สุดยอดกลยุทธ์ การวางแผนภาษีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contract) ทั้งระบบ (หลักสูตรใหม่ปี 2563)

รหัสหลักสูตร : 21/1616

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,243 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,992 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


สุดยอดกลยุทธ์ การวางแผนภาษีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
ผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contract) ทั้งระบบ

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 


วิทยากรโดย อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร


หัวข้อสัมมนา

1. ความรู้และความสำคัญของภาษีอากรที่ผู้บริหารหรือนักบัญชีต้องทราบในการประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

2. เหตุผลและความจำเป็นในการวางแผนภาษีธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

3. ความหมายและประเภทของงานก่อสร้างตามมาตรฐานการบัญชี
- สัญญาราคาคงที่ (Fixed-Price Contract)
- สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม (Cost Plus Contract)

4. การวางแผนภาษีเลือกองค์กรประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างอย่างไรจึงจะได้รับประโยชน์ทางภาษีอากร
- บุคคลธรรมดา
- คณะบุคคล
- บริษัทจำกัด
- ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- กิจการร่วมค้า

5. การวางแผนภาษีในการจัดทำสัญญารับเหมาก่อสร้าง วิธีใดได้รับประโยชน์ทางภาษีสูงสุด
- สัญญารับเหมาสัญญาเดียว (ค่าแรงและค่าวัสดุรวมกัน)
- สัญญารับเหมาค่าแรงอย่างเดียว ค่าวัสดุก่อสร้างผู้ว่าจ้างซื้อเอง
- แยกสัญญารับเหมาค่าแรง และสัญญาขายวัสดุก่อสร้างออกจากกันมีข้อดีและข้อเสียอย่างไร
- แยกสัญญารับเหมาค่าแรง และสัญญาบริการจัดซื้อวัสดุก่อสร้างดีหรือไม่ มีผลกระทบอย่างไร
- รับเหมาก่อสร้างไม่ทำสัญญา ใช้ใบสั่งซื้อ (Purchase Order) แทนได้หรือไม่
- สัญญารับเหมาช่วง (Sub-contract) จะต้องทำสัญญาอย่างไรให้เสียภาษีประหยัด
- สัญญาเช่าไซต์งานก่อสร้างมีภาระภาษีอะไรบ้าง และผู้ให้เช่าไม่หักภาษีต้องปฏิบัติอย่างไร
- “ใบสั่งซื้อ (Purchase Order)” ถือเป็นสัญญาและต้องเสียอากรแสตมป์หรือไม่
- อากรแสตมป์ที่ต้องเสียตามสัญญารับเหมาก่อสร้างใครเป็นผู้เสีย และผลักภาระให้ผู้ว่าจ้างเสียได้หรือไม่

6. การวางแผนภาษีรายได้ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างและภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
- ประเภทรายได้ของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
- การรับรู้รายได้ตามเกณฑ์สิทธิ
- การรับรู้รายได้เมื่องานก่อสร้างเสร็จตามสัญญา
- การรับรู้รายได้ตามอัตราส่วนของงานก่อสร้างที่ทำเสร็จ
- เงินล่วงหน้า เงินค่างวด และเงินประกันผลงานต้องรับรู้รายได้อย่างไร
- หากผู้ว่าจ้างยกเลิกสัญญาต้องปฏิบัติทางภาษีอย่างไร
- เศษวัสดุก่อสร้างจะต้องรับรู้รายได้หรือไม่

7. การวางแผนภาษีต้นทุนงานก่อสร้าง
- ต้นทุนงานก่อสร้างประกอบไปด้วยอะไรบ้าง ต้องมีเอกสารหลักฐานอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้
- ค่าเสียหายจากงานก่อสร้างที่ต้องจ่ายให้บุคคลที่สามถือเป็นรายจ่ายหรือต้นทุนงานก่อสร้าง
- ค่าปรับหรือค่าเสียหายที่เกิดจากการประกันผลงาน

8. การวางแผนภาษีอากรของธุรกิจรับเหมาก่อสร้างที่ต้องระมัดระวัง
- ภาษีเงินได้นิติบุคคคล
- การเลือกวิธีการรับรู้รายได้และรายจ่ายตามประมวลรัษฎากร
- เงื่อนไขในการคำนวณกำไรสุทธิตามมาตรา 65 ทวิ และ 65 ตรี
- การวางแผนภาษีรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรที่มักจะพบในธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง เช่น ซื้อของไม่มีบิล
การจ่ายเงินใต้โต๊ะ ค่ารับรอง
- การวางแผนภาษีเอกสารรายจ่ายทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ ไม่ต้องห้าม
- ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
- การหักภาษี ณ ที่จ่ายของเงินล่วงหน้า เงินค่างวด และเงินประกันผลงาน
- การแยกสัญญาจะมีผลต่อการหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
- การจ่ายเงินค่าวัสดุก่อสร้างกับค่าขนส่งจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
- การจ่ายเงินค่าเช่านั่งร้าน ปั้นจั่น กับค่าขนส่งจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
- การจ่ายเงินค่าเช่าไซต์งานก่อสร้างจะต้องปฏิบัติอย่างไรเมื่อผู้ให้เช่าไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย
- การจ่ายเงินที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ผู้รับเงินไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่ายต้องปฏิบัติอย่างไร
- การจ่ายเงินอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม
- การออกใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินและใบแจ้งหนี้เมื่อได้รับเงินค่างวดจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
- รับเหมาก่อสร้างในประเทศเพื่อนบ้านจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอัตราใด มีหลักเกณฑ์อย่างไร
- การวางแผนภาษีในการออกใบแจ้งหนี้ ใบกำกับภาษี ใบเสร็จรับเงินของกิจการรับเหมาก่อสร้าง
- ไซต์งานก่อสร้างต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ หากมีภาษีซื้อเกิดขึ้นที่ไซต์งานก่อสร้างจะขอคืนที่ใด
- การวางแผนภาษีในการขอคืนภาษีซื้อหรือเครดิตภาษีขาย และภาษีซื้อต้องห้ามที่ต้องระมัดระวัง
- ผู้รับเหมาช่วงทำสัญญารับเหมาทั้งค่าแรงและค่าวัสดุ แต่ขอยืมวัสดุก่อสร้างจากกิจการ มีภาระภาษีหรือไม่
- หากกิจการทำสัญญาขายวัสดุก่อสร้าง จะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อใด

9. การวางแผนภาษีผู้รับเหมาช่วง (Sub-Contract)
- ต้องทำสัญญาอย่างไรกับผู้รับเหมาช่วง และภาระภาษีที่ต้องระมัดระวัง
- การจ่ายเงินให้กับผู้รับเหมาช่วงจะหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร จะใช้เอกสารหลักฐานอะไรเป็นหลักฐานการรับเงินค่าจ้าง
- การกระจายรายได้ของผู้รับเหมาช่วงโดยการนำพนักงานของผู้รับเหมาช่วงมารับเงินแทนทำได้หรือไม่
สรรพากรยอมรับหรือไม่
- การจ้างผู้รับเหมาช่วงเข้ามารับเหมาโครงการพิจารณาอย่างไรว่า เป็นรับจ้างทำของ หรือขายสินค้าที่
ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

10. ปัญหาการวางแผนภาษีในการเสียภาษีของธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
- ค่าใช้จ่ายที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน ทำอย่างไรจะถือเป็นรายจ่ายได้ และสรรพากรยอมรับโดยไม่ต้องบวกกลับ
เช่น ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง
- ซื้อของเล็กๆ น้อยๆ ไม่มีบิลหรือใบเสร็จจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้
- ซื้อของได้รับบิลเงินสด แต่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้รับเงินจะต้องปฏิบัติอย่างไร จึงจะถือเป็นรายจ่ายได้
- การจ่ายค่าแรงรายวัน รายสัปดาห์ จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และต้องมีเอกสารหลักฐานอะไรบ้าง
- การจ่ายค่าจ้างวิศวกร สถาปนิก ที่ปรึกษาจะพิจารณาอย่างไรว่าเป็นวิชาชีพอิสระ หรือเป็นการจ้างแรงงาน
- การจ้างชาวต่างชาติมาควบคุมงาน เป็นที่ปรึกษา จะต้องหักภาษีอย่างไร
- ได้รับใบกำกับภาษีจากผู้ขายหรือผู้ให้บริการจะมีวิธีตรวจสอบใบกำกับภาษีอย่างไร ไม่ให้เป็นใบกำกับภาษีปลอม
และบทลงโทษที่ต้องระมัดระวัง
- ค่าปรับหรือค่าเสียหายจากการก่อสร้างจะต้องปฏิบัติอย่างไร
- ได้รับเงินประกันความเสียหาย หรือเงินที่ถูกผู้ว่าจ้างหักไว้บางส่วนคืนจะต้องปฏิบัติอย่างไร

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba