เตรียมรับมือ...กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลกับการจ้างแรงงานในการบริหารทรัพยากรบุคคล

รหัสหลักสูตร : 21/3476FB

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,173 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,922 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เตรียมรับมือ...กฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลกับการจ้างแรงงาน
ในการบริหารทรัพยากรบุคคล


หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 


พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลบังคับใช้ เต็มรูปแบบ 1 มิถุนายน 2564
นับถอยหลัง...บังคับใช้ “เต็มรูปแบบ” พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
วันที่ 1 มิถุนายน 2564

ผู้สอบบัญชี (CPA) สามารถนับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้

วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

หัวข้อสัมมนา


1. สาระสำคัญของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และหลักพื้นฐาน 8 ประการ
ว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

2. ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล การป้องกันข้อมูลส่วนบุคคล Overview of Personal
Information/Data Protection (Privacy) และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีหน้าที่และมีความสำคัญอย่างไร?
- เจ้าของข้อมูล (Data Subject)
- ข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data)
- ผู้ควบคุมข้อมูล (Data Controller)
- ผู้ประมวลผล (Data Processor)

3. Impact of Personal Information/Data Protection (Privacy) Breach:
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล / การปกป้องข้อมูล (ความเป็นส่วนตัว) หัวหน้างานทุกระดับ นายจ้าง
และฝ่ายบุคคลต้องปฏิบัติอย่างไร?
- พนักงานที่มีการว่าจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน
- ขอบเขตของการนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้
- ขอบเขตเพียงแค่ตามสัญญาจ้างแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานเท่านั้น เป็นอย่างไร

4. การบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงานลูกจ้าง (Personal Sensitive Information)
ทำอย่างไร ไม่ให้ผิดกฎหมาย เช่น
- ประวัติส่วนตัว
- ใบสมัครงาน เอกสารหลักฐานการศึกษา สำเนาเอกสารต่างๆที่ใช้ประกอบ การสมัครงานและ
การว่าจ้าง
- ผลการตรวจร่างกาย ผลการตรวจสุขภาพ
- ผลการประเมินช่วงทดลองงาน ผลการประเมินระหว่างการปฏิบัติงาน ทุกประเภท
- สลิปเงินเดือนและผลตอบแทนที่พนักงานได้รับทุกประเภท
- ข้อมูลส่วนตัวด้านพฤติกรรมด้านความประพฤติด้านการกระทำความผิดทาง วินัยการลงโทษ
ประวัติทางวินัย หนังสือตักเตือน หนังสือเลิกสัญญาจ้าง
- เอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาให้รางวัล การพิจารณาความดีความชอบ
- สัญญาจ้างทุกประเภทชนิดการจ้างในแต่ละช่วงการจ้าง (ถ้ามี)
- ข้อมูลส่วนตัวของพนักงานในการ Update ทะเบียนราษฎร์สถานะการ สมรส สถานะครอบครัว
ที่เป็นปัจจุบันในขณะนั้นๆซึ่งเกิดจากการสำรวจ ข้อมูลพนักงานของนายจ้างหรือฝ่ายบุคคล
- รายงานเกี่ยวกับการประสบอันตรายเจ็บป่วยทั้งที่เนื่องจากการทำงาน และไม่ได้เนื่องมาจาก
การทำงาน รวมถึงโรคภัยไข้เจ็บของพนักงาน
- ข้อมูลการขอรับหรือให้คำปรึกษาในกรณีนายจ้างมีระบบให้คำปรึกษา การรับเรื่องราวร้องทุกข์
ทางด้านการปฏิบัติงาน
- ข้อมูลสถิติเกี่ยวกับการมาปฏิบัติงานหรือไม่มาปฏิบัติงาน สถิติการป่วยสายลาหรือขาดงาน
- ประวัติอาชญากรและประวัติเกี่ยวกับการกระทำความผิดก่อนเข้าเป็น พนักงานลูกจ้างของนายจ้าง
ซึ่งนายจ้างสืบทราบในภายหลัง เมื่อเป็นพนักงานลูกจ้างแล้ว
- ประวัติทางครอบครัวญาติพี่น้องหรือบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน กับพนักงาน ที่มอบให้กับ
นายจ้าง หรือที่นายจ้างทราบ
- ข้อมูลของพนักงานซึ่งนายจ้างหรือฝ่ายบุคคลทราบ จากโซเชียลมีเดียต่างๆ อันเกิดจากการ
ที่ลูกจ้างโพสต์ข้อความ หรือภาพถ่ายหรือรูปนั้นๆ เป็นต้น

5. ประเด็น “ข้อห้าม” ที่มิให้นายจ้างเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลประเภทใดบ้าง ซึ่งถูกตีความ
ได้ว่ากระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล หากไม่ได้รับความยินยอมที่ชัดแจ้งเป็นอย่างไร?
และมีวิธีในการดำเนินการอย่างไร ? ไม่ให้มีความผิด
- ข้อมูลทางด้านเชื้อชาติเผ่าพันธุ์
- ความคิดเห็นทางการเมือง
- ความเชื่อในลัทธิศาสนา ปรัชญา
- พฤติกรรมทางเพศ (รสนิยมทางเพศ)
- ประวัติอาชญากรรม
- ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ
- สหภาพแรงงาน
- พันธุกรรม ชีวภาพและข้อมูล อื่นๆ

6. หลักการและแนวทางว่าด้วยการจัดเก็บประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ตามขั้นตอนกฎหมาย
เอกสาร และต้องให้เป็นปัจจุบัน

7. แนวทางเทคนิควิธีการในการขอความยินยอมจากลูกจ้าง ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
เพื่อใช้ในการปฏิบัติตามสัญญาจ้างแรงงาน ข้อมูลที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย

8. PDP : Personal Information/Data Protection (Privacy) Lifecycle ว่าด้วยวงจร
ในการบริหารจัดการข้อมูลส่วนบุคคล ตั้งแต่การจำกัด รวบรวมการใช้การถ่ายโอน เก็บรักษา กำจัด
ลดข้อมูล ฯลฯ มีแนวทางปฏิบัติอย่างไร?

9. แนวทางในการดำเนินการเรื่อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อใช้ในการบริหารจัดการลูกจ้าง
ในองค์กร ตั้งจุดเริ่มต้นจนกระทั่งสิ้นสุดการจ้างงาน
- การกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ
- การกำหนดเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- การรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของบริษัททั้งหมดทั้งรูปแบบ
- การจัดเก็บ การพิจารณาข้อมูลที่ต้องดำเนินการตามกฎหมาย
- การบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลที่จัดเก็บตามหลักการของกฎหมาย
- การกำหนดกรอบกำกับดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
- คู่มือปฏิบัติงานคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและการจัดอบรมให้พนักงาน ที่เกี่ยวข้องทราบ
- การกำหนดกระบวนการทางธุรกิจ โครงสร้างทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อดำเนินการ
ทางกฎหมายและการจัดให้ตรวจสอบการดำเนินการ ตามกฎหมาย

10. สรุปข้อกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการจ้างแรงงาน และการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์และ
สรุปบทลงโทษทั้งโทษทางอาญาโทษปรับทางปกครอง และโทษปรับทางแพ่ง

11. ถาม-ตอบ และแลกเปลี่ยนข้อมูล

เงื่อนไข

1. สมัครเข้าอบรมผ่าน www.dst.co.th หรือ Call center ที่ 02-555-0700 กด 1
2. ชำระเงินผ่านระบบ Qr code หรือ โอนเงินผ่านธนาคารเท่านั้น
3. ผู้เรียนต้องมี บัญชี Facebook ส่วนตัว
4. ห้ามบันทึกภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่ (สงวนลิขสิทธิ์)
5. ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตสามารถนับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้
• แจ้งการนับชั่วโมงต่อเจ้าหน้าที่ก่อนจัดอบรม
• ต้องแสดงตัวตนโดยการพิมพ์ ชื่อ - นามสกุล ก่อน และ เลิกการอบรม
• เก็บหนังสือรับรองผ่านการอบรมไว้เป็นหลักฐาน
6. นิติบุคคลหากต้องการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้นำส่งทางไปรษณีย์มาที่ บจ.ฝึกอบรมและสัมมนาธรรนิติ
7. กลุ่มอบรมออนไลน์จะเปิดเข้าเรียนย้อนหลังได้เพียง 1 วัน
8. ผู้เข้าอบรมสามารถสอบถามคำถามได้ในระหว่างการอบรม
9. มีคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ไม่ต่ำกว่า 10 mb
10. กรณีโอนเงินผ่านธนาคาร กรุณาส่งใบ Payin มาที่ [email protected]

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Facebook LIVE (CPA นับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba