ความแตกต่างของกิจการรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

โดย

 


 
ความแตกต่างของกิจการรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

         

         สำหรับความแตกต่างของการประกอบกิจการในรูปแบบของบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล สามารถสรุปประเด็นได้ดังนี้

         การเสียภาษี
                  บุคคลธรรมดา
                  
สำหรับ “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” อัตราภาษีสูงสุดอยู่ที่ 35% โดยการคำนวณภาษีมี 2 วิธี
                  วิธีที่ 1 เงินได้สุทธิ x อัตราภาษีก้าวหน้า (เงินได้สุทธิ = รายได้ – รายจ่าย – ค่าลดหย่อน)
                  วิธีที่ 2 รายได้นอกเหนือจากเงินเดือน หรือค่าจ้างแรงงานก่อนหักค่าใช้จ่าย x 0.5%
                  ทั้งนี้ หากคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วไม่เกิน 5,000 บาท ให้เสียภาษีตามวิธีที่ 1

                  นิติบุคคล
                  ผู้ประกอบการจะเสียภาษีจากกำไรสุทธิ (รายได้-รายจ่าย) โดยมีอัตราภาษี คือ หากเป็นนิติบุคคลทั่วไปอยู่ที่ 20% สำหรับ SMEs มีการยกเว้น/ลดหย่อน อัตราภาษีในลักษณะขั้นบันไดสูงสุดไม่เกิน 20% ในกรณีขาดทุนไม่ต้องเสียภาษีและยังสามารถนำผลขาดทุนไปหักกำไรปีต่อไปได้สูงสุดถึง 5 ปีด้วย (สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้จากการขายสินค้าและบริการไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี)
                  จะเห็นได้ว่าระหว่างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล จะแตกต่างกันตามรูปแบบของธุรกิจ ลองย้อนกลับมาดูว่าธุรกิจของท่านอยู่ในรูปแบบใด แล้วทำให้ถูกต้อง เพื่อประโยชน์โดยตรงต่อตัวธุรกิจของท่านเอง

                  ความน่าเชื่อถือ แน่นอนว่าการทำธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลนั้นมีความน่าเชื่อถือมากกว่า เนื่องจากมีเหตุผลหลายประการ เช่น
                  • นิติบุคคลเป็นการจดทะเบียนจัดตั้งกับภาครัฐ ซึ่งต้องมีเอกสารมากกว่าการทำธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดา
                  • นิติบุคคลต้องจัดทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี ดังนั้นจึงต้องมีการวางระบบบัญชีเพื่อความถูกต้องและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลต่อการขยายธุรกิจ การติดต่อ การหาแหล่งเงินทุน
                  ตามที่กล่าวมาข้างต้นว่าการประกอบธุรกิจในรูปแบบของบุคคลธรรมดานั้น ต้องทำบัญชีตามมาตรฐานการบัญชีด้วย ดังนั้นต้องมีการวางระบบบัญชี มีนักบัญชี มีคนตรวจสอบบัญชีและรับรองบัญชี เพื่อให้ถูกต้องและเป็นไปตามกฏหมาย ข้อบังคับของกฎหมาย การประกอบกิจการในรูปแบบของนิติบุคคลจะต้องมีข้อมูลบัญชีที่น่าเชื่อถือในแต่ละธุรกรรม เพราะจะช่วยทำให้ธุรกิจรู้สภาพปัจจุบันของธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน กำไรขั้นต้น หรือกำไรสุทธิ ทำให้ผู้บริหารแก้ปัญหาได้ตรงจุด

 

จากบทความ : “จุดอ่อนต้องระวัง สำหรับภาษีของบริษัท” Section: Tax Talk / Column: Tax Tips
อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 42 ฉบับที่ 493 เดือนตุลาคม 2565
หรือสมัครสมาชิก 
“วารสารเอกสารภาษีอากร”
เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 


FaLang translation system by Faboba