ปัญหาของผู้ประกันตนและคำตอบที่ควรรู้

โดย

 

 
ผู้ประกันตน ม.33 มีสิทธิได้รับเงินชราภาพแบบบำนาญ
จะลาออกจากประกันสังคมได้หรือไม่


สิทธิของผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม ยังมีความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิอีกหลายอย่าง เพื่อให้ผู้ประกันตนและนายจ้างได้รับรู้อย่างถูกต้อง ขอยกตัวอย่างคำถามที่เจอบ่อย คือ
คำถาม : “ขณะนี้ยังเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมมากกว่า 180 เดือน มีสิทธิได้รับเงินชราภาพแบบบำนาญแล้ว ซึ่งถ้าคำนวณบำนาญปัจจุบันตามหลักเกณฑ์อจะได้รับเดือนละ 4,500 บาท จะลาออกจากประกันสังคมได้หรือไม่?”
คำตอบ : กฎหมายประกันสังคมบังคับว่า นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างและแสดงรายชื่อลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน และเมื่อเป็นผู้ประกันตนต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และการเป็นผู้ประกันตนจะสิ้นสุดเมื่อลูกจ้างลาออกจากการเป็นลูกจ้าง จึงไม่มีสิทธิลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนโดยที่ยังคงเป็นลูกจ้าง ดังนั้น ถ้าลูกจ้างลาออก หรือเกษียณอายุ หรือนายจ้างเลิกจ้างขณะที่อายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ ถือว่าความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุด จะได้รับเงินบำนาญตามจำนวนเงินที่คำนวณได้ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมและจำนวนค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท)
แต่หากความเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 สิ้นสุด แล้วสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 โดยไม่ขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อน ค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายในการนำมาคำนวณเงินบำนาญชราภาพอาจจะใช้ฐานค่าจ้างของการจ่ายเงินสมทบในฐานะเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ 4,800 บาท ซึ่งจะส่งผลให้จำนวนเงินบำนาญได้ต่ำกว่าเดิม ดังนั้น นายจ้างจึงควรที่จะดำเนินการแจ้งการสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนให้กับลูกจ้างโดยเร็วเพื่อให้ลูกจ้างยื่นคำขอรับเงินบำนาญชราภาพก่อน แล้วจึงสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39



  บางส่วนจากบทความ  “ปัญหาของผู้ประกันตนและคำตอบที่ควรรู้ (ส่วนที่ 1)”
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 19 ฉบับที่ 227 เดือนพฤศจิกายน 2564

ประกันสังคม : กฎหมายแรงงาน : ปรานี สุขศรี
วารสาร : HR Society Magazine พฤศจิกายน 2564



FaLang translation system by Faboba