การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้-รายจ่ายทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับกิจการแบบมืออาชีพ (หลักสูตรใหม่ ปี2562)

รหัสหลักสูตร : 21/2314

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การบันทึกรายการปรับปรุงรายได้-รายจ่ายทางบัญชี
ที่เกี่ยวข้องกับกิจการแบบมืออาชีพ


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่นๆ 3 ชม.

 

วิทยากรโดย ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

หัวข้อสัมมนา

ประเด็นการบันทึกรายการทางการบัญชีด้านรายได้ที่ส่งผลกระทบต่อกิจการ

1. การปรับปรุงรายได้และรายจ่ายต้องห้ามที่เกี่ยวข้องกับกิจการ

2. ความเหมือนและความแตกต่างระหว่างรายได้และรายจ่ายทางบัญชีกับภาษีที่เกี่ยวข้องกับกิจการ

3. การวางแผนและการควบคุมภายในเกี่ยวกับรายการทางการบัญชีที่ต้องบวกกลับเพื่อประกอบการคำนวณ
ภาษีนิติบุคคลประจำปี

4. รายได้จากการดำเนินงาน รายได้ที่ได้รับการยกเว้นที่ไม่ต้องเสียภาษี

5. กรณีศึกษาการพิจารณารายได้ที่ทางบัญชีไม่ถือว่าเป็นรายได้แต่ทางภาษีให้ถือเป็นรายได้ต้องนำมาบวกกลับใน
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี
- รายได้ที่เกี่ยวกับกิจการ
- การขายหุ้นให้กรรมการหรือผู้อื่น ตํ่ากว่าราคาตลาดภาระภาษีพิจารณาอย่างไร
- รายได้จากการโอนสินทรัพย์/รายได้จากสัญญาเช่าระยะยาว
- เงินยืมกรรมการ พนักงานหรือผู้ถือหุ้น โดยไม่คิดดอกเบี้ยและเงินทดรองกรรมการ ได้หรือไม่
- ขายทรัพย์สินที่ตัดค่าเสื่อมราคาหมดแล้วแต่ไม่ได้นำเป็นรายได้
- การขายทรัพย์สินสูญหายจากการตรวจสอบบัญชี
- รายได้เงินปันผลรับจาก บมจ กับ บจก พิจารณาอย่างไรเสียหรือไม่
- กำไร-ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- หนี้สูญได้รับคืน การฟ้องร้องชนะคดี

6. ปัญหาของรายได้จากการขายสินค้าและการให้บริการที่มักเกิดความผิดพลาดในการบันทึกบัญชีที่ไม่ได้ทำ
รายการปรับปรุง ณ วันสิ้นงวดบัญชี
- รายได้ที่ถึงกำหนดได้รับเงิน แต่ยังไม่ได้รับเงินจะปฏิบัติอย่างไรตามมาตรฐานการบัญชี
- รายได้ที่ได้รับเงินแล้ว แต่กิจการยังไม่รับรู้รายได้สามารถทำได้หรือไม่ จะบันทึกบัญชีอย่างไร
- รายได้ค่าบริการเกินกว่า 1 รอบระยะเวลาบัญชีอะไรบ้างที่กิจการจะต้องรับรู้และวิธีปฏิบัติในทางบัญชี
- การรับรู้รายได้อื่นที่เกิดจากการนำเงินไปหาประโยชน์เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล ค่าสิทธิ
- การรับรู้รายได้อื่นทั่วไป เช่น กำไรจากการจำหน่ายสินทรัพย์ กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

7. ประเด็นสำคัญภาพรวมมาตรฐานการรายงานทางการเงินเกี่ยวกับ IFRS 15 ในเรื่องการรับรู้และ
การวัดมูลค่ารายได้
- ตัวอย่างการปฏิบัติตามเงื่อนไข 5 ขั้นตอนตามTFRS 15 ที่เกี่ยวข้อง
- แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาการรับรู้รายได้ในกรณีต่างๆ
- การขายที่ให้สิทธิในการคืนสินค้า
- การรับประกันคุณภาพสินค้า
- การพิจารณาว่าเป็นตัวการหรือตัวแทน
- สิทธิที่มอบให้ลูกค้าในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการเพิ่ม
- สิทธิที่ลูกค้าไม่ใช้
- สัญญาการซื้อคืน
- สัญญาฝากขาย
- การขายที่แจ้งหนี้แล้วแต่ยังไม่ส่งมอบสินค้า

ประเด็นการบันทึกรายการทางการบัญชีด้านรายจ่ายที่ส่งผลต่อนักบัญชี

8. ปัญหารายจ่ายต้องห้ามในการปรับปรุงกำไรสุทธิที่นักบัญชีต้องเข้าใจ

9. ประเด็นที่กระทบกับบัญชีที่เกี่ยวข้องกับทางภาษีที่ต้องนำมาบวกกลับหรือหักออกจากกำไรสุทธิก่อนคำนวณ
ภาษีเงินได้นิติบุคคลให้ถูกต้อง

10. แนวปฏิบัติการนำรายจ่ายต้องห้ามทางภาษีมาบันทึกเป็นรายจ่ายให้ถูกต้องเพื่อป้องกันการบวกกลับใน
การคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
- การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามสิทธิประโยชน์ที่ควรจะได้รับทรัพย์สินที่ได้มาโดย
การเช่าซื้อหรือซื้อขายเงินผ่อน
- การตีราคาทรัพย์สิน เพิ่มขึ้น – ลดลงการ Write Off รายการทรัพย์สินที่สูญหายหรือชำรุดและ
เทคนิคการประหยัดภาษีจากการขายทรัพย์สินถาวรที่หาย หาไม่เจอเป็นรายได้ทั้งทางบัญชีและภาษี
- การตีราคาสินค้าคงเหลือปลายงวดและการนับสินค้าคงเหลือปลายปีแล้วหายขาดสต๊อกถือเป็นรายจ่ายอย่างไร
- กรณีศึกษาการจำหน่ายหนี้สูญ
- การคำนวณมูลค่าของเงินตรา ทรัพย์สิน และหนี้สินจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ค่ารับรองและค่าบริการ ค่านํ้ามันรถ ค่าเดินทางค่าจัดประชุมสัมมนาค่ากีฬา เพื่อสามารถเป็นรายจ่ายได้
- รายจ่ายที่ไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือหลักฐานว่ามีผู้รับเงิน
- ค่าของขวัญวันเกิดเปิดกิจการปีใหม่ลูกค้าในเทศกาลต่างๆ
- รายจ่ายในการทำ CSR เพื่อสามารถลงเป็นรายจ่ายเพื่อการสาธารณะประโยชน์ได้
- การตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อเป็นรายจ่ายทางภาษี
- การคำนวณผลขาดทุนยกมาจากรอบบัญชีก่อนไม่เกิน 5 ปีให้เกิดประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
- ปรับปรุงบัญชี รายจ่ายเพื่อการศึกษา รายจ่ายเพื่อการสาธารณะประโยชน์เพื่อการกีฬาพร้อม UPDATE
กฎหมายใหม่ล่าสุด
- กรณีศึกษารายจ่ายอันมีลักษณะการลงทุนทางบัญชี
- ค่าใช้จ่ายของผู้บริหารที่สามารถนำมาเป็นรายได้ทางภาษีได้ เช่น ค่าเช่ารถประจำตำแหน่ง ค่าโทรศัพท์ค่าเดินทาง
ค่ารับรองลูกค้า
- รายจ่ายในการส่งเสริมขวัญและกำลังใจพนักงานที่สามารถนำมาบันทึกเป็นรายจ่ายได้

12. ประเด็นสำคัญการพิจารณา TAS12 Deferred tax/ ภาษีรอตัดบัญชีจากการปรับปรุงทางภาษีให้ถูกต้อง
ปฏิบัติอย่างไร

13. เทคนิคการปรับปรุงรายการการปิดงบและการคำนวณกำไรสุทธิเมื่อสิ้นรอบบัญชี

14. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba