งบการเงินที่ต้องยื่นต่อสรรพากรและขอสินเชื่อจากธนาคาร เริ่มใช้ 1 มกราคม 2562 (หลักสูตรใหม่ปี 2561)

รหัสหลักสูตร : 21/1928

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


งบการเงินที่ต้องยื่นต่อสรรพากรและขอสินเชื่อจากธนาคาร
เริ่มใช้ 1 มกราคม 2562

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.


• หลักเกณฑ์ที่ธนาคารพิจารณางบการเงินเพื่ออนุมัติสินเชื่อตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
• หมายเหตุงบการเงินที่มีผลต่อการตรวจสอบของสรรพากรและพิจารณาสินเชื่อ
• วิธีแก้ไขกรณีงบการเงินมีข้อผิดพลาดและมีการขอปรับปรุงย้อนหลัง
• งบการเงินที่ส่งให้กรมสรรพากรอย่างไร มีความเสี่ยงในการถูกเรียกตรวจสอบ?


วิทยากรโดย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านบัญชีและการตรวจสอบภาษี


หัวข้อสัมมนา

1. การพิจารณางบการเงินตามมาตรการบัญชีเล่มเดียวประกอบการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงิน
• ผลกระทบกับการทำธุรกรรมทางการเงินและการพิจารณาสินเชื่อของธุรกิจ
• กระบวนการวิเคราะห์สินเชื่อของสถาบันการเงินตามหลักเกณฑ์ใหม่ 1 ม.ค.2562

2. หลักเกณฑ์ที่ธนาคารพิจารณาจากงบการเงินเพื่ออนุมัติสินเชื่อตามนโยบายของธนาคารแห่งประเทศไทย
• การยื่นข้อมูลการขอสินเชื่อ
• การพิจารณางบการเงินที่ยื่นกรมสรรพากร
• แผนธุรกิจ
• การพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้
• ประสบการณ์ในการทำธุรกิจ
• การประเมินความเสี่ยงของธุรกิจ
• การกำหนดวงเงินและการ Pricing

3. ธนาคารจะตรวจสอบประวัติการเสียภาษีของผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อหรือไม่ อย่างไร
• หลีกเลี่ยงภาษีหรือไม่
• เสียภาษีถูกต้องหรือไม่
• ถูกสรรพากรตรวจสอบย้อนหลังหรือไม่
• ถูกสรรพากรประเมินภาษีหรือไม่

4. รายการเอกสารที่กิจการต้องยื่นพร้อม ภ.ง.ด. 50 ต่อกรมสรรพากร

5. การเตรียมความพร้อมเอกสารสำคัญที่ควรเสนอผู้บริหารพิจารณาเป็นพิเศษ ก่อนยื่นแบบเสียภาษี

6. งบการเงินที่ส่งให้กรมสรรพากรอย่างไร มีความเสี่ยงในการถูกเรียกตรวจสอบ?
• งบการเงินที่มีค่าใช้จ่ายที่ผิดปกติ
• รายจ่ายที่ลงเกินสมควร

7. งบการเงิน กับ รายการหรือประเด็นที่ “ผู้ทำบัญชี” และกิจการต้องพิจารณา-ตรวจสอบ “เป็นพิเศษ”

8. วิธีรับมือกับประเด็นปัญหาที่พบบ่อย : งบแสดงฐานะการเงิน
• สินทรัพย์ ไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
• แสดงรายการสินทรัพย์ไม่ถูกต้อง
• การรับรู้รายการเริ่มแรก การรับรู้รายการภายหลัง การวัดมูลค่า การตีราคา ของสินทรัพย์
• จัดประเภทรายการทรัพย์สินผิด สมการทางบัญชีผิด - ผลทางภาษีกรณีงบการเงินบันทึกมูลค่าทรัพย์สินสูง
• ปัญหารายการในงบการเงินที่ยกมาจากปีก่อนแต่แสดงรายการผิดในปีปัจจุบัน
• กรณีผู้ถือหุ้นยังไม่ได้ชำระค่าหุ้นแต่ผู้ทำบัญชีลงเป็นสินทรัพย์

9. รับมือกับประเด็นปัญหาที่พบบ่อย : งบกำไรขาดทุน
• จะปิดงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องอย่างไร เมื่อไม่ทราบความแตกต่างระหว่างเกณฑ์สิทธิ เกณฑ์คงค้างและเกณฑ์อื่นๆ
• ผลกระทบจากการจัดประเภทรายการต้นทุน และค่าใช้จ่ายผิด - รายจ่ายที่ลงเกินสมควร
• ข้อระวังในรายการที่สัมพันธ์กัน แต่งบกำไรขาดทุนกลับแสดงรายการไม่สัมพันธ์กัน
• หลักเกณฑ์เกี่ยวกับรายจ่ายฝ่ายทุน รายจ่ายที่ต้องปันส่วน รายจ่ายต้องห้ามทางภาษี

10.หมายเหตุงบการเงินที่มีผลต่อการตรวจสอบของสรรพากรและพิจารณาสินเชื่อ
• วิธีการทำหมายเหตุงบการเงินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
• ข้อระวังในรายการที่สัมพันธ์กันระหว่างงบแสดงฐานะทางการเงิน งบกำไรขาดทุน และหมายเหตุประกอบงบการเงิน
• เปิดเผยข้อมูลไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีจะมีความผิดหรือไม่
• ข้อควรระวังในหมายเหตุงบการเงินที่ผิดทั้งทางบัญชีและทางภาษีอากร

11.วิธีแก้ไขกรณีที่ทำงบการเงินผิดพลาด และมีการขอปรับปรุงย้อนหลัง

12.การเตรียมความพร้อมก่อนบวกกลับรายจ่ายทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น

13.กรณีศึกษา / ถาม-ตอบประเด็นปัญหาและข้อสงสัย

14.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba