เจาะลึก 3 ภาษีที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ ไม่ควรพลาด

รหัสหลักสูตร : 21/1780

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

*** จองสัมมนาล่วงหน้าภายในวันที่ 15 มิ.ย. 60 รับนส.รวมประเด็นตอบข้อหารือกรมสรรพากรเล่ม 3

เจาะลึก 3 ภาษีที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ ไม่ควรพลาด

  • ภาษีเงินได้นิติบุคคลที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์พลาดไม่ได้

1. การออก-รับเอกสารทางการเงินเช่น ใบรับเงิน, ใบเสร็จรับเงิน, ใบส่งมอบเช็ค

2. ปัญหาการเป็นผู้รับใบเสร็จรับเงิน

- ใบเสร็จรับเงินที่นำมาเป็นรายจ่ายของกิจการได้

- ใบเสร็จรับเงินที่เป็นรายจ่ายต้องห้าม

- ใบเสร็จรับเงินไม่มีผู้จ่ายเงิน

- ใบเสร็จรับเงินไม่มีลายเซ็นผู้รับเงิน

- กรณีใบเสร็จรับเงินมีการขีดฆ่าแก้ไข แต่ไม่มีลายเซ็นกำกับถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

3. ข้อควรระวังในการออกใบเสร็จรับเงินของเจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์

  • ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ไม่ควรพลาด
1. ใครคือผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย และผู้ที่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายมีหลักเกณฑ์อย่างไร
2. เงินได้ที่ต้องถูกหัก ณ ที่จ่าย ตามสัญญาและข้อตกลงทางธุรกิจที่เจ้าหน้าที่การเงินต้องพบเป็นประจำและจะหัก ณ ที่จ่ายเมื่อใด
3. วิธีแก้ไขปัญหาเมื่อผู้รับเงินไม่ยอมให้หักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินต้องปฏิบัติอย่างไร
4. ผู้จ่ายต้องรับผิดกรณีไม่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
5. การออกและรับหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายต้องตรวจสอบอะไรบ้าง
- แก้ไขได้หรือไม่
- ผู้แก้กับผู้ออกจำเป็นต้องเป็นคนเดียวกันหรือไม่
6. Update แนวปฏิบัติในการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามข้อหารือกรมสรรพากร

  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่เกี่ยวข้องกับเจ้าหน้าที่การเงินแคชเชียร์
1. เอกสารที่เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์ต้องพบในการทำงาน
- ใบกำกับภาษี
- ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบลดหนี้
- ใบเพิ่มหนี้
- ใบแจ้งหนี้
- ใบส่งของ
- ใบส่งของชั่วคราว
- เอกสารออกเป็นชุด
2. การจ่ายเงินอย่างไรให้ปลอดภัยไม่เจอกับใบกำกับภาษีปลอม บริษัทที่ไม่มีตัวตนจริง
- กรณีผู้ขายมีภ.พ.20 แต่ตรวจเช็ครายชื่อผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ปรากฏว่ามีรายชื่อจะทำอย่างไร
3. วิธีการแก้ไขเมื่อไม่มีเอกสารการรับ-จ่ายเงินแคชเชียร์จะแก้ไขอย่างไร และจะแจ้งกับผู้เกี่ยวข้องอย่างไร
4. วิธีปฏิบัติของกรมสรรพากร ในการออกและรับใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้ใบแทน
- รายการที่ต้องเพิ่มในใบกำกับภาษีใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้ตามหลักเกณฑ์ใหม่ของสรรพากร
- ข้อความที่ต้องปรากฏในใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปใบกำกับภาษีอย่างย่อและเอกสารออกเป็นชุด
- หลักเกณฑ์และเงื่อนไข รวมทั้งสาเหตุในการออกใบเพิ่มหนี้ใบลดหนี้
5. ใบกำกับภาษีต้องออกหรือได้รับเมื่อใด
- ส่งมอบสินค้า
- วางมัดจำ
- ออกใบกำกับ
- ออกใบแจ้งหนี้
- ตกลงซื้อขาย
- แล้วแต่ผู้ขายกับผู้ซื้อจะตกลงกันได้หรือไม่
6. การรับชำระเงินด้วยเช็ค เงินสด โอนเงินผ่านธนาคาร ธนาณัติรับชำระผ่าน Counter Service ให้เครดิต จะออกใบกำกับภาษีอย่างไรและลงวันที่ใดในใบกำกับภาษี
- กรณีส่งมอบเช็คล่าช้าจะออกใบกำกับภาษีลงวันที่เมื่อใด
7. การวางแผนภาษีจากการชำระเงินที่เจ้าหน้าที่การเงิน แคชเชียร์สามารถทำได้
8. กรณีขายสินค้าหรือให้บริการแล้วไม่ออกใบกำกับภาษีหรือออกโดยไม่มีสิทธิออกจะมีความผิดอย่างไร
9. ผู้ซื้อหรือผู้รับบริการไม่ยอมรับใบกำกับภาษีเจ้าหน้าที่การเงินต้องทำอย่างไร
10. กรณีได้รับใบกำกับภาษีมาล่าช้า ข้ามเดือนจะใช้ได้หรือไม่ทำอย่างไรสรรพากรจึงจะยอมรับ
11. วิธีการดูใบกำกับภาษีปลอมและผลเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอม
12. การออกใบกำกับภาษีกรณีให้ส่วนลด แถมสินค้าจะต้องออกใบกำกับภาษีอย่างไร
- ออกใบกำกับภาษีแต่ลืมระบุส่วนลด ของแถมต้องทำอย่างไร
- ระบุของแถมผิดฝาผิดตัวจะมีผลอย่างไร
13. กรณีใบกำกับภาษีสูญหาย ต้องปฏิบัติอย่างไรและถ้าหายทั้งฝ่ายผู้รับและผู้ออกใบกำกับภาษีเจ้าหน้าที่การเงินจะทำอย่างไร
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์

สถานที่

โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์
53 Srinakarin Road, Nongbon, Pravet Bangkok, Nong Bon, Prawet, Bangkok 10250
โทรศัพท์ :
02 721 8400
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีสวนหลวง ร.9 ทางออกที่ 1 (ห่างจากสถานี 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba