เจาะลึกปัญหาภาษีการจ่ายเงินไปต่างประเทศภ.ง.ด. 54,ภ.พ. 36 และอนุสัญญาภาษีซ้อน(จัดอบรมออนไลน์ผ่าน Zoom)

รหัสหลักสูตร : 21/8300/5Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,210 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 3,745 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะลึกปัญหาภาษีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
ภ.ง.ด. 54,ภ.พ. 36 และอนุสัญญาภาษีซ้อน

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี

นับชั่วโมงแบบ
ไม่เป็นทางการได้

ผู้สอบบัญชี

นับชั่วโมงแบบ
ไม่เป็นทางการได้

 

วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

หัวข้อสัมมนา

1. เจาะลึกปัญหาภาษีการจ่ายเงินไปต่างประเทศ
• จ่ายอย่างไร
• จ่ายค่าอะไร
• จ่ายให้ใคร

2. หลักการพิจารณาประเภทเงินได้และการนําส่งภาษี

3. ความแตกต่างในการเสียภาษีของบริษัทต่างประเทศที่มี PE และไม่มี PEในไทย
• มีสถานประกอบการในไทยและกรณีไม่มีสถานประกอบการในไทย
• มีสํานักงานสาขาถาวรในไทย, มีสํานักงานตัวแทน
• มีลูกจ้าง, ผู้ทําการแทน, ตัวแทนในไทย

4. ประเด็นภาษีที่ต้องระวังเมื่อจ่ายเงินไปต่างประเทศ
• การจ่ายและรับค่าคอมมิชชั่น (Commission) กับบริษัทต่างประเทศมีภาระภาษีอย่างไร
• หลักเกณฑ์การพิจารณาอย่างไรว่าเป็นการรับทํางานให้ตามมาตรา 40(2) กับรับจ้างตามมาตรา 40(8)
• การใช้ Know How , Royalty , สิทธิบัตร ,ด้านวรรณกรรม , ศิลปกรรมเมื่อจ่ายต้องหักภาษีนําส่ง
ในอัตราเท่าใด
• การซื้อหรือได้ใช้ Software Computer มาใช้ในไทยต้องเสีย VAT และหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่
• กรณีซื้อโปรมแกรม Software Computer โดยเป็นการซื้อขาดต้องนําส่งหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่
• ค่าที่ปรึกษาทางเทคนิค (Technical Consultation) ,ค่าให้ข้อมูลทางเทคนิค
(Technical Information),ค่าให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance)
มีภาระภาษีอย่างไร
• จ่ายค่าเช่าโกดังไปยังต่างประเทศต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่ อัตราใด
• จ่ายเงินล่วงหน้าเพื่อชําระค่าโดเมนที่ต่างประเทศต้อง หัก ณ ที่จ่ายอย่างไร
• การจ่ายเงินปันผลดอกเบี้ยจําหน่ายเงินกําไรให้บริษัทในต่างประเทศจะต้องหักภาษีนําส่งอย่างไร
• จ่ายค่าที่ปรึกษาการวางแผนการตลาดให้บริษัทต่างประเทศต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่อัตราใด
• จ่ายค่าโฆษณาให้กับ Google, Facebook ต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่อัตราใด และต้องนําส่ง
ภาษีมูลค่าเพิ่มด้วยหรือไม่
• ส่งพนักงานไปอบรมที่ต่างประเทศ บริษัทจ่ายค่าบริการต้องนําส่งภ.ง.ด.54 และภ.พ.36 หรือไม่
• จ่ายค่า Platform ไปยังต่างประเทศต้องนําส่งภ.ง.ด.54 และภ.พ.36 หรือไม่
• จ่ายค่าบริการใช้ข้อมูลทาง Internet
• จ่ายค่าเครื่องจักรไปต่างประเทศ
• จ่ายเงินค่าบริหารจัดการให้บริษัทแม่ที่ต่างประเทศ
• การทํา Transfer Pricing ระหว่างบริษัทในเครือที่อยู่ต่างประเทศ (Know How , Royalty,
สิทธิบัตร)
• ตกลงทําธุรกรรมกับสาขาในไทยแต่ส่งเงินได้ไปให้บริษัทแม่ในต่างประเทศจะถือว่าเงินได้นั้นเป็น
เงินได้ของสาขาหรือไม่

5. การให้ธนาคารเป็นตัวแทนในการหัก ณ ที่จ่ายและนําส่งภาษี (e-Withholding Tax)
• กรณีธนาคารหัก ณ ที่จ่ายขาดไปใครเป็นผู้รับผิดชอบ
• ธนาคารสามารถนําส่งภ.พ.36 แทนบริษัทได้หรือไม่
• กรณีต้องการให้ธนาคารออกหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย เป็นภาษาอังกฤษทําได้หรือไม่

6. การลดการซ้ำซ้อนจากการจัดเก็บภาษีตามอนุสัญญาภาษีซ้อนมีหลักเกณฑ์อย่างไร

7. กรณีทําสัญญาในประเทศหรือมีคําสั่งซื้อจากไทยแต่สินค้าไม่ผ่านไทยจะเสีย
ภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่


8. ทำสัญญากับประเทศที่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนได้ประโยชน์อย่างไร
• การแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยนเป็นอย่างไร
• กรณีให้ธนาคารนําส่งภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้ต้องแปลงค่าอย่างไร
• การลงรายงานภาษีซื้อภาษีขายของการจ่ายเงินไปต่างประเทศกับการแปลงค่าอัตราแลกเปลี่ยน

9. การเครดิตภาษีกรณีถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ในไทยจะนําไปเครดิตที่ต่างประเทศได้หรือ
ไม่หลักฐานในการขอเครดิตภาษี


10.การนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทต่างประเทศ
• จ่ายเงินไปต่างประเทศกรณีใดบ้างที่ต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทต่างประเทศ
• กรณีนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มแทนบริษัทต่างประเทศขาดไปใครเป็นผู้รับผิดชอบ
• จ่ายค่าบริการ online ให้ต่างประเทศต้องนําส่งภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
• ภ.พ.36 สามารถขอคืนได้หรือไม่

11.ปัญหาการยื่นแบบภ.ง.ด.54 และภ.พ.36
• กรณีใดบ้างที่ต้องยื่นภ.ง.ด.54 และยื่นภ.พ.36
• กรณีใดที่ต้องยื่นภ.ง.ด.54 แต่ไม่ต้องยื่นภ.พ.36
• กรณีใดที่ต้องยื่นภ.พ.36 แต่ไม่ต้องยื่นภ.ง.ด.54

12. กรณีไม่มีหน้าที่ยื่นแบบภพ.36แต่ได้ยื่นและเสียภาษีไปแล้วจะนํามาเครดิตได้หรือไม่

13.การตรวจสอบการจ่ายเงินไปต่างประเทศของเจ้าหน้าที่สรรพากร

เงื่อนไข


1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ใน
ระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 1 วันหลังเสร็จสิ้นการอบรม
*** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) ***

เงื่อนไขการเข้าอบรมผู้ทําบัญชีสามารถนับชั่วโมง CPD ได้ ผู้สอบบัญชีนับชั่วโมง
ไม่เป็นทางการ

ผู้ทำบัญชี
1.ผู้ทําบัญชีสามารถใช้อัตราชั่วโมงการอบรมออนไลน์ตามจริงจํานวน 1.5 ชม.
แทนการนับชั่วโมง CPD ได้จํานวน 1 ชม.
2.ผู้เข้าสัมมนาต้องเปิดกล้องตลอดระยะเวลาการอบรม และไม่ควรกดออกจากโปรแกรม

ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
1.ผู้สอบบัญชีสามารถนับชั่วโมงแบบไม่เป็นทางการได้ ตามจำนวนชั่วโมงที่เข้าอบรมจริง
2.ผู้เข้าสัมมนาต้องเปิดกล้องตลอดระยะเวลาการอบรม และไม่ควรกดออกจากโปรแกรม


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
นับได้ 4 ชม. ตามการเข้าอบรมจริง (1.5 ชม. ทดแทน 1 ชม.) ไม่เป็นทางการ (นับชั่วโมงได้ตามจำนวน ชม. การเข้าอบรมจริง)

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชม.ได้ตามจำนวนการเข้าอบรมจริง 1.5 ชม. ทดแทน 1 ชม.)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba