เจาะลึกปัญหาการจัดทำรายงานสินค้า และวัตถุดิบ Stock Card

รหัสหลักสูตร : 21/2325

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

เจาะลึกปัญหาการจัดทำรายงานสินค้า และวัตถุดิบ Stock Card


หัวข้อสัมมนา

1 . ความหมายและประเด็นสำคัญของสินค้าคงเหลือ
- สินค้าสำเร็จรูป - งานระหว่างทำ - วัตถุดิบ
- วัสดุสิ้นเปลือง - ภาชนะบรรจุสินค้า - ของเสียและเศษซาก
2. อะไรบ้างที่จะต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- วัสดุสิ้นเปลืองใช้แล้วหมดไป จะต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่
- ภาชนะบรรจุสินค้า เช่น กระดาษ โฟม ถุงพลาสติก ต้องทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่
3. ราคาของสินค้าคงเหลือมีผลต่อการจัดรายงานสินค้าและวัตถุดิบอย่างไร
4. เมื่อทำรายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบผิดพลาด สรรพากรใช้ราคาอะไรในการประเมิน
5. ต้นทุนของสินค้าคงเหลือมีองค์ประกอบอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าจะถือเป็นต้นทุนหรือไม่
6. ซื้อสินค้าเป็นเงินตราต่างประเทศ จะต้องแปลงค่าเงินบาทจะต้องใช้อัตราแลกเปลี่ยนใดแปลงค่าเพื่อบันทึกต้นทุนสินค้า
7. การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบและข้อควรระมัดระวัง
- หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการจัดทำรายงาน
- สถานประกอบการที่ต้องจัดทำ และกรณีใดที่สามารถจัดทำรายงานรวมกันได้
- เอกสารหลักฐานที่ใช้ในการจัดทำรายงาน เช่น ใบส่งของ ใบรับของ ใบเบิกของ ใบคืนของ
- ข้อความที่ต้องมีในรายงานสินค้าคงเหลือและวัตถุดิบ
- การจัดทำรายงานของผู้ขายรายย่อย รถเคลื่อนที่ การแสดงสินค้า จะปฏิบัติอย่างไร
- กิจการใดบ้างได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบตามแบบที่สรรพากรกำหนด
- การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบจะต้องจัดทำให้เสร็จภายใน 3 ทำการ นับจากวันอะไร หากทำไม่เสร็จมีบทลงโทษใดบ้าง
- รายงานสินค้าและวัตถุดิบจะมีช่องราคาต่อหน่วย จำนวนเงินรวมได้หรือไม่
8. ปัญหาในการจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบในกรณีที่ผู้ขายส่งสินค้าขาดหรือเกินจำนวนจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมิน
9. การได้รับของแถม ของตัวอย่าง ของแจก จากผู้ขายต้องนำมาจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบหรือไม่ต้องปฏิบัติอย่างไร เช่น ซื้อ 10 โหล แถม 1 โหล
10. เคลียร์ 10 ปัญหาของฝ่ายคลังสินค้าและฝ่ายบัญชีจากการควบคุม จัดทำและตรวจนับสินค้า
- การจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกสินค้าคงเหลือและรายงานสินค้าและวัตถุดิบให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติของกรมสรรพากร และผลกระทบกรณีจัดทำไม่ถูกต้อง
- ระบบเอกสารที่ต้องจัดทำในระบบสินค้าคงคลัง
- การทำลายสินค้าและวัตถุดิบตามคำสั่งกรมสรรพากร
- การวางระบบควบคุมภายในเพื่อป้องกันการรั่วไหล และความผิดพลาดจากการตรวจนับ Stock
- ผลกระทบทางภาษีอากรในการจัดทำรายการไม่ถูกต้อง เช่น สินค้าขาด หรือเกินจาก Stock
- การตีราคาสินค้าคงเหลือ ปัญหาจากการตรวจนับ และการบันทึกรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
- การทำลายวัตถุดิบที่เสียระหว่างผลิตสินค้า ด้อยคุณภาพ
- ของเสีย เศษซาก จะทำลายหรือจำหน่ายออกไป แนวปฏิบัติตามประมวลรัษฎากร
- จะปรับปรุงวิธีการตรวจนับ Stock อย่างไรให้ตรงกับข้อเท็จจริง
- กรณีสินค้าที่ได้มาโดยการให้ และไม่ได้ทำ Stock แต่มีการไปใช้ในการผลิตจะต้องทำ Stock อย่างไร
11. สูตรการผลิตมีผลกระทบต่อการใช้วัตถุดิบ และสูตรการผลิต ทำอย่างไรที่สรรพากรยอมรับ
12. การนำสินค้าไปส่งเสริมการขาย และปัญหาการจัดทำรายงานและระบบเอกสารสนับสนุนการส่งเสริมการขาย
- ลด
- แลก
- แจก
- แถม
- ของตัวอย่าง
- นำสินค้าทดลอง
13. ปัญหาและแนวปฏิบัติที่เกี่ยวกับวัสดุสิ้นเปลืองในการจัดทำบัญชีและรายงานสินค้าและวัตถุดิบ
14. ของเสียปกติ ของเสียเกินปกติ และเศษซากที่เกิดจากกระบวนการผลิต มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
15. จัดระบบ Stock เพื่อการตรวจนับอย่างไร จึงจะถูต้องครบถ้วน สรรพากรมีหลักเกณฑ์ในการประเมินการตรวจนับอย่างไร
16. วิธีการตรวจสอบของสินค้าและวัตถุดิบของสรรพากร และจุดที่สรรพากรจะนำมาประเมินภาษี
17. ภาษีที่บริษัทจะถูกสรรพากรประเมินจากการตรวจนับสินค้าและวัตถุดิบ


นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมแมนดาริน
662 ถนน พระราม 4 แขวง มหาพฤฒาราม เขต บางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
โทรศัพท์ :
02 238 0230
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีสามย่าน ทางออกที่ 1 (เดิน 200 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba