มาตราการพี่ช่วยน้อง

โดย

 



มาตราการพี่ช่วยน้องคืออะไร
คือการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจของ SMEs เพื่อเสริมสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและยกระดับการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการ
SMEs และมาตรการภาษีเพื่อส่งเสริมการลงทุนในชนบทเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในโครงการที่ท้องถิ่นมีความต้องการ
โดยให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล

เงื่อนไขของมาตราการมีดังนี้
1. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรเกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงานเกิน 200 คน (พี่)
หักรายจ่าย 2 เท่า แต่ไม่เกินร้อยละ 10 ของกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะหรือเพื่อการสาธารณะประโยชน์
และรายจ่ายเพื่อการศึกษาหรือเพื่อการกีฬาตามมาตรา 65 ตรี (3) สำหรับรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจ
ของ SMEs ที่เป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามกฎหมายไทยที่มีสินทรัพย์ถาวรไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน
ไม่เกิน 200 คน (น้อง) เป็นระยะเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี
2. บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยจะต้องไม่ถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม และไม่มีอำนาจควบคุม
หรือกำกับดูแลการดำเนินงานและบริหารงานของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้จ่ายไปเพื่อสนับสนุนการดำเนินกิจการ
3. ค่าใช้จ่ายในโครงการจะต้องได้รับการรับรองจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย

ลักษณะโครงการส่งเสริมการดำเนินธุรกิจมีดังนี้
1. การถ่ายทอดความรู้ ได้แก่ การบริหาร การตลาด การบัญชี เป็นต้น
2. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรม
3. การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดต้นทุนการผลิต เพิ่มกำไร
4. การส่งเสริมการตลาด
5. จ่ายค่าธรรมเนียมค้ำประกันสินเชื่อแทนผู้ประกอบการที่ได้รับการค้ำประกันสินเชื่อจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรม
ขนาดย่อม

ระยะเวลาโครงการ
จากเดิมที่ให้ระยะเวลา 3 รอบบัญชี คือ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2559 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2561 แต่มีการขยายมาตรการออกไป
จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2563


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : มาตราการพี่ช่วยน้อง

 

 




FaLang translation system by Faboba