สูตรสำเร็จการปรับปรุงแก้ไขเอกสารรายจ่าย ชัดเจนตรงประเด็นภาษี

รหัสหลักสูตร : 21/2390

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

สูตรสำเร็จการปรับปรุงแก้ไขเอกสารรายจ่ายชัดเจนตรงประเด็นภาษี

หัวข้อสัมมนา

1. เอกสารรายจ่ายตามหลักเกณฑ์ทางบัญชีและภาษีอากร มถึงอุปกรณอิเล็กทรอนิกสทุกชนิด
2. เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีมีอะไรบ้าง
3. เอกสารตามประมวลรัษฎากรที่กิจการจะต้องจัดทำ และข้อควรระมัดระวัง
4. การกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเบิกจ่ายเงินให้ถูกต้องตรงประเด็นภาษีอากร
5. การกำหนดระเบียบการเบิกจ่าย และการเบิกเงินทดรองจ่ายอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
6. อะไรคือหลักเกณฑ์เงื่อนไขของเอกสารรายจ่ายที่เจ้าพนักงานประเมินยอมรับ
7. เมื่อกิจการจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ จะต้องพิจารณาอย่างไรให้เอกสารนั้นถือเป็นรายจ่ายได้ถูกต้องตามภาษีอากรโดยไม่ต้องบวกกลับ
8. อะไรคือหลักฐานการจ่ายเงินที่สรรพากรยอมรับ
9. กิจการสามารถใช้เอกสารอื่นใดได้บ้างนอกจากใบเสร็จรับเงิน บิลเงินสด ใบกำกับภาษี
10. กรณีกิจการจ่ายเงินไปแล้ว แต่ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ ต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องตามประมวลรัษฎากร
11. กิจการโอนเงินเข้าบัญชีให้ผู้รับเงิน แต่ผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานให้ กิจการจะใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
12. กิจการจ่ายเช็คให้แก่ผู้รับเงิน แต่ไม่มีหลักฐานบิลเงินสดหรือใบเสร็จรับเงิน จะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
13. บิลเงินสดที่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้รับเงิน จะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ มีวิธีปฏิบัติอย่างไร
14. การโอนเงินระบบ Online ไม่มีใบเสร็จรับเงินหรือบิลเงินสด กิจการจะใช้เอกสารใดให้ถือเป็นรายจ่ายได้
15. พนักงานเบิกเงินทดรองจ่ายของกิจการ จ่ายค่าใช้จ่ายแทนกิจการแต่ไม่มีใบเสร็จรับเงินกิจการให้พนักงานเซ็นรับเงินแทนจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
16. กิจการควรจะกำหนดการเบิกเงินทดรองจ่ายอย่างไร ไม่ให้ถูกโต้แย้งว่าเป็นการกู้ยืมเงิน
17. กรณีค่ารถ ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง
17.1 ค่าพาหนะ ค่ารถแท็กซี่ ค่ามอเตอร์ไซด์รับจ้าง กิจการควรใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
17.2 กรณีที่กิจการจ่ายเงินซื้อตั๋วเครื่องบินจะต้องใช้เอกสารใดให้ถูกต้อง
17.3 ค่ารถเมล์ เรือข้ามฟากต้องใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
17.4 คูปองทางด่วน บัตรเติมเงิน (Easy Pass) ต้องมีหลักฐานอื่นแนบประกอบการเบิกจ่ายเงินหรือไม่
17.5 ค่ารถไฟ รถไฟฟ้า จะต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ ถ้าไม่มีถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
17.6 การเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงาน จะต้องใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
17.7 ค่าเบี้ยเลี้ยงพนักงาน ถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่ หลักเกณฑ์มีอย่างไรบ้าง
17.8 ค่าที่จอดรถ ใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชี
18. ค่านํ้ามันรถยนต์
18.1 รถยนต์นั่ง หรือ รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร
18.2 ภาษีซื้อที่เกิดจากรถยนต์อย่างไรจึงจะขอคืนได้ อย่างไรจึงจะถือเป็นค่าใช้จ่าย
18.3 เติมนํ้ารถยนต์ ต้องขอใบกำกับภาษีอย่างไร
18.4 บิลนํ้ามันต้องมีเลขทะเบียนรถหรือไม่ ถ้าไม่มีจะมีผลอย่างไร
18.5 ใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษความร้อน ต่อมาซีดจางลงอ่านไม่ออก จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่
18.6 กิจการให้พนักงานนำรถส่วนตัวมาใช้ในงานของกิจการ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับรถยนต์ของพนักงานมีอะไรบ้างที่ถือเป็นรายจ่ายได้
18.7 กิจการจ่ายค่าซ่อมรถยนต์ ค่าเปลี่ยนยางรถยนต์ ค่าต่อทะเบียนรถ ค่าประกันภัยรถให้กับพนักงานถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
19. ค่าไปรณียากรและค่าอากรแสตมป์
19.1 ซื้อแสตมป์ส่งจดหมายต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่
19.2 ส่งพัสดุไปรษณีย์ จดหมายลงทะเบียน จดหมาย EMS อะไรคือหลักฐานการจ่ายเงิน
19.3 ซื้ออากรแสตมป์ต้องมีใบเสร็จรับเงินหรือไม่ ต้องมีเอกสารประกอบอื่นหรือไม่
20. ค่ารับรองหรือค่า Entertain
20.1 กำหนดงบ Entertain เป็นรายเดือนให้กับผู้บริหาร ผู้จัดการ จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่และถือเป็นเงินได้ของผู้บริหาร
ผู้จัดการหรือไม่
20.2 ค่าเลี้ยงรับรองทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องบวกกลับ
20.3 กิจการเลี้ยงรับรองบุคคลอื่นที่ไม่ใช่ลูกค้า จะถือเป็นค่ารับรองได้หรือไม่
20.4 กิจการออกตั๋วเครื่องบินและค่าที่พักให้ลูกค้าเดินทางมาติดต่อธุรกิจกับกิจการ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
20.5 การให้สิ่งของกับลูกค้าต้องไม่เกินคนละ 2,000 บาท มีหลักเกณฑ์อย่างไร ต้องให้ลูกค้าเซ็นรับของหรือไม่
20.6 ค่ารับรองที่จะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่เปิน 0.3% มีหลักเกณฑ์อย่างไร
20.7 บิลค่ารับรองที่ไม่ระบุชื่อของกิจการเป็นผู้จ่ายเงิน จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
20.8 กิจการรับรองลูกค้าจะต้องระบุชื่อลูกค้าที่พาไปรับรองหรือไม่
20.9 กิจการเลี้ยงรับรองอาหารให้แก่ลูกค้าเป็นเงิน 10,000 บาท ถือเป็นรายจ่ายค่ารับรองได้หรือไม่ ต้องบวกกลับหรือไม่
20.10 กิจการจ่ายค่าสมาชิกสโมสร สปอร์ตคลับ หรือนันทนาการต่าง ๆ ให้กับผู้บริหารจะถือเป็นค่าใช้จ่ายประเภทใด
21. รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณะ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬา
21.1 กิจการควรจะวางระบบบัญชีในการบริจาคอย่างไรให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร
21.2 การบริจาคจะต้องใช้เอกสารใดประกอบการบริจาคให้สรรพากรยอมรับ
21.3 กิจการประสบผลขาดทุน จะนำค่าบริจาคมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
21.4 บริจาคอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นจากที่จ่ายจริง
21.5 ซื้อบัตรการกุศลจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน
22. ปัญหารายจ่ายค่าสาธารณูปโภค
22.1 การจ่ายค่านํ้า ค่าไฟฟ้า และค่าโทรศัพท์ ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่
22.2 กิจการให้พนักงานนำโทรศัพท์มือถือส่วนตัวมาใช้ในงานของกิจการ บิลค่าโทรศัพท์มือถือของพนักงานจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
22.3 หากกิจการกำหนดให้พนักงานเบิกค่าโทรศัพท์มือได้เดือนละ 500 บาท ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่และต้องมีเอกสารประกอบการจ่ายเงิน
22.4 กิจการซื้อโทรศัพท์มือถือให้ผู้บริหาร หรือ พนักงานใช้ จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
23. ปัญหาการจ่ายค่าขนส่ง
23.1 อย่างไรถือเป็นค่าขนส่ง
23.2 กรณีการขายสินค้าพร้อมค่าขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
23.3 กรณีการบริการพร้อมขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างให้ถูกต้อง
23.4 หลักการพิจารณากรณีใดถือเป็นค่าเช่า กรณีใดถือเป็นค่าขนส่งระหว่างการเช่ารถกับค่าขนส่ง
23.5 เช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร และเอกสารระบุแยกหรือรวมบนบิลใบเดียวกัน แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง
24. ปัญหาของ “ใบกำกับภาษี”
24.1 ประเภทของใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
24.2 แบบพิมพ์ใบกำกับภาษีมีกี่รูปแบบ แนวปฏิบัติที่สำคัญ
24.3 ใบกำกับภาษีใช้เป็นหลักฐานการรับเงินหรือจ่ายเงินได้หรือไม่
24.4 ใบกำกับภาษีจะต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของผู้ซื้อหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ใหม่ มีผลบังคับใช้อย่างไร
24.5 ใบกำกับภาษีจะต้องระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขาที่ออกใบกำกับภาษีหรือไม่ ตามหลักเกณฑ์ใหม่มีผลบังคับใช้อย่างไร
24.6 ใบกำกับภาษีที่มีการขีดฆ่าแก้ไขขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ และถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่
24.7 ใบกำกับภาษีเขียนจำนวนเงินตัวอักษรผิดมีการขีดฆ่าและเซ็นชื่อกำกับ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่
24.8 “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่
24.9 “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ” บนใบกำกับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่
24.10 “เลขประจำตัวผู้เสียภาษี ของผู้ขาย” ไม่ใช่เลข 13 หลัก กิจการจะขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่
24.11 “เล่มที่” “เลขที่” ของใบกำกับภาษีใช้มือเขียน ใช้ตรายางประทับ ไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์จะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่
24.12 มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยส่วนราชการจะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่ หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง
24.13 มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยกิจการย้ายที่อยู่ ย้ายสำนักงาน จะใช้ใบกำกับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง
24.14 อย่างไรเรียกว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และข้อความที่ต้องมีบนเอกสารอะไรบ้าง
24.15 เขียนหรือพิมพ์ที่อยู่ของผู้ซื้อผิด หรือไม่ครบถ้วน ทำอย่างไรจึงจะขอภาษีซื้อคืนได้ จะต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ต้องเสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
24.16 กรณีลูกค้าไม่ให้ชื่อและที่อยู่ กิจการจะออกใบกำกับภาษีอย่างจึงจะถูกต้อง ไม่เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม
24.17 หลักเกณฑ์ออกใบกำกับภาษีกรณีมีสถานประกอบการหลายแห่ง
24.18 หากมีการยกเลิกใบกำกับภาษีแล้วออกใหม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร
24.19 การออกใบกำกับภาษีรวมการขายสินค้าหรือบริการหลายอย่าง
24.20 กรณีขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า แต่ลูกค้าไปเอาใบกำกับภาษี ต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
24.21 มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นใบกำกับภาษีปลอม
24.22 ขอภาษีซื้อคืนตามใบกำกับภาษีเต็มรูป แต่ต่อมาสรรพากรแจ้งว่า เป็นใบกำกับภาษีปลอม
24.23 ใบกำกับภาษีอย่างย่อจะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้
25. เอกสารประกอบการส่งเสริมการขาย
25.1 เอกสารประกอบการส่งเสริมการขายต้องมีอะไรบ้าง
25.2 การให้ส่วนลดแก่ลูกค้าต้องแสดงบนใบกำกับภาษีหรือไม่
25.3 ของแถมต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่ ทำอย่างไร
25.4 การนำสินค้าไปให้ลูกค้าทดลองใช้ต้องมีเอกสารประกอบอะไรบ้าง และเสียภาษีขายหรือไม่
25.5 ของแจกมีอะไรบ้าง และภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
26. เอกสารที่เกี่ยวกับสินค้าคงเหลือ
26.1 กิจการต้องใช้เอกสารใดที่ถูกต้องในการบันทึกในรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
26.2 การตรวจนับสินค้าและวัตถุดิบ ควรจะจัดทำรายงานประกอบอะไรบ้าง
26.3 สินชำรุด เสียหาย สูญหายต้องใช้เอกสารประกอบ
26.4 สินค้าขาดหรือเกินใช้เอกสารใดประกอบการลงรายงาน
27. ปัญหาของเอกสารรายจ่าย
27.1 สรรพากรมองอย่างไร เอกสารรายจ่ายของกิจการจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ และไม่ถูกประเมิน
27.2 “ชื่อ ที่อยู่ของผู้รับเงิน” ที่แสดงในหลักฐานการจ่ายเงินที่ออกให้โดยผู้รับเงิน สามารถกระทำโดยวิธีใดได้บ้าง
27.3 เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินจะต้องมี “ชื่อ ที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน” ด้วยหรือไม่
27.4 เขียนคำว่า “สด” หรือ “เงินสด” โดยไม่ต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้หรือไม่
27.5 ทำอย่างไรให้ “บิลเงินสด” ถือเป็นรายจ่ายได้ สรรพากรยอมรับ
27.6 ผู้ขายไม่ออกบิลให้ ใช้นามบัตรแทนได้หรือไม่ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้
27.7 หากผู้ขายไม่ออกบิลให้ กิจการสามารถทำใบรับเงินให้ผู้รับเงินเซ็นได้หรือไม่ ต้องแนบสำเนาบัตรประชาชนหรือไม่
27.8 หากกิจการให้ผู้ขายเซ็นรับเงินบนใบรับเงิน ทำอย่างไรที่จะลดข้อโต้แย้งของเจ้าพนักงานประเมินได้
27.9 หากผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้ จะใช้สำเนาเช็คหรือสำเนาใบโอนเงินแทนหลักฐานการจ่ายเงินได้หรือไม่และมีวิธีอื่นหรือใช้เอกสารอื่นได้หรือไม่
27.10 ทำอย่างไรจะทำให้ “ใบสำคัญจ่าย” เป็นหลักฐานการจ่ายเงินให้สรรพากรยอมรับ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร เงื่อนไขเอกสารรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ ไม่ต้องบวกกลับ
27.11 มีเอกสารการจ่าย แต่ทำไม่สรรพากรบอกเป็นรายจ่ายต้องห้าม
27.12 เอกสารรายจ่ายที่มีการขีดฆ่าแก้ไขเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่
27.13 ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของพนักงาน ระบุชื่อพนักงาน ไม่ระบุชื่อบริษัท ลงรายจ่ายได้หรือไม่
27.14 กิจการจ่ายเงินทดรองจ่ายแทนบริษัทในเครือ กิจการสามารถถือเป็นรายจ่ายของกิจการและภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่
28. ถาม-ตอบปัญหา

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์
53 Srinakarin Road, Nongbon, Pravet Bangkok, Nong Bon, Prawet, Bangkok 10250
โทรศัพท์ :
02 721 8400
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีสวนหลวง ร.9 ทางออกที่ 1 (ห่างจากสถานี 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba