- เทคนิคการจัดการความเสี่ยงบัญชีเจ้าหนี้การค้า การรับรู้บัญชีเจ้าหนี้
- การวิเคราะห์ความผิดปกติของเจ้าหนี้ การวางระบบและ การบันทึกรายการค่าใช้จ่าย เจ้าหนี้
- การจัดประเภทรายการเจ้าหนี้ การจัดทำรายงานเจ้าหนี้ การควบคุมภายในการจ่ายชำระหนี้
วิทยากรโดย อาจารย์รุจิรัตน์ ปาลีพัฒน์สกุล
หัวข้อสัมมนา
1. ความสำคัญของการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงบัญชีเจ้าหนี้การค้า 1.1 ความแตกต่างระหว่างเจ้าหนี้การค้าและเจ้าหนี้อื่น 1.2 การวิเคราะห์และจัดประเภทรายการเจ้าหนี้หมุนเวียน และเจ้าหนี้ไม่หมุนเวียนในงบการเงิน 1.3 ขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับบัญชีเจ้าหนี้ 1.4 ผังทางเดินของเอกสารการซื้อและการจ่ายชำระเงิน 1.5 การออกแบบผังบัญชีที่ใช้ในการบันทึกรายการที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่าย และเจ้าหนี้ 1.6 การวางระบบบัญชีเจ้าหนี้ กระบวนการตรวจสอบการรับสินค้าและเอกสาร (GR/IR)
2. การประเมินความเสี่ยงจากบัญชีเจ้าหนี้ 2.1 เงื่อนไขการขึ้นทะเบียนเจ้าหนี้ หรือการขึ้นทะเบียนผู้ขาย (Approved Vendor List : AVL) 2.2 การวิเคราะห์งบการเงินของเจ้าหนี้เพื่อประเมินความเสี่ยงเบื้องต้น 2.3 การจัดทำรายงานเจ้าหนี้ และการวิเคราะห์ความผิดปกติของรายงานเจ้าหนี้ 2.4 นโยบายการคัดเลือก และประเมินผู้ขาย เพื่อลดความเสี่ยงผลกระทบของเจ้าหนี้ต่อกิจการ
3. การรับรู้รายการบัญชีเจ้าหนี้การค้าและประเด็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อ ความน่าเชื่อถือของงบการเงิน 3.1 การวิเคราะห์ประเภทรายการค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนขายหรือต้นทุนบริการ ค่าใช้จ่ายในการขาย ค่าใช้จ่ายในการบริหาร และค่าใช้จ่ายอื่น ให้สัมพันธ์กับบัญชีเจ้าหนี้การค้า และเจ้าหนี้อื่น 3.2 ความไม่สอดคล้องของเอกสารและการรับรู้ค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์คงค้างทางบัญชี 3.3 การรับรู้บัญชีเจ้าหนี้ กรณีซื้อสินค้าหรือการใช้บริการจากเจ้าหนี้ในต่างประเทศ 3.4 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้ ไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์หรือไม่มีเอกสารที่มีผลต่อการบันทึกบัญชี 3.5 การตรวจสอบความสอดคล้องของใบส่งสินค้าชั่วคราว กับเอกสารใบกำกับภาษี หรือ ใบแจ้งหนี้ 3.6 การบันทึกบัญชีค่าใช้จ่ายและบัญชีเจ้าหนี้ ก่อนการรับสินค้าหรือการใช้บริการ และการบันทึกบัญชีเจ้าหนี้ก่อนได้รับเอกสารใบกำกับภาษีหรือใบแจ้งหนี้ 3.7 การจ่ายเงินมัดจำค่าสินค้าหรือค่าบริการ การชำระเงินค่าสินค้าหรือค่าบริการล่วงหน้า 3.8 การชำระเงินเจ้าหนี้ กรณีจ่ายชำระบางส่วน (Partial) การชำระเงินให้เจ้าหนี้ขาด (เกิน) 3.9 การลดหนี้จากการคืนสินค้า การเคลมสินค้า หรือยกเลิกบริการ 3.10 การจ่ายชำระเงินให้เจ้าหนี้ต่างประเทศ และการรับรู้ผลต่างของอัตราแลกเปลี่ยนของบัญชีเจ้าหนี้กับการจ่ายชำระเงิน 3.11 การตรวจสอบความผิดปกติบัญชีพัก Suspense account ด้านการซื้อด้านเจ้าหนี้ และการจ่ายชำระ 3.12 การบันทึกบัญชีเกี่ยวกับการหักภาษี ณ ที่จ่ายของเจ้าหนี้ ที่ไม่สอดคล้องกับวันที่จ่ายชำระเงิน
4. การควบคุมภายในเกี่ยวกับการจ่ายชำระหนี้ 4.1 การตรวจสอบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อสินค้า การใช้บริการ การตรวจสอบความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของเอกสาร 4.2 การตรวจสอบหลักฐานการสั่งซื้อ การรับคำสั่งซื้อ การส่งสินค้า และการใช้บริการ 4.3 เงื่อนไขการรับวางบิล (Bill Acceptance) และเอกสารประกอบการรับวางบิล 4.4 การเตรียมการจ่ายชำระเงินเจ้าหนี้ (Pre-Payment) 4.5 จุดสำคัญหลักการอนุมัติโดยผู้มีอำนาจ การกำหนดวงเงิน ระดับการอนุมัติ พร้อมการบันทึกและตรวจสอบการอนุมัติอย่างชัดเจน 4.6 การควบคุมภายในการจ่ายชำระเงินเจ้าหนี้ เช่น การจ่ายเช็ค การออกตั๋วสัญญาใช้เงิน (P/N) การชำระเงินผ่านระบบ T/T หรือ Media Clearing และอื่นๆ 4.7 การติดตามเอกสารใบเสร็จรับเงินหลังการจ่ายชำระหนี้เจ้าหนี้
5. Workshop จากกรณีศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงจากบัญชีเจ้าหนี้ 5.1 การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงจากงบการเงินของเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาผลกระทบต่อกิจการ 5.2 การวิเคราะห์ระยะเวลาการจ่ายชำระหนี้ และการบริหารสภาพคล่อง 5.3 การประเมินอัตรากำไรเพื่อการต่อรองราคา
6.คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
|