คนละครึ่ง เราชนะ เรารักกัน รายได้ที่ช่วยเหลือจากภาครัฐแบบนี้ เสียภาษีอย่างไร

โดย

 

ร้านค้าที่ลงทะเบียนรับสิทธิ์คนละครึ่ง เราชนะ หรือเรารักกัน กับการจัดการภาษี


ร้านค้าที่ลงทะเบียนสิทธิ์ คนละครึ่ง เราชนะ หรือเรารักกัน รวมถึงสิทธิ์ต่างๆ นั้น ต้องมีการวางแผนจัดการภาษีด้วยเช่นกัน
ซึ่งอันดับแรกควรทำความเข้าใจในประเด็นสำคัญทั้ง 3 ข้อ ดังนี้ครับ

1. มีรายได้ ต้องเสียภาษี
หลายคนเข้าใจผิดว่ารายได้ที่ได้รับจากสิทธิ์ไม่ต้องเสียภาษี หรือรายได้จากการทำธุรกิจที่ผ่านมาไม่ต้องเสียภาษี แต่ที่จริง
แล้ว ร้านค้าต้องนำ รายได้ทั้งหมดที่ได้รับมาเสียภาษี ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากไหน ทั้งที่อยู่ในแอปเป๋าตัง หรือรับจาก
การซื้อขายสินค้าตามปกติ ทุกอย่างต้องถือเป็นรายได้เพื่อคำนวณภาษีทั้งหมด
โดยร้านค้า (ผู้มีเงินได้) ต้องทำความเข้าใจให้ดีก่อนว่ามีรายได้เท่าไรที่ได้รับในแต่ละปี ซึ่งรายได้นั้น หมายถึง เงินที่เรา
ได้รับจากการขายสินค้าหรือบริการ ที่ยังไม่ได้หักต้นทุนใดๆ

2. ภาษีตัวแรกที่เกี่ยวข้อง คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เนื่องจากร้านค้าที่ลงทะเบียนโครงการนี้ได้มักจะเป็นร้านค้าที่ประกอบธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา ดังนั้น การเสียภาษี
ต้องเข้าใจวิธีคำนวณของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาให้เรียบร้อยเสียก่อน

3. ระวังภาษีมูลค่าเพิ่ม หากมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี
โดยปกติแล้ว ร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการนั้นจะได้รับรายได้จากการขายสินค้าหรือบริการที่ไม่ได้รับสิทธิ์ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
ดังนั้นจะมีหน้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาทในปีภาษีนั้นๆ
เน้นย้ำอีกครั้ง รายได้ ไม่ใช่ กำไร แปลว่ายังไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ เลย ซึ่งถ้าหากเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องระวังให้ดี
เพราะจะมีเรื่องของ VAT 7% มาเกี่ยวข้อง ซึ่งจะเกี่ยวกับการตั้งราคาขายสินค้าและบริการอีกด้วย



  บางส่วนจากบทความ “คนละครึ่ง เราชนะ เรารักกัน รายได้ที่ช่วยเหลือจากภาครัฐแบบนี้ เสียภาษีอย่างไร”
  อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 209 เดือนพฤษภาคม 2564

 


Tax Talk : Tax knowledge : TaxBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤษภาคม 2564


FaLang translation system by Faboba