เทคนิคทำให้ SMEs ไม่ต้องเสียภาษี หรือประหยัดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย)

โดย

 


 
เทคนิคทำให้ SMEs ไม่ต้องเสียภาษี
หรือประหยัดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย)


     เทคนิคการทำให้ SMEs ไม่ต้องเสียภาษีหรือประหยัดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมายนั้น แบ่งออกเป็นการเลือกประเภทเงินได้ที่ SMEs ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและการลดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย เทคนิคแต่ละประเภทแยกอธิบายได้ดังนี้
     2.1 เทคนิคการเลือกประเภทเงินได้ที่ SMEs ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
     เงินได้พึงประเมินที่ SMEs รวมถึงบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไปมีสิทธิได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะอยู่ในกลุ่มของเงินปันผลและเงินส่วนแบ่งกำไร ได้แก่
     2.1.1 เงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ของพระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 34
     2.1.2 เงินปันผลที่บริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยได้รับจากการถือหุ้นในบริษัทที่จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10)
     2.1.3 เงินส่วนแบ่งกำไรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลไทย และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศซึ่งประกอบกิจการในประเทศไทยได้รับจากกิจการร่วมค้าประเภทไม่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (Un-Incorporated Joint Venture) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 มาตรา 5 ทวิ และเงินปันผลที่บริษัทไทยได้รับจากกิจการร่วมค้าประเภทจดทะเบียนจัดตั้งเป็นบริษัทใหม่ (Incorporated Joint Venture) ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ (10)
     2.1.4 เงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ประกอบกิจการโรงเรียนเอกชนหรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ไม่ใช่โรงเรียนกวดวิชา ตามหลักเกณฑ์ของพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 284) พ.ศ. 2538 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 3 (2)

     2.2 เทคนิคการลดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมายของ SMEs
     2.2.1 กรณีทั่วไป
          1) การลดอัตราและยกเว้นรัษฎากรสำหรับ SMEs ตามมาตรา 3 ของพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 603) พ.ศ. 2559 (ตามรายละเอียดที่ได้นำเสนอไว้ในหัวข้อ 1.2.1)
          2) การให้สิทธิ SMEs หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราเร่ง ตามมาตรา 4 จัตวา (2) มาตรา 4 ฉ. และมาตรา 4 เบญจ ของพระราชกฤษฎีกาฯ ฉบับที่ 145 (พ.ศ. 2527) และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ตามรายละเอียดที่ได้นำเสนอไว้ในหัวข้อ 1.2.2)
               2.2.2 กรณีมีสิทธิหักรายจ่ายได้เพิ่มมากขึ้น 1.5 - 2 เท่า (ทั้ง SMEs และบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลทั่วไป) อาทิ การจ้างงานผู้สูงอายุ, รายจ่ายเกี่ยวกับคนพิการ, รายจ่ายที่ได้จ่ายเป็นเงินเดือนตามสัญญาจ้างแรงงานให้แก่ลูกจ้างซึ่งมีทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ หรือคณิตศาสตร์ เป็นต้น

 

  จากบทความ “เทคนิคทำให้ SMEs ไม่ต้องเสียภาษีหรือประหยัดภาษีโดยถูกต้องตามกฎหมาย”
Section: Tax Talk / Column: Tax Planning อ่านบทความฉบับสมบูรณ์ได้ที่...
วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 43 ฉบับที่ 513 เดือนมิถุนายน 2567 หรือสมัครสมาชิก
“วารสารเอกสารภาษีอากร” เพื่อรับสิทธิอ่านและสืบค้นบทความ ผ่านระบบ e- Magazine Index

 
 
FaLang translation system by Faboba