เทคโนโลยี เพื่อสะดวกในการติดต่อกับสภา
4.2 เข้าถึงสมาชิกทุกระดับโดยเปิดช่องทางการติดต่อที่หลากหลายและมีความเหมาะสมกับความต้องการของสมาชิก
4.3 จัดทำหลักสูตร E learning ให้สอดคล้องกับจำนวนชั่วโมงการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องของผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี
4.4 ปรับปรุงงานด้าน  Call Center ให้มีประสิทธิภาพในการให้บริการมากขึ้น
4.5 ให้มีกิจกรรมคืนประโยชน์สู่สังคม(CSR)อย่างเป็นรูปธรรม
4.6 ให้สมาชิกทุกภูมิภาคได้รับการฝึกอบรมอย่างทั่วถึงในราคาที่เหมาะสม



Interview : กองบรรณาธิการ
วารสาร : เอกสารภาษีอากร พฤษภาคม 2560
FaLang translation system by Faboba