ภาระภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง

โดย

 


 
ภาระภาษีของผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง

 

         สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งจะมีภาระภาษีที่เกี่ยวข้องใน 2 ประเด็น คือ
                  1. ได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
                  2. เมื่อได้รับเงิน จะถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ในอัตรา 1%

         ในการดำเนินธุรกิจที่มีการแข่งขันกันที่จะขายสินค้าหรือการให้บริการแก่ลูกค้าให้รวดเร็วที่สุด ที่จะทำให้กิจการได้รับเงินได้รวดเร็วไปด้วย การขายสินค้าหรือการให้บริการโดยส่วนใหญ่ยังมีความต้องการขนส่งหรือขนย้ายสินค้าหรือบริการเพื่อสนองตอบความต้องการของลูกค้าในแต่ละราย ค่าขนส่งจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับธุรกิจที่มักจะเกิดขึ้นเป็นประจำ ไม่ว่าจะเป็นการซื้อ ขายสินค้า หรือให้บริการ ทำให้ธุรกิจขนส่งได้ทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีกจำนวนมากหลายประเภทด้วยกัน เช่น Shipping หรือ Freight Forwarder ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 8 มาตรา 608 ได้ให้ความหมายของค่าขนส่งไว้ดังนี้

         "อันว่า ผู้ขนส่ง ภายในความหมายแห่งกฎหมายลักษณะนี้ คือ บุคคลผู้รับขนส่งของหรือคนโดยสารเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปรกติของตน"
         ดังนั้นการขนส่งจะประกอบไปด้วย
         1. เป็นการขนย้ายคนหรือของจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ตามคำสั่งของผู้ว่าจ้าง
         2. ไม่ว่าจะเป็นขนของหรือคนโดยสาร
         3. จะต้องทำการขนส่งเป็นประจำโดยไม่ได้มีการขายสินค้าหรือให้บริการอื่น นอกเหนือจากการขนส่ง การให้บริการขนส่งที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ต้องเป็นค่าขนส่งที่ไม่ใช่ค่าโดยสารสำหรับการขนส่งสาธารณะ

 

บางส่วนจากบทความ : “ค่าบริการขนส่ง หักร้อยละ 1 หรือ 3”
โดย : สมเดช โรจน์คุรีเสถียร Section : Tax Talk / Column : Tax & Accounting

อ่านบทความฉบับเต็มได้ที่...วารสาร CPD & Account ปีที่ 18 ฉบับที่ 226 เดือนตุลาคม 2565

 
 


FaLang translation system by Faboba