การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและผลกระทบสัญญาก่อสร้างกับการรับรู้รายได้-รายจ่ายทางบัญชี

รหัสหลักสูตร : 21/2306

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,350 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 6,099 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและสัญญาก่อสร้าง
กับการรับรู้รายได้ - รายจ่ายทางบัญชี


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.

 

วิทยากรโดย ดร.ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์

หัวข้อสัมมนา

1. ธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง จุดเริ่มต้น และองค์ประกอบของธุรกิจ ที่นักบัญชีต้องทราบ เพื่อการจัดทำบัญชีและ
เสียภาษีอย่างถูกต้อง

2. ภาระภาษีอากรและมาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

3. Update มาตรฐานการบัญชีเล่มเดียวและการยกเว้นและลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับ SMEs
(นิรโทษกรรมภาษี)

4. สัญญาก่อสร้าง ที่บัญชีต้องทำความเข้าใจและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

5. การแยกประเภทของสัญญา และสัญญานั้นครอบคลุมไปถึงกิจการใดบ้าง ที่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี

6. สัญญาคงที่ มีความหมายว่าอย่างไรกิจการประเภทใดบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องและจำเป็นต้องทำสัญญาคงที่

7. สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม มีความหมายอย่างไรกิจการประเภทใดต้องทำสัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม

8. สัญญาการให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้างสินทรัพย์มีอะไรบ้างและทางบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไร
ในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักของมาตรฐานการบัญชี

9. ภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำสัญญาก่อสร้าง ที่นักบัญชีต้องปฏิบัติให้ถูกต้อง

10. การรวมและแยกสัญญาก่อสร้าง ควรทำหรือไม่ และควรปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานการบัญชี
มีหลักเกณฑ์การบันทึกการรับรู้รายได้ อย่างไร กรณีที่มีการแยกสัญญาเกิดขึ้น

11. สรรพากรยอมรับหรือไม่ที่แยกสัญญาก่อสร้างเป็นสัญญาซื้อวัสดุก่อสร้าง กับ สัญญาค่าแรงก่อสร้าง

12. เมื่อกิจการทำสัญญาก่อสร้าง ควรจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามเงื่อนไขของมาตรฐานการบัญชีและจะบันทึก
รับรู้รายการเมื่อใดให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากร

13. ต้นทุนและรายได้ของสินทรัพย์จะสามารถลงเป็นรายได้อย่างไรจึงจะสอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี

14. รายได้ค่าก่อสร้างสามารถนำมาลงเป็นรายได้ทั้งจำนวนหรือไม่และหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้ตาม
มาตรฐานการบัญชีพร้อมวิธีการบันทึกบัญชีและการคำนวณการรับรู้รายได้ให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานการบัญชี
และภาษีอากร

15. วิธีการวัดมูลค่ามีกี่วิธีและกิจการต้องวัดมูลค่าก่อสร้างอย่างไรถึงจะถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี

16. จำนวนเงินที่เรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างต้องระบุอยู่ในสัญญาหรือไม่และมีวิธีการบันทึกบัญชีอย่างไรให้ถูกต้อง
ตามมาตรฐานการบัญชี

17. จำนวนเงินที่จ่ายเพิ่มเติมนอกเหนือจากมูลค่าตามสัญญาจะลงเป็นค่าใช้จ่ายอย่างไร รวมถึงภาระที่ต้องให้กับ
บุคคลที่สาม พร้อมภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง

18. ต้นทุนการก่อสร้างประกอบด้วยอะไรบ้าง รายละเอียดที่สำคัญที่นักบัญชีไม่ควรพลาด

19. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาก่อสร้างประกอบด้วยอะไรบ้าง มีวิธีการแยกต้นทุนอย่างไร

20. ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสามารถปันส่วนเฉลี่ยกับสัญญาก่อสร้างได้หรือไม่

21. ต้นทุนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจะสามารถนำมาลงเป็นค่าใช้จ่ายได้ทั้งหมดหรือไม่ มีหลักเกณฑ์
การเฉลี่ยต้นทุนอย่างไรในทางภาษีอากรยอมรับหรือไม่

22. มีหลักเกณฑ์การเฉลี่ยหรือแยกต้นทุนอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี

23. การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนก่อสร้างพร้อมปัญหาการบันทึกบัญชีของธุรกิจก่อสร้าง

24. การรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะบัญชีที่ต้องปฏิบัติอย่างไร

25. การเปลี่ยนแปลงประมาณการของอัตราส่วนของงานที่ทำเสร็จ

26. การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินควรจะระบุเงื่อนไขใดบ้าง

27. ภาระภาษีอากรของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

28. ปัญหาในการเสียภาษีของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างประเด็นที่มักจะถูกสรรพากรประเมิน

29. ปัญหาของรายได้ค่าก่อสร้างและรายได้อื่นที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมักเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน

30. การรับรู้รายได้รับเหมาก่อสร้างในทางภาษีอากรยอมรับวิธีใด สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีหรือไม่

31. ต้นทุนโครงการก่อสร้างจะแยกพิจารณาอย่างไรให้สอดคล้องกับภาระภาษีที่ถูกต้อง

32. ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารของกิจการรับเหมาก่อสร้างจะต้องระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษ

33. รายจ่ายต้องห้ามอะไรบ้างที่มักถูกสรรพากรประเมิน

34. ปัญหาในการจ่ายค่าใช้จ่ายบางประเภทที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

35. ทำอย่างไรจะถือเป็นรายจ่ายได้ และสรรพากรยอมรับโดยไม่ต้องบวกกลับ เช่น ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง
ค่าเลี้ยงรับรอง

36. ซื้อของเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่มีบิลหรือใบเสร็จจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

37. ซื้อของได้รับบิลเงินสดแต่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้รับเงินจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

38. การจ่ายค่าแรงรายวัน รายสัปดาห์ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

39. การจ่ายค่าจ้างวิศวกร สถาปนิก ที่ปรึกษาจะพิจารณาอย่างไรว่าเป็นวิชาชีพอิสระ หรือเป็นการจ้างแรงงาน

40. การจ้างชาวต่างชาติมาควบคุมงานเป็นที่ปรึกษา จะต้องหักภาษีอย่างไร

41. ได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการจะมีวิธีตรวจสอบใบกำกับภาษีอย่างไร ไม่ให้เป็นใบกำกับภาษีปลอม

42. ปัญหาของภาษีซื้อขอคืนได้ และภาษีซื้อต้องห้ามที่มักผิดพลาดคาดเคลื่อน นักบัญชีจะมีแนวทางการแก้ไข
ปัญหานี้อย่างไร

43. ปัญหาการยื่นแบบ ภ.ง.ด.1, 3, 53, 50, 51 และ ภ.พ.30 ที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง

44. ค่าเสียหายที่ต้องจ่ายชดเชยหรือก่อสร้างให้กับอาคารข้างเคียงรอบ Site งานก่อสร้างจะบันทึกบัญชีและ
มีภาระภาษีอย่างไร

45. ค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการก่อสร้าง ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้นักบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

46. เงินประกันความเสียหายหลังส่งมอบงาน หากได้รับคืนหรือถูกผู้ว่าจ้างหักไว้บางส่วนจะต้องปฏิบัติอย่างไร

47. การจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาช่วงจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร จะใช้เอกสารหลักฐานอะไรเป็นหลักฐาน
การรับเงินค่าจ้าง

48. การเครดิตภาษีและการขอคืนภาษีของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมีแนวปฏิบัติอย่างไร ประเด็นที่มักถูกตรวจสอบ

49. การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและใบแจ้งหนี้เมื่อได้รับเงินค่างวดจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง

50. การกระจายรายได้ของผู้รับเหมาช่วงโดยการนำพนักงานของผู้รับเหมาช่วงมารับเงินแทน สามารถทำได้หรือไม่

51. การเสียอากรแสตมป์ของสัญญารับเหมาก่อสร้างจะเสียวิธีใด เสียอย่างไรให้ถูกต้อง


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

ดร.ธีรเศรษฐ์ เมธจิรนนท์

สถานที่

โรงแรมปทุมวันปริ๊นเซส
(ติดห้างมาบุญครองเซ็นเตอร์) ถ.พญาไท
โทรศัพท์ :
02-216-3700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba