ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า

โดย

 


ผู้นำเข้าและผู้ส่งออกจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด


ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นเมื่อมีการนำเข้าและส่งออก มีรายละเอียดดังนี้
กรณีนำเข้า
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการนำเข้าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การนำเข้านอกจากที่ระบุตาม (2) (3) หรือ (4) ความรับผิดจะเกิดขึ้นพร้อมกับการชำระอากรขาเข้า วางหลักประกันอากรขาเข้า หรือวันที่ได้มีการค้ำประกันอากรขาเข้า แล้วแต่กรณี และหากไม่มีกรณีที่จะต้องเสียอากรขาเข้า ก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาเข้า
(2) การนำเข้ากรณีนำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร แล้วนำสินค้าออกจากเขตดังกล่าวโดยมิใช่เพื่อส่งออก ความรับผิดจะเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้านั้นออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออกโดยมิใช่เพื่อส่งออก
(3) การนำเข้ากรณีของตกค้างตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ความรับผิดจะเกิดขึ้นเมื่อทางราชการได้ขายทอดตลาดหรือขายโดยวิธีอื่น
(4) การนำเข้าสินค้าที่จำแนกประเภทไว้ในภาคว่าด้วยของที่ได้รับยกเว้นอากรตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรซึ่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยนั้น ถ้าภายหลังสินค้าต้องเสียอากร ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
กรณีส่งออก
ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มที่เกิดจากการขายสินค้าโดยส่งออก เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) การส่งออกนอกจากที่ระบุตาม (2) หรือ (3) ความรับผิดจะเกิดขึ้นพร้อมกับการชำระอากรขาออก วางหลักประกันขาออก หรือวันที่ได้มีการค้ำประกันอากรขาออก และหากไม่มีกรณีที่จะต้องเสียอากรขาออกก็ให้ความรับผิดเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนส่งสินค้าขาออก
(2) การส่งออกกรณีนำสินค้าเข้าไปในเขตปลอดอากร ความรับผิดจะเกิดขึ้นในวันที่นำสินค้าในราชอาณาจักรเข้าไปในเขตปลอดอากร
(3) การส่งออกสินค้าที่อยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ความรับผิดจะเกิดขึ้นพร้อมกับความรับผิดตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร


บางส่วนจากบทความ : “ภาษีมูลค่าเพิ่ม กับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า”
อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 217 เดือนมกราคม 2565

 



Tax & Accounting : Tax Talk : อ.สมเดช โรจน์คุรีเสถียร
วารสาร : CPD&ACCOUNT มกราคม 2565


FaLang translation system by Faboba