เจาะลึก!! พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่

รหัสหลักสูตร : 21/1689

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะลึก!! พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี นับชั่วโมงได้ (รออนุมัติ)
ผู้สอบบัญชี นับชั่วโมงได้ (รออนุมัติ)
  • รู้ก่อน เตรียมตัวได้ก่อน!!! การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปี 2566

  • ตอบปัญหา “ราคาประเมิน" ในการเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
กรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง กับวิทยากรผู้มีประสบการณ์ตรง รู้ลึก! รู้จริง!

  • ทำเกษตรบังหน้าเพื่อเลี่ยงภาษี, ใช้ประโยชน์ไม่ตรงตามประเภทที่แจ้ง ฯลฯ  ถูกจับได้ คุ้มจริงหรือ?
  • การแจ้งเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ระหว่างปี มีผลต่อการเสียภาษีในปี 2566 หรือไม่? อย่างไร?
  • ใช้ประโยชน์หลายประเภทในที่ดินเดียวกัน หรือมีพื้นที่ต่อเนื่อง เสียภาษีอย่างไร?
  • ปี 2566 เสียภาษีเต็มอัตราปีแรก ต้องเตรียมตัวอย่างไร

วิทยากรโดย อาจารย์ประภาส คงเอียด

หัวข้อสัมมนา

1. ใครมีหน้าที่ต้องเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสิ่งปลูกสร้าง
  • ผู้ครอบครอง หรือใช้ประโยชน์ในที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง
  • ระยะเวลาการเริ่มเป็นเจ้าของ หรือเริ่มการครอบครอง ที่มีผลต่อหน้าที่การเสียภาษีในแต่ละปี
  • ผู้มีหน้าที่ชำระภาษีแทน
2. ความเป็น “เจ้าของที่ดิน” ที่มีผลต่อการเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • เจ้าของที่ดิน และเจ้าของสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเป็นคนละคนกัน เสียภาษีอย่างไร ใช้มูลค่าใดเป็นฐานภาษี
  • พื้นที่ส่วนกลางของคอนโด หรืออาคารชุด ที่มีไว้เพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันของเจ้าของร่วม ต้องนำมารวมคำนวณเสียภาษีหรือไม่
3. ประเภททรัพย์สินและมูลค่าที่ดินอะไรบ้าง?? ที่ยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

4. ทรัพย์สินอะไรบ้างที่ต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตีความหมายใหม่อย่างไร
  • ที่ดิน
  • สิ่งปลูกสร้าง
  • ห้องชุด
5. การจัดแบ่งประเภทของที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ต้องเสียภาษี
  • ด้านเกษตรกรรม หมายความรวมถึงอะไรบ้าง
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่น หมายความรวมถึงอะไรบ้าง
  • อยู่อาศัย
  • ที่ดินว่างเปล่า
6. ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่มีการใช้ประโยชน์หลายประเภทจะต้องเสียภาษีอย่างไร

7. ฐานในการคำนวณเพื่อเสียภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง
  • ราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน
  • ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง
  • ราคาประเมินทุนทรัพย์ห้องชุด
  • กรณีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างไม่มีราคาประเมินทุนทรัพย์ ต้องคำนวณมูลค่าวิธีใด
  • หน่วยงานที่มีหน้าที่ส่งบัญชีกำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด
  • การคำนวณฐานภาษีกรณีมีทรัพย์สินอื่น เช่น เครื่องจักร, อุปกรณ์ต่างๆ ในโรงงาน ติดตั้งกับที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้าง
8. เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ในการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • การประกอบเกษตรกรรมที่จะได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี 50 ล้านบาทมีกรณีใดบ้าง
  • ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย มีหลักเกณฑ์อย่างไร จะได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี 50 ล้านบาท
  • เงื่อนไขการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี 10 ล้านบาท เจ้าของสิ่งปลูกสร้างไม่ใช่เจ้าของที่ดิน
  • “เหตุจำเป็น” ใดบ้างที่กฎหมายสามารถยกเว้นหลักเกณฑ์บางข้อได้
9. อัตราภาษี และวิธีการคำนวณภาระภาษีที่ต้องเสียในแต่ละปี
9.1 กรณีเป็นที่ดินไม่มีสิ่งปลูกสร้าง
9.2 กรณีเป็นที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
9.3 กรณีเป็นห้องชุด
9.4 Update อัตราภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะจัดเก็บในปี 2566
  • ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประกอบเกษตรกรรม
  • ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้สำหรับอยู่อาศัย และมีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • เฉพาะสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้สำหรับอยู่อาศัย และมีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้อยู่อาศัยแบบอื่นๆ เช่น บ้านหลังที่ 2
  • ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์อื่นนอกจากเกษตรกรรม หรืออยู่อาศัย
10.การคิดค่าเสื่อมราคาของสิ่งปลูกสร้าง

11.ข้อควรรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับอัตราภาษีสำหรับที่ดินที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า
  • ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างทิ้งไว้ว่างเปล่า หรือไม่ได้ทำประโยชน์ ต้องทิ้งร้างติดต่อกันกี่ถึงถูกเรียกเก็บภาษีและเรียกเก็บตั้งแต่ปีใด อัตราเท่าไหร่
  • หลักเกณฑ์ที่ต้องทราบ เมื่อถูกเรียกเก็บภาษีเพิ่มจากที่ดิน หรือสิ่งปลูกสร้างที่ทิ้งไว้ว่างเปล่า
12.การประเมินภาษี การชำระภาษี และการขอคืนภาษี
  • กำหนดเวลาชำระภาษีตามกฎหมายที่ดินฉบับใหม่
  • สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี และชำระภาษี
  • วิธีการชำระภาษี (ชำระ ณ องค์กรปกครองท้องถิ่น, ชำระผ่านทางไปรษณีย์, โอนผ่านธนาคาร) ถือวันใดเป็นวันชำระภาษี
  • เงื่อนไขการขอผ่อนชำระภาษีเป็นงวด
  • ระยะเวลาการยื่นคำร้องขอคืนภาษี และเวลาในการติดต่อขอรับเงินคืน
13.ปัจจุบันมีการลดและยกเว้นภาษีอย่างไร จะขยายเวลาลดอัตราภาษีต่อหรือไม่
  • ความสัมพันธ์ระว่าง “เจ้าของที่ดิน” กับ “เจ้าของสิ่งปลูกสร้าง” ที่มีผลต่อการได้รับยกเว้นภาษี
  • มีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างอยู่หลายพื้นที่ ได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ อย่างไร
14.ภาษีค้างชำระ เบี้ยปรับเงินเพิ่ม
  • ผลการค้างชำระภาษีกับการจดทะเบียนสิทธิ์ หรือทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้าง

15.การคัดค้านและการอุทธรณ์การประเมินภาษี

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand)หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

 
 
 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ประภาศ คงเอียด

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba