4 ประเภทผลประโยชน์ของพนักงาน

โดย

 


 
4 ประเภทผลประโยชน์ของพนักงาน

         

            1. ผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน
            รูปแบบของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน
            อาจอยู่ในรูปแบบของค่าจ้าง เงินเดือน เงินสมทบ กองทุนประกันสังคม การลาพักผ่อนประจำปีและลาป่วยที่คงไว้ซึ่งค่าตอบแทนที่ต้องจ่าย ส่วนแบ่งกำไรและโบนัส ผลประโยชน์ที่ไม่เป็นตัวเงินสำหรับพนักงานปัจจุบัน เช่น ค่า รักษาพยาบาล ค่าที่พักอาศัย ยานพาหนะ และสินค้าหรือบริการที่ให้เปล่าหรือในลักษณะอุดหนุน ทั้งนี้ผลประโยชน์ดังกล่าวคาดว่าจะต้องจ่ายชำระทั้งจำนวนก่อน 12 เดือนหลัง วันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจำปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้องการรับรู้รายการและการวัดมูลค่า

            - กิจการต้องไม่คิดลดจำนวนของผลประโยชน์ระยะสั้นของพนักงาน โดยต้องรับรู้จำนวนผลประโยชน์ดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่าย (เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกำหนดหรืออนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้) และรับรู้หนี้สินเพิ่มขึ้นหรือลดสินทรัพย์แล้วแต่กรณี

            - กรณีของสิทธิการลางานในระยะสั้นที่ได้รับค่าตอบแทน เช่น การลาหยุด การลาป่วย การลาจากการทุพพลภาพชั่วคราว การลาคลอดบุตรหรือการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตร เป็นต้น กิจการจะต้องรับรู้ต้นทุนดังกล่าวดังนี้
                    
- หากเป็นสิทธิการลางานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สะสมได้ ให้รับรู้เมื่อพนักงานให้บริการซึ่งก่อให้เกิดการเพิ่มขึ้นของสิทธิการลางานที่ยังได้รับค่าตอบแทนในอนาคต และวัดมูลค่าโดยใช้ต้นทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นของสิทธิการลาตามจำนวนเงินซึ่งกิจการคาดว่าจะจ่ายเพิ่มเนื่องจากมีสิทธิที่พนักงานยังไม่ได้ใช้สะสมอยู่ ณ วันสิ้นรอบระยะเวลารายงาน
                    -
 หากเป็นสิทธิการลางานที่ได้รับค่าตอบแทนที่สะสมไม่ได้ ให้รับรู้เมื่อมีการลางานเกิดขึ้น

            2. ผลประโยชน์หลังออกจากงาน
            ผลประโยชน์หลังออกจากงานรวมถึงผลประโยชน์เมื่อออกจากงาน เช่น ผลประโยชน์ที่จ่ายครั้งเดียวเมื่อออกจากงานและบำนาญ และผลประโยชน์อื่นหลังออกจากงาน
เช่น การรักษาพยาบาลหลังออกจากงาน

            การจัดการเรื่องของผลประโยชน์ของพนักงานหลังออกจากงานดังกล่าวถือว่าเป็นโครงการผลประโยชน์หลังออกจากงาน (Post-employment benefit plans) ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

                        1. โครงการสมทบเงินที่กำหนดไว้ (Defined contribution plans)
                        พนักงานเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เป็นสาระสาคัญของทั้งความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และความเสี่ยงจากการลงทุน ขณะที่กิจการรับภาระผูกพันตามกฎหมายหรือภาระผูกพันจากการอนุมานของกิจการ จำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่กิจการตกลงจะสมทบเข้ากองทุน ตัวอย่างของโครงการสมทบเงินที่กำหนดไว้ เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็นต้น

                        การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า กิจการต้องรับรู้เงินสมทบที่ต้องจ่ายให้โครงการสมทบเงิน เมื่อพนักงานได้ให้บริการแก่กิจการในระหว่างงวดเป็นค่าใช้จ่าย (เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกำหนดหรืออนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้) และรับรู้หนี้สิน (ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย) หรือสินทรัพย์ (ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า) แล้วแต่กรณี

                        2. โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ (Defined benefit plans)
                        ลักษณะสำคัญของโครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ คือ กิจการเป็นผู้รับความเสี่ยงที่เป็นสาระสำคัญของทั้งความเสี่ยงจากการประมาณการตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยและความเสี่ยงจากการลงทุน ภาระผูกพันของกิจการจึงไม่ได้จากัดเพียงจำนวนเงินที่กิจการจ่ายสมทบในระหว่างงวดเท่านั้น

                        การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าโครงการผลประโยชน์อาจไม่ได้จัดตั้งเป็นกองทุนหรืออาจจัดตั้งเป็นกองทุนที่กิจการจ่ายเงินสมทบทั้งหมด หรือบางส่วน และบางครั้งพนักงานร่วมสมทบด้วย โดยจ่ายสมทบเข้าไปในกิจการหรือกองทุนที่แยกต่างหากตามกฎหมายจากกิจการที่เสนอรายงาน โดยผลประโยชน์ของพนักงานจะจ่ายออกจากกองทุนดังกล่าว

                        สินทรัพย์โครงการ (Plan assets) ตามคำนิยามในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2557) หมายถึง สินทรัพย์ที่ถือไว้โดยกองทุนผลประโยชน์ระยะยาวของพนักงาน และกรมธรรม์ ประกันภัยที่เข้าเงื่อนไข
                        เพดานของสินทรัพย์ (The asset ceiling) ตามคำนิยามในมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 19 (ปรับปรุง 2557) หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจที่อยู่ในรูปของการชดเชยเงินคืนให้จากโครงการ หรือเงินสมทบแก่โครงการในอนาคตที่ลดลง
                        การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า มูลค่าปัจจุบันของภาระผูกพันตามโครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ (The present value of a defined benefit obligation) และต้นทุนบริการปัจจุบัน (Current service cost) ต้องใช้วิธีคิดลดแต่ละหน่วยที่ประมาณไว้ (The projected unit credit method) ตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย (Actuarial valuation method)

                        3. ผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน
                        หากไม่ได้คาดว่าจะจ่ายชำระทั้งจานวนก่อน 12 เดือน หลังวันสิ้นรอบระยะเวลารายงานประจำปีที่พนักงานได้ให้บริการที่เกี่ยวข้อง การลางานระยะยาวที่ยังได้รับผลตอบแทน ผลประโยชน์ที่จ่ายให้จากการทำงานเป็นระยะเวลานาน เช่น การแจกทองคำหรือแหวนเพชร เมื่อทำงานครบจำนวนปีที่กำหนด ผลประโยชน์ที่จ่ายจากการทุพพลภาพเป็นระยะเวลานาน ส่วนแบ่งกำไรโบนัส และผลตอบแทนที่รอจ่าย เป็นต้น การรับรู้รายการและการวัดมูลค่า การรับรู้และวัดมูลค่าส่วนเกินหรือส่วนขาดในโครงการผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงาน ต้องถือปฏิบัติตามหัวข้อ การรับรู้รายการและการวัดมูลค่าของผลประโยชน์หลังออกจากงาน โครงการผลประโยชน์ที่กำหนดไว้ นอกจากนี้กิจการต้องรับรู้ยอดสุทธิของจำนวนดังต่อไปนี้สำหรับผลประโยชน์ระยะยาวอื่นของพนักงานในกำไรหรือขาดทุน (เว้นแต่มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับอื่นจะกำหนดหรืออนุญาตให้รวมเป็นราคาทุนของสินทรัพย์ได้) ต้นทุนบริการ ดอกเบี้ยสุทธิจากหนี้สิน (สินทรัพย์) ผลประโยชน์ที่กำหนดไว้สุทธิ และการวัดมูลค่าใหม่ของหนี้สิน (สินทรัพย์) ผลประโยชน์ที่กำหนดไว้สุทธิ

                        4. ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง
                        ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นผลมาจากการตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงานหรือ การตัดสินใจของพนักงานที่จะยอมรับข้อเสนอผลประโยชน์เพื่อแลกเปลี่ยนกับการเลิกจ้าง โดยผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างไม่รวมถึงผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นผลมาจากการเลิกจ้างงานตามคำร้องขอของพนักงานโดยไม่มีข้อเสนอของกิจการหรือเป็นผลมาจากข้อกำหนดของการเกษียณอายุตามปกติ
                        นอกจากนี้รูปแบบโดยปกติของผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างจะจ่ายออกไปเป็นเงินก้อนทั้งจำนวน แต่บางครั้งจะรวมถึงการให้ผลประโยชน์หลังออกจากงานอื่นเพิ่มเติม ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม ผ่านโครงการผลประโยชน์ของพนักงาน และเงินเดือนที่จ่ายจนกระทั่งสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนด หากพนักงานไม่ได้ให้บริการที่ให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจเพื่อกิจการอีกต่อไป ทั้งนี้ผลประโยชน์ของพนักงานที่เป็นไปตามเงื่อนไขของโครงการผลประโยชน์ของพนักงานจะเป็นผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้าง หากเป็นผลมาจากทั้งการตัดสินใจของกิจการที่จะเลิกจ้างพนักงาน และไม่มีเงื่อนไขของการให้บริการในอนาคต
                        การรับรู้รายการ กิจการต้องรับรู้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเป็นหนี้สินและค่าใช้จ่ายเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดขึ้นก่อน เมื่อกิจการไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอการให้ผลประโยชน์ดังกล่าวได้อีกต่อไป
                        1. สำหรับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างค้างจ่ายที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจของพนักงาน กิจการจะไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอการให้ผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างเมื่อวันใดวันหนึ่งต่อไปนี้เกิดก่อน
                              - เมื่อพนักงานยอมรับข้อเสนอนั้น
                              - เมื่อมีข้อจากัดต่อความสามารถของกิจการที่จะยกเลิกข้อเสนอที่มีผลบังคับใช้ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อข้อเสนอได้จัดทำขึ้นโดยมีข้อจำกัดอยู่ในระยะเวลาของการให้ข้อเสนอ
                        2. สำหรับผลประโยชน์เมื่อเลิกจ้างค้างจ่ายที่เป็นผลมาจากการตัดสินใจของกิจการ กิจการจะไม่สามารถยกเลิกข้อเสนอได้อีกต่อไปหากกิจการมีการสื่อสารต่อพนักงานที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเลิกจ้างพนักงาน

FaLang translation system by Faboba