โครงการอบรมนักบัญชียุคดิจิทัล (IT-Accounting in Practice)

รหัสหลักสูตร : 21/05248P

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 26,750 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 28,890 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 
โครงการอบรมนักบัญชียุคดิจิทัล (IT-Accounting in Practice)

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 24 อื่นๆ 12 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 24 อื่นๆ 12 ชม.


• รวมหลักสูตรพัฒนาทักษะดิจิทัล และ IT ที่สำคัญสำหรับนักบัญชี
• เข้าใจขั้นตอนระบบบัญชีดิจิทัลและโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่เหมาะสมกับกิจการ
• ฝึกปฏิบัติ Data Analytics สำหรับงานบัญชี การวิเคราะห์งบการเงินและสร้างรายงานทางบัญชีอย่างมีประสิทธิภาพ

บรรยายโดย ผศ.สุรัตน์ ลีรัตนชัย, ดร.อรัญญา นาคหล่อ, ดร.พรพรรณ ดำรงค์สุขนิวัฒน์ และ อ.วีระยุทธ คชศิลา

Section 1 : Data Analytics for Accounting การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการประยุกต์ใช้ในงานบัญชี (2 วัน)

หัวข้อสัมมนา

1. ความสำคัญของ Data Sciences, Big Data และ Data Analytics ในงานบัญชี

2. การนำ Big Data ขององค์กรและหน่วยงานต่างๆ มาใช้ประโยชน์ในงานบัญชี เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลตัวเลขได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3. Data Analytics การวิเคราะห์ข้อมูลกับงานบัญชีการเงินในปัจจุบัน พร้อมตัวอย่างการใช้งานจริง
3.1 วางแผนงบการเงิน และวางแผนภาษีได้อย่างเหมาะสม สำหรับงานบัญชีการเงิน
3.2 วิเคราะห์โครงสร้าง และองค์ประกอบของต้นทุนการผลิต สำหรับงานบัญชีต้นทุน
3.3 วางแผน ควบคุม ตัดสินใจ การลงทุนสินทรัพย์ถาวร และพยากรณ์งบการเงิน สำหรับงานบัญชีบริหาร
3.4 ตรวจสอบและป้องกันการทุจริต จากความผิดปกติของข้อมูล สำหรับงานตรวจสอบและควบคุมภายใน
3.5เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบความผิดปกติของรายการได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วสำหรับงานสอบบัญชี

4. ประเภทและรูปแบบของ Data Analytics ที่บัญชีต้องทราบ
4.1 การวิเคราะห์ข้อมูลแบบพื้นฐาน (Descriptive Analysis)
4.2 การวิเคราะห์แบบเชิงวินิจฉัย (Diagnostics Analysis)
4.3 การวิเคราะห์เชิงพยากรณ์ (Predictive Analysis)
4.4 การวิเคราะห์แบบให้คำแนะนำ (Prescriptive Analysis)


5. ขั้นตอนการทำ Data Analytics สำหรับงานบัญชี

5.1 การจัดทำ Data Cleansing เพื่อจัดเตรียมข้อมูลในการวิเคราะห์ข้อมูลบัญชีด้วยโปรแกรม Excel, Google Sheet, VBA, SQL ฯลฯ
5.2 การใช้เครื่องมือในการช่วยจัดทำ Data Analytics เช่น โปรแกรม PowerBI, Google Data Studio, Excel
5.3 การวิเคราะห์โครงสร้างของฐานข้อมูลและการสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูล (Relational Data Model)
5.4 การเลือกรูปแบบการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เหมาะสม เช่น ตารางข้อมูล แผนภูมิ การสร้างสูตรการคำนวณ อัตราส่วน ฯลฯ
5.5 การวิเคราะห์ข้อมูลรูปแบบต่างๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่างๆ เช่น การวิเคราะห์กลยุทธ์การขายจากยอดขาย ประสิทธิภาพของการวางระบบบัญชี  การพยากรณ์ยอดขาย ฯลฯ

6. ความคุ้มค่าและการลงทุนในการเลือกซื้อ Software สำหรับการทำ Data Analytics ในงานบัญชี


7. กรณีศึกษา Data Analytics for Accounting

8. ฝึกปฏิบัติ Data Analytics for Accounting
8.1 การใช้ Excel เป็นเครื่องมือสำหรับ Data analytics ในงานบัญชีการเงิน
8.2 การใช้เครื่องมือสำหรับ Data analytics ในงานบัญชีการเงิน
8.3 กรณีศึกษาการจัดทำ Data Cleansing สำหรับงานบัญชีและการเงิน
8.4 กรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลการขาย ต้นทุนขาย และกำไรขั้นต้น
8.5 กรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เพื่อหาความผิดปกติของข้อมูล
8.6 กรณีศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลต้นทุนการผลิตสินค้า
8.7 กรณีศึกษาการพยากรณ์ข้อมูลทางการเงินสำหรับปีอนาคต
8.8 กรณีศึกษาการสร้างรายงานในรูปแบบต่างๆ เช่น ตารางข้อมูล แผนภูมิ
8.9 การจัดทำข้อเสนอแนะจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ

9. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

Section 2 : Pivot Table Excel เพื่อการสร้างรายงานทางบัญชี (Workshop)

หัวข้ออบรม

1. การใช้งาน Pivot Table Excel จัดการข้อมูลบัญชี เพื่อนำไปวิเคราะห์และสรุปผลข้อมูล

2. เทคนิคการใช้งาน Pivot Table Excel
    2.1 การรวมกลุ่มข้อมูลเข้าด้วยกัน
    2.2 การแยกข้อมูลทั้งแบบรายเดือน รายไตรมาส และรายปี
    2.3 การแสดงความแตกต่างของตัวเลขเมื่อเทียบกับฐานด้วยฟังก์ชั่น Difference From
    2.4 การสร้างแถวข้อมูลใหม่ Calculated Item
    2.5 การเรียงข้อมูลจากน้อยไปหามาก
    2.6 การแสดงข้อมูลสะสมด้วยฟังก์ชั่น Running Total in และ %Running Total in

3. การนำเสนอข้อมูลทางบัญชีด้วยการสร้าง Chart รูปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับข้อมูลแต่ละประเภท

4. สร้างรายงานทางบัญชีรายเดือน รายไตรมาส และรายปี

5. การจัดทำบัญชีแยกประเภท GL และสรุปผลต่างของยอดขายด้วยการกรองและแยกประเภทข้อมูล

6. การสร้าง Dashboard เพื่อเพิ่มมุมมองต่างๆ สำหรับใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

7. คุณธรรม จริยธรรม และจรรณยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

Section 3 : นักบัญชีกับการเลือกใช้ Accounting Software / ERP in Accounting ให้เหมาะสมกับธุรกิจ

หัวข้ออบรม

1. ความสำคัญของการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชีให้เหมาะสมกับธุรกิจ

2. แนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี

3. ทำความรู้จัก Accounting Software / ERP in Accounting ที่ใช้ในปัจจุบันและองค์ประกอบหลัก

4. Update Trend Technology Software ทางการบัญชี

5. เปรียบเทียบจุดเด่น - ข้อจำกัด ของ Accounting Software / ERP in Accounting แต่ละโปรแกรม

6. วิธีประเมินการใช้งาน Accounting Software / ERP in Accounting ให้เชื่อมโยงกับการวางระบบบัญชีขององค์กร

7. แนวทางในการพัฒนา Accounting Software / ERP in Accounting กับการทำงานบัญชีในอนาคต

8. เทคนิคการเลือก Accounting Software / ERP in Accounting และผู้จัดจำหน่ายให้สอดคล้องกับงานบัญชีและธุรกิจ

9. ความสำเร็จและผลลัพธ์ ของการใช้ Accounting Software / ERP in Accounting ที่เหมาะสม

10. แนวทางการแก้ไข หากเลือกใช้ ระบบ Accounting Software / ERP in Accounting ผิดพลาด

11. การนำเสนอ ระบบ Accounting Software / ERP in Accounting ต่อผู้บริหาร เพื่อของบประมาณเพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการทำงานบัญชี

12. Case Study Matching Business to Accounting Software / ERP in Accounting
(ประเมินองค์กรเพื่อการตัดสินใจเลือกใช้ Accounting Software / ERP in Accounting ให้มีประสิทธิภาพ)

Section 4 : การวิเคราะห์งบการเงินเชิงปฏิบัติการ (Excel Workshop)

หัวข้ออบรม
1.บทบาทหน้าที่ของนักบัญชีกับการวิเคราะห์งบการเงินในสถานการณ์ปัจจุบัน

2.ส่วนประกอบของงบการเงินที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 1 เรื่อง การนำเสนองบการเงิน
    2.1 งบฐานะการเงิน
    2.2 งบกําไรขาดทุนและกําไรขาดทุนเบ็ดเสร็จ
    2.3 งบการเปลี่ยนแปลงส่วนของเจ้าของ
    2.4 งบกระแสเงินสด
    2.5 หมายเหตุประกอบงบการเงิน

3.เครื่องมือและเทคนิคในการวิเคราะห์งบการเงิน
    3.1 การวิเคราะห์ขนาดร่วม (Common-size Analysis) หรือการวิเคราะห์แนวตั้ง (Vertical Analysis)
    3.2 การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) หรือ การวิเคราะห์แนวนอน (Horizontal Analysis)
    3.3 การวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ (Ratio Analysis)
       - การวิเคราะห์สภาพคล่อง (Liquidity Analysis)
       - การวิเคราะห์ความสามารถในการทำกำไร (Profitability Analysis)
       - การวิเคราะห์ความสามารถในการบริหารสินทรัพย์ (Asset Utilization Analysis)
       - การวิเคราะห์ความสามารถในการชําระหนี้ (Solvency Analysis)
       - การวิเคราะห์มุมมองของตลาด (Market Perspective Analysis)

4. ตัวอย่างการวิเคราะห์งบการเงินขั้นพื้นฐาน (Excel workshop)

5. รายงานอื่นๆ ที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์งบการเงิน

6. ข้อจำกัดและข้อควรระวังในการวิเคราะห์งบการเงิน

7. คุณภาพกำไรและการตกแต่งงบการเงิน

8. คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

Section 5 : กระบวนการและขั้นตอนของระบบบัญชีดิจิทัล (Digital Accounting)

หัวข้ออบรม
1. เปรียบเทียบความเหมือนและความต่างของระบบงานบัญชีดิจิทัลและบัญชีกึ่งดิจิทัล


2. ภาพรวมและโครงสร้างของระบบงานบัญชีดิจิทัล

3. แนวคิดเกี่ยวกับการบันทึกบัญชีอัตโนมัติ (Automatic account recording)

4. องค์ประกอบและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องในระบบงานบัญชีดิจิทัล

5. ตัวอย่างเทคโนโลยีที่สำคัญในระบบบัญชีดิจิทัล

6. การเริ่มต้นเข้าสู่ระบบบัญชีดิจิทัลที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในการทำงานจริง
    6.1 การวิเคราะห์ธุรกิจ
    6.2 การวิเคราะห์กระบวนการในงานบัญชี การเงิน และภาษี
    6.3 การวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข
    6.4 การวิเคราะห์เครื่องมือ
    6.5 การออกแบบและปรับปรุงระบบเพื่อเข้าสู่บัญชีดิจิทัล
    6.6 การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบบัญชีดิจิทัล
    6.7 การออกแบบแผนงาน ขั้นตอนการเริ่มต้นเข้าสู่ระบบบัญชีดิจิทัล

7. กระบวนการและขั้นตอนการบันทึกบัญชีดิจิทัล

8. ระบบการจัดการข้อมูลที่เหมาะสมเพื่อรองรับการปฏิบัติงานออนไลน์ และการควบคุมความเสี่ยงเรื่องการจัดเก็บข้อมูล

9. Case Study ตัวอย่างการทํางานของระบบบัญชีดิจิทัล

10. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
24:0 12:0 24:0 12:0

วิทยากร

ผศ.สุรัตน์ ลีรัตนชัย
ดร.อรัญญา นาคหล่อ
ดร.พรพรรณ ดำรงค์สุขนิวัฒน์
อ.วีระยุทธ คชศิลา

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba