เจาะลึกวิธีการเสียอากรแสตมป์ 5 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ และ 28 สัญญา ที่นักบัญชีต้องรู้ พร้อมจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

รหัสหลักสูตร : 21/17011

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,173 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,922 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

เจาะลึกวิธีการเสียอากรแสตมป์ 5 ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ และ 28 สัญญา ที่นักบัญชีต้องรู้ พร้อมจุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

  • หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
  • วิธีการขอรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์ เอกสารหลักฐาน และใบเสร็จรับเงิน
  • Update หลักเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับอากรแสตมป์ของสรรพากร
  • Highlight เด็ด กับการเคลียร์ 28 สัญญาที่ต้องเสียอากรแสตมป์
  • พลาดไม่่ได้กับการ Update หลักเกณฑ์ใหม่ของตราสารที่ต้องเสียเป็นตัวเงินเท่านั้น
  • Top Case Studies กับปัญหาจริงที่นักบัญชีต้องพบกับการติดอากรแสตมป์
  • ปรับ 5 เท่า จากการเสียอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง จุดที่ต้องระวัง

หัวข้อสัมมนา

การชำระอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน กับตราสารอิเล็กทรอนิกส์

  1. ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ตามความหมายของสรรพากร
    • เจาะรายละเอียดตราสารอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรตราสารอิเล็กทรอนิกส์
  2. ความหมายของ “รหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์”
  3. ใครคือ ผู้ขอใช้บริการ, ผู้ให้บริการตามกฎหมาย
  4. ผู้เสียภาษีเป็นผู้ให้บริการเองได้หรือไม่
  5. ตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ที่ต้องชำระเป็นตัวเงินตามกฎหมาย
    • สัญญาจ้างทำของ
    • ใบมอบอำนาจ
    • ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติในที่ประชุมบริษัท
    • สัญญาค้ำประกัน
    • สัญญากู้ยืม หรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร
  6. หลักเกณฑ์และขั้นตอนการขอชำระอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์
    • การยื่นเอกสารประกอบการแจ้งขอเป็นผู้ใช้บริการ API มีอะไรบ้าง
    • เอกสารการรับรองคุณสมบัติ กรณียื่นรายการข้อมูลด้วยตนเอง/ กรณีขอเป็นผู้ให้บริการ
    • วิธีปฏิบัติและการจัดเตรียมเอกสารเพื่อสมัครใช้งาน
    • การยื่นขอเสียอากรแสตมป์เป็นตัวเงิน (อ.ส.9)
    • การตรวจสอบการเสียภาษี
    • วิธีการกรอกและนำส่งข้อมลู
    • วิธีการเข้าสู่ระบบ
    • วิธีการชำระเงิน
    • การ Download เอกสาร
  7. วิธีการขอเอกสารหลักฐาน ใบเสร็จรับเงิน และรหัสรับรองการเสียอากรแสตมป์
  8. จะทราบได้อย่างไรว่าตราสารอิเล็กทรอนิกส์ใดได้ชำระอากรแสตมป์แล้ว
  9. กรณีผลักภาระในการเสียอากรสำหรับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องเสียอากรอย่างไร
  10. ต้นฉบับและคู่ฉบับตราสารอิเล็กทรอนิกส์ ต้องเสียภาษีพร้อมกันหรือไม่ ทำแทนคู่สัญญาได้หรือไม่
  11. กำหนดเวลายื่นก่อนกระทำตราสาร 15 วันนับจากวันใด
    • จ่ายค่าอากรแทนคู่สัญญา แต่ไม่ดำเนินการภายในกำหนด ใครถูกปรับ

อากรแสตมป์ กับ 28 สัญญา พร้อมเจาะลึกปัญหา และวิธีการแก้ไข


  1. อากรแสตมป์คืออะไร มีกี่ประเภท มีความสำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
  2. ตราสารมีความหมายครอบคลุมเพียงใด แล้วตราสารใดต้องเสียอากรแสตมป์
  3. Highlight เด็ด!!! กับการเคลียร์ 28 สัญญา ที่ต้องเสียอากรแสตมป์ที่นักบัญชีต้องรู้ และพลาดไม่ได้กับเทคนิคการดูสัญญาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน แต่ไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
    • จุดสังเกตของสัญญาที่นักบัญชีสงสัยว่าต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่
  4. ใครมีหน้าที่เสียอากรแสตมป์ และเสียในอัตราเท่าไร มีข้อยกเว้นอย่างไร
    • ถ้าเสียไม่ครบ เสียเพิ่มภายหลังได้หรือไม่ แล้วมีผลอย่างไรต่อธุรกิจ
    • กฎหมายยอมให้คู่สัญญาตกลงเปลี่ยนแปลงหน้าที่ในการเสียอากรแสตมป์ได้หรือไม่
  5. อย่างไรคือการปิดแสตมป์บริบูรณ์ ถ้าหากปิดแสตมป์ไม่บริบูรณ์จะมีผลอย่างไร แล้วใครต้องรับผิด
    • การเสียอากรแสตมป์ กรณีแสตมป์ปิดทับมีวิธีการอย่างไร
    • การขีดฆ่าอากรแสตมป์คืออะไร พร้อมเทคนิคการขีดฆ่าอากรแสตมป์ที่แม้มิได้ทำตามกฎหมาย แต่ศาลยอมรับว่ามีการขีดฆ่าแล้ว
    • การเสียอากรแสตมป์ กรณีชำระเป็นตัวเงิน
    • ตราสารที่ไม่ได้ถูกกำหนดให้เสียเป็นตัวเงิน แต่ผู้มีหน้าที่เสียนำไปชำระเป็นตัวเงินทำได้หรือไม่
    • ตราสารใดใช้แสตมป์ปิดทับไม่ได้โดยเด็ดขาด!!! และผลของการฝ่าฝืนเป็นอย่างไร
  6. พลาดไม่ได้!!! กับการ Update หลักเกณฑ์ใหม่ของตราสารที่ต้องเสียเป็นตัวเงิน พร้อมผลเสียหายที่นักบัญชีต้องรู้เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น
    • ถ้ายังใช้หลักเกณฑ์เก่าผลเป็นอย่างไร ทั้งในแง่คดี และการขอคืนอากรแสตมป์
    • ชี้จุดแตกต่างระหว่างหลักเกณฑ์เก่า VS หลักเกณฑ์ใหม่ สิ่งใดที่ใช้บังคับไม่ได้แล้ว
  7. วิธีการเสียอากรเป็นตัวเงินสำหรับตราสารตามหลักเกณฑ์ใหม่ของสรรพากรพร้อมเทคนิคการชำระอากรที่ไม่มีทางเสียค่าปรับ เงินเพิ่ม
  8. ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องปิดอากรแสตมป์มีอะไรบ้าง
  9. ความรับผิดของการไม่ปิดแสตมป์บริบูรณ์ และการไม่ออกใบรับมีอะไรบ้างที่นักบัญชีต้องทราบ
    • การต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มอากร
    • การขอลดอากรทำได้ในกรณีใดบ้าง รวมถึงสิทธิไล่เบี้ยเงิน ค่าอากร
    • การใช้ตราสารเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่ง สิ่งที่ระวังเป็นพิเศษ!!! จนอาจแพ้คดีและเสียสิทธิ์เพราะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง
    • โทษทางอาญามีหรือไม่ อย่างไร แล้วผู้ทำบัญชีต้องรับผิดทางอาญาด้วยหรือไม่ ทั้งกรณีที่เจตนาและไม่เจตนา
  10. Top Case Studies กับปัญหาจริงที่นักบัญชีต้องพบกับอากรแสตมป์ พร้อมแนะจุดใดต้องระวังเป็นพิเศษ!!!
    • ตราสาร 1 ฉบับ แต่มีข้อตกลงหลายประเภท มีวิธีการเสียอากรอย่างไร
    • ปัญหาความแตกต่างระหว่างต้นฉบับกับคู่ฉบับ
    • ใครเป็นผู้เก็บต้นฉบับ/คู่ฉบับ
    • สำเนาต้องติดอากรแสตมป์หรือไม่
    • ทำสัญญากับรัฐวิสาหกิจต้องปิดอากรแสตมป์หรือไม่
    • ตราสารที่ทำขึ้นในต่างประเทศ ต้องเสียอากรในไทยหรือไม่ มีความแตกต่างในการปิดอากรแสตมป์หรือไม่อย่างไร และใครต้องเป็นผู้ปิดอากร
    • ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการชำระอากรเป็นตัวเงินในสัญญาจ้างทำของ กรณีจ้างที่ปรึกษา อย่างไรเรียกว่าผลสำเร็จของงาน
    • การปิดอากรแสตมป์ผิดวิธีที่กฎหมายกำหนดผลเป็นอย่างไร
    • เดิมไม่ได้เสีย เสียไม่ครบ หรือเสียผิดวิธี จะปิดอากรย้อนหลังได้หรือไม่ หรือจะแก้ไขให้ถูกต้องด้วยวิธีใด ภายในกำหนดเวลาเท่าไร
  11. การวางแผนภาษีเกี่ยวกับการปิดอากรแสตมป์
    • ปิดอากรย้อนหลัง
    • ปิดแต่ไม่ขีดฆ่า
    • ซื้ออากรไว้แต่ยังไม่ปิด
    • การทำสัญญาที่ต่างประเทศโดยไม่นำสัญญากลับมาในไทย สรรพากรจะเชื่อหรือไม่
  12. อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่สรรพากรที่นักบัญชีต้องรู้ในการตรวจสอบสัญญาและอากรแสตมป์
  13. การขอคืนอากรแสตมป์มีวิธีการอย่างไร หากไม่พอใจ สามารถอุทธรณ์ได้ทุกกรณีหรือไม่
  14. สรุปฎีกาสำคัญที่เกี่ยวกับอากรแสตมป์ พร้อมถาม-ตอบปัญหา ในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงในคดีจากผู้เชี่ยวชาญ
    • ตัวอย่างสัญญาที่ใช้เปรียบเทียบกันเพื่อให้เสียอากรแสตมป์ได้อย่างถูกต้อง
  15. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล บางนา
333 ถ.ศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขต ประเวศ กทม.
โทรศัพท์ :
02-3660505
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีศรีอุดม ทางออกที่ 2 (ห่างจากสถานี 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba