สัญญาบริหารจัดการ

โดย

 


 
สัญญาบริหารจัดการ


         การบริหารจัดการอาจกล่าวอย่างง่าย ๆ คือ การดำเนินการในด้านต่าง ๆ หรือการดำเนินการของกิจกรรมที่ต่อเนื่อง หรือการประสานงานกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายบางอย่างขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งอาจจะประกอบไปด้วยการวางแผน การจัดการหน่วยงาน การประสานงาน การควบคุมและการบังคับบัญชา เป็นต้น


         สัญญาบริหารจัดการในทางกฎหมายจึงถือเป็นสัญญาจ้างทำของรูปแบบหนึ่ง ซึ่งสัญญาจ้างทำของ
หมายถึง สัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง” กับอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” โดยผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการ
ที่ทำนั้น

ลักษณะสำคัญของสัญญาบริหารจัดการ (สัญญาจ้างทำของ) จึงประกอบด้วย

1. เป็นสัญญาต่างตอบแทน
    (ผู้รับจ้างทำงานอย่างหนึ่งอย่างใดจนสำเร็จให้ผู้ว่าจ้างผู้ว่าจ้างจ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง)
2. คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจ้าง” และคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า “ผู้ว่าจ้าง”
3. เป็นสัญญาที่มุ่งถึงผลสำเร็จของงานที่ทำเป็นสำคัญ
4. ผู้รับจ้างไม่ต้องทำงานภายใต้การควบคุมบังคับบัญชาของผู้ว่าจ้าง ผู้ว่าจ้างจึงไม่ต้องรับผิดร่วมกับผู้รับจ้าง
    ในผลแห่งการละเมิดต่อบุคคลภายนอก เว้นแต่ผู้ว่าจ้างมีส่วนผิดอยู่ด้วย
5. เป็นสัญญาที่ไม่มีแบบ กล่าวคือ สัญญาจ้างทำของเกิดขึ้นโดยการแสดงเจตนาตกลงกัน แม้ทำสัญญาด้วยวาจา
    ก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ โดยไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแต่อย่างใด

         อย่างไรก็ดี แม้ตามกฎหมายสัญญาจ้างทำของจะทำเป็นหนังสือหรือทำด้วยวาจาก็ได้ แต่คู่สัญญาที่รอบคอบควรจะบันทึกข้อตกลงทั้งหลายไว้เป็นหนังสือ เพื่อป้องกันปัญหาการโต้แย้งเกี่ยวกับสัญญาจ้างทำของ
ในอนาคต

 

จากบทความ : “สัญญาบริหารจัดการและภาษีที่เกี่ยวข้อง” 
Section: Laws & News / Column:

บทความพิเศษ อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 41 ฉบับที่ 491 เดือนสิงหาคม 2565
หรือสมัครสมาชิก “วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e-Magazine Index

 
 


FaLang translation system by Faboba