Passport kinds A difference in the passports?

โดย

 


 
Passport kinds A difference in the passports?


    หนังสือเดินทาง 6 ชนิด มีดังนี้
    1. หนังสือเดินทางทูต (Diplomatic Passport) (หน้าปกสีแดงสด) ประเภทนี้จะมีอายุไม่เกิน 5 ปี ไม่สามารถต่ออายุได้อีก ข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
        • พระบรมวงศ์และพระนัดดาในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
        • พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าและคู่สมรส
        • พระราชวงศ์บุคคลสำคัญที่ราชเลขาธิการขอไปเป็นกรณีพิเศษ
        • ประธานองคมนตรี และองคมนตรี
        • นายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี
        • ประธานและรองประธานสภาผู้แทนราษฎร ประธานและรองประธานวุฒิสภา
        • ประธานศาลฎีกา รองประธานศาลฎีกา และประธานศาลอุทธรณ์
        • ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครองสูงสุด
        • อดีตนายกรัฐมนตรี และอดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ
        • ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และ ผู้บัญชาการเหล่าทัพ
        • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
        • ข้าราชการที่มีตำแหน่งทางการทูต ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ประจำอยู่ ณ ส่วนราชการในต่างประเทศ คู่สมรสและบุตรในประเทศที่ประจำอยู่หรือทำการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
        • คู่สมรสที่ร่วมเดินทางไปกับบุคคลดังกล่าวในข้อ 3.2-3.8
        • บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือภายใต้พันธกรณีระหว่างประเทศ หรือภายใต้สถานการณ์พิเศษที่มีความจำเป็น หรือเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศไทย

    2. หนังสือเดินทางราชการ (Official Passport,Service Passport,Passport) (หน้าปกสีน้ำเงินเข้ม)
    หนังสือเดินทางมีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก ผู้ถือต้องใช้ในราชการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในการเดินทางส่วนตัว มีข้อกำหนดออกให้เฉพาะบุคคลดังต่อไปนี้
    • ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่จัดตั้งตามรัฐธรรมนูญและสมาชิกรัฐสภา ซึ่งเดินทางไปราชการในต่างประเทศ
    • ข้าราชการซึ่งไปปฏิบัติหน้าที่ประจําอยู่ ณ สถานเอกอัครราชทูตหรือสถานกงสุลไทย หรือในคณะทูตถาวรไทยประจําองค์การระหว่างประเทศในตําแหน่งอื่นที่มิใช่ตําแหน่งทางการทูต รวมทั้งคู่สมรส และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งอยู่ในความดูแลของบิดามารดาในประเทศที่ประจําอยู่ หรือทําการศึกษาอยู่ในประเทศอื่น แต่บุตรจะต้องอายุไม่เกิน 25 ปี
    • บุคคลที่ได้รับมอบหมายให้ไปราชการต่างประเทศ
    • บุคคลอื่นใดเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการหรือในกรณีที่เห็นสมควรเป็นพิเศษ หรือเกี่ยวกับการเผยแพร่ชื่อเสียงเกียรติคุณของประเทศ ให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้ที่ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมอบหมาย มีอํานาจใช้ดุลยพินิจในการอนุมัติให้ออกหนังสือเดินทางราชการได้

    3. หนังสือเดินทางธรรมดา (Ordinary Passport) (หน้าปกสีน้ำตาล)
    ออกให้สำหรับบุคคลสัญชาติไทย สำหรับบุคคลที่ บรรลุนิติภาวะหนังสือเดินทางให้มีอายุไม่เกิน 5 ปี หรือไม่เกิน 10 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก สำหรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ให้มีอายุไม่เกิน 5 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก

    4. หนังสือเดินทางขององค์การสหประชาชาติ (United nations Passport)
    Laissez-passer แห่งสหประชาชาติ ( UNLPหรือLP ) เป็นเอกสารเดินทางทางการทูตที่ออกโดยสหประชาชาติภายใต้บทบัญญัติของมาตรา 7 ของอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพิเศษและความคุ้มกันของสหประชาชาติ ค.ศ. 1946 ณ สำนักงานในนครนิวยอร์กและเจนีวาตลอดจนองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)UNLP ออกให้กับเจ้าหน้าที่ของ UN และ ILO ตลอดจนเจ้าหน้าที่ขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น WHO , IAEA ,องค์การการท่องเที่ยวโลก , คณะกรรมการเตรียมการขององค์การตามสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ที่ครอบคลุม , องค์กรเพื่อการห้ามอาวุธเคมี องค์การการค้าโลกกองทุนการเงินระหว่างประเทศองค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกและธนาคารโลก เอกสารนี้เขียนเป็นภาษาอังกฤษและฝรั่งเศส ภาษาที่ใช้ในการทำงาน ของ สหประชาชาติUNLP เป็นเอกสารการเดินทางที่ถูกต้อง ซึ่งสามารถใช้เป็นหนังสือเดินทางประจำชาติได้ (เกี่ยวข้องกับการเดินทางในภารกิจราชการเท่านั้น)เจ้าหน้าที่ส่วนใหญ่ถือ UNLP สีน้ำเงิน (จนถึงระดับ D-1) ซึ่งมีสถานะทางกฎหมายคล้ายกับหนังสือเดินทางบริการ UNLP สีแดงออกให้กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงโดยเฉพาะ (D-2) และสูงกว่า และมอบสถานะที่คล้ายกันกับผู้ถือ หนังสือเดินทางทูต

    5. หนังสือเดินทางฉุกเฉิน (Emergency Passport) (หน้าปกสีเขียว) เดิมเรียกว่า หนังสือเดินทางชั่วคราว มีอายุไม่เกิน 1 ปี และไม่สามารถต่ออายุได้อีก จะออกให้ในกรณีที่ผู้ถือหนังสือเดินทางไทยทำหนังสือเดินทางสูญหาย เสียหายจนใช้การไม่ได้หรือขาดอายุขณะอยู่ต่างประเทศ และมีความจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องเดินทาง โดยไม่อาจรอการออกหนังสือเดินทาง E-Passport ได้ อย่างไรก็ดี หนังสือเดินทางชั่วคราวมีข้อจำกัดคือ ไม่มี machine readable bar code ซึ่งหากนำไปขอ วีซ่า บางประเทศอาจไม่ยอมรับ

    6. หนังสือเดินทางหมู่ (Collective Passport) จะใช้เดินทางระหว่าง ประเทศที่มีความตกลงกันเท่านั้น ปัจจุบันประเทศที่ใช้หนังสือเดินทางหมู่ คือ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์และ อินโดนีเซีย หนังสือเดินทางประเภทนี้จะใช้ได้ครั้งเดียวเท่านั้น เมื่อเดินทางกลับไปยังประเทศตนจะหมดอายุทันทีการใช้หนังสือเดินทางหมู่ต้องเดินทางเข้าตามจำนวนคนที่ระบุไว้แต่หากเดินทางมาไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้การตรวจอนุญาตเข้าราชอาณาจักรให้หมายเหตุใต้ตราขาเข้าว่า “อนุญาต (จำนวน).....คนยกเว้น.....(ชื่อ)ไม่ได้ร่วมเดินทาง”

 

FaLang translation system by Faboba