ปัญหาภาษีที่เกิดจาก Stock สินค้าขาด-เกิน จากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ พร้อมแนวทางแก้ไขเมื่อสรรพากรเข้าตรวจแบบไม่ทันตั้งตัว (จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM)

รหัสหลักสูตร : 21/01149Z

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 3,745 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,280 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


ปัญหาภาษีที่เกิดจาก Stock สินค้าขาด-เกิน จากรายงานสินค้าและ
วัตถุดิบ พร้อมแนวทางแก้ไขเมื่อสรรพากรเข้าตรวจแบบไม่ทันตั้งตัว

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม. 
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม. 

 

• ทางออกปัญหาการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร
• ข้อควรระวัง!! และเทคนิคการนับ Stock พร้อมแนวทางการแก้ปัญหา Stock ขาด-เกิน
• ถ้าสรรพากรเข้าตรวจนับ Stock โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้า ต้องปฎิบัติอย่างไร

วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

หัวข้อสัมมนา

1.อย่างไรถือเป็นสินค้าตามประมวลรัษฎากร

2.การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร

   - การลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร

   - บริษัทนำสินค้าฝากไว้กับตัวแทนจำหน่ายต้องทำ Stock หรือไม่

   - ได้รับสินค้ามาฟรีต้องลง Stock หรือไม่

   - โปรแกรม Software ที่ใช้ในกิจการ ต้องทำ Stock ด้วยหรือไม่

   - สำนักงานใหญ่ขายสินค้าแต่ของอยู่ที่สาขา สำนักงานใหญ่ต้องทำ Stock หรือไม่

   - ใช้บริการฝากสินค้าไว้ที่ Warehouse โดยให้ Warehouse นำส่งสินค้าให้ลูกค้าของบริษัท
ตาม order บริษัทต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่

   - ฝากสินค้าไว้กับผู้ขายเพราะเกรงว่าบริษัทจะถูกน้ำท่วมบริษัทต้องทำ Stock หรือไม่ ภายหลังปรากฏว่าบริษัทผู้ขายถูกน้ำท่วมทำให้สินค้าที่ฝากไว้เสียหายทั้งหมด บริษัทต้องปฏิบัติอย่างไร

   - นำสินค้าไปใช้ในกิจการต้องบันทึกเป็นทรัพย์สินหรือไม่และต้องนำส่ง VAT หรือไม่

3.นำสินค้าที่ไม่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพไปขายต่ำกว่าราคาตลาดได้หรือไม่

   - สินค้าที่เสื่อมคุณภาพ ล้าสมัย หมดสมัยนิยม ต้องทำ Stock แยกหรือไม่

   - ถ้าจะขายต่ำกว่าราคาตลาดต้องปฏิบัติอย่างไรและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ

   - วัตถุดิบหายระหว่างผลิตต้องนำส่งภาษีขายราคาใด (ราคา FG หรือ RM)

4.กรณีมีหลายสาขา สาขาหนึ่ง STOCK เกิน อีกสาขาหนึ่ง STOCK ขาด สามารถหักกลบกันได้หรือไม่ สรรพากรยอมรับหรือไม่

5. สินค้าที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม ไฟไหม้ ภัยพิบัติ ทำประกันภัยไว้จะตัดออกจาก Stock ได้ทันทีหรือไม่

   - สินค้าที่เสียหายยกให้กับบริษัทประกันถือเป็นการขายหรือไม่และต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่
ใช้ราคาใด

   - สินค้าที่จมน้ำหายไปตัดออกจาก Stock ได้เลยหรือไม่

   - ถ้าได้รับค่าสินไหมทดแทนเกินกว่าความเสียหาย ส่วนเกินที่ได้รับยกเว้นหรือไม่

6.ปัญหาการนำสินค้าไปลด แลก แจก แถม ทดลองใช้ ส่งเสริมการขาย

   - นำสินค้าไปลด แลก แจก แถม ต้องทำ Stock แยกต่างหากหรือไม่

   - สินค้าที่ให้ลูกค้าทดลองใช้ต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่

   - แจกสินค้าตัวอย่างที่มีขนาดและปริมาณเท่ากันกับสินค้าที่ขายต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่

   - นำสินค้าไปออกบูธตามห้างสรรพสินค้าเพื่อให้ลูกค้าลองชิมต้องนำส่งภาษีขายหรือไม่

7.ประเด็นปัญหาสินค้าคงเหลือและปัญหาจากการตรวจนับ

   - สินค้าขาด-เกินจากรายงานสินค้า

   - สินค้าขาดจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบต้องถือเป็นรายได้กรอกแบบภ.ง.ด.50 หรือไม่

   - ระบุจำนวนสินค้าสลับชนิด, ประเภท

   - ตรวจนับสินค้าสลับชนิดและประเภทของสินค้า

   - การตีราคาสินค้าคงเหลือตอนสิ้นปีผลต่างที่เกิดขึ้นลงรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่

8.Workshop Spreadsheet การตีราคาสินค้าคงเหลือเพื่อกรอกแบบ ภ.ง.ด.50

   - การตีราคาสินค้าคงเหลือตอนสิ้นปีผลต่างที่เกิดขึ้นลงรายจ่ายของบริษัทได้หรือไม่

9.เอกสารที่ใช้ในการตัด Stock

   - ใช้ใบกำกับภาษีตัด Stock ได้หรือไม่

   - นำสินค้าไปใช้ในกิจการต้องออกใบกำกับภาษีเพื่อตัดออกจาก Stock หรือไม่

   - สินค้าถูกขโมยจะใช้เอกสารใดในการตัดออกจาก Stock

10.ข้อควรระวังในการตรวจนับ

   - แนวทางแก้ไขเพื่อลดปัญหาสต๊อกขาด-เกินจากรายงาน

   - ความสำคัญในการคัดเลือกพนักงานที่ทำหน้าที่ตรวจนับสินค้า

   - ถ้าตรวจพบว่าสินค้าไม่ตรงกับรายงานก่อนสรรพากรเข้าตรวจต้องปฏิบัติอย่างไร

11.การทำลายสินค้าหรือทรัพย์สินของบริษัท

   - การทำลายทรัพย์สินที่มีตัวตนและไม่มีตัวตนต้องแจ้งสรรพากรหรือไม่

   - สินค้าที่เสื่อมคุณภาพแต่ยังสามารถขายเป็นเศษซากได้ถ้าบริษัทจะทำลายโดยไม่ต้องการขายทำได้หรือไม่ สรรพากรจะยอมรับหรือไม่

12.ข้อบ่งชี้ที่ทำให้สรรพากรเข้าตรวจนับสินค้า

13.ถ้าสรรพากรเข้าตรวจนับ Stock โดยไม่ได้แจ้งล่วงหน้าต้องปฏิบัติอย่างไร

14.บทกำหนดโทษกรณีสินค้าขาด-เกินจากรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

   - สินค้าขาด

   - สินค้าเกิน

   - สินค้ามีทั้งขาดและเกิน

 

เงื่อนไขการเข้าอบรม
1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User
2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที
3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน
4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม
5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม

หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม
เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี

** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

จัดอบรมออนไลน์ผ่าน ZOOM (ผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี นับชั่วโมงได้)
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba