A-Z ปัญหาบัญชีและภาษีอากร...พร้อมแนวทางแก้ไข (หลักสูตรใหม่ 2560)

รหัสหลักสูตร : 21/5053

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


เจาะประเด็นปัญหาบัญชีและภาษีอากร A-Z ที่นักบัญชีพบบ่อย พร้อมแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง


หัวข้อสัมมนา

A

Assessable Income  (เงินได้พึงประเมิน)

  • เงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากการขายสินค้าและให้บริการแล้ว ยังมีเงินได้อะไรบ้างที่มักจะบันทึกบัญชีและเสียภาษีอากรไม่ครบถ้วน

Associated Companies or Juristic Partnerships  (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลในเครือเดียวกัน)

  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขของกิจการในเครือเป็นอย่างไร และปัญหาด้านภาษีของบริษัทในเครือเดียวกันที่มักปฏิบัติผิดพลาด

Abbreviated Tax Invoice      (ใบกำกับภาษีอย่างย่อ)

  • กิจการประเภทใดบ้างที่มีสิทธิออกใบกำกับภาษีอย่างย่อ และหากกิจการได้รับมาจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้หรือไม่

Allocation Of Input Tax  (เฉลี่ยภาษีซื้อ)

  • ใครบ้างที่ต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ จุดที่ต้องระวังเมื่อต้องเฉลี่ยภาษีซื้อ

Accrual Basis (เกณฑ์คงค้าง / เกณฑ์สิทธิ )

  • ปัญหาการนำเกณฑ์คงค้างหรือเกณฑ์สิทธิมาใช้ในกิจการ มีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

Allowance for Bad Debts or Allowance for Doubtful Accounts (ค่าเผื่อหนี้สูญ หรือค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ)

  • เมื่อกิจการมีการตั้งค่าเผื่อหนี้สูญสรรพากรยอมให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้หรือไม่

Administrative expense  (ค่าใช้จ่ายในการบริหาร)

  • มีประเด็นใดบ้างที่มักถูกตรวจสอบที่กิจการจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

B

Bad debt (หนี้สูญ)

  • การตัดหนี้สูญเป็นค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรมีหลักเกณฑ์อย่างไร

Borrowing Costs (ต้นทุนการกู้ยืม)

  • ต้นทุนการกู้ยืมจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้ทุกประเภทหรือไม่

C

Customs Free Zone (เขตปลอดอากร)

  • ปัญหาการนำสินค้าหรือบริการเข้าไปในเขตปลอดอากร

Credit note  (ใบลดหนี้)

  • หลักเกณฑ์ในการออกใบลดหนี้

Cash Discount (ส่วนลดเงินสด)

  • การให้ส่วนลดเงินสดต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และผู้รับถือเป็นรายได้หรือไม่

Commission (ค่านายหน้า)

  • การจ่ายค่านายหน้าให้กับผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดาจะหักภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง

Contests (การประกวด แข่งขัน )

  • มีภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง

Cash Basis  (เกณฑ์เงินสด)

  • การคำนวณกำไรสุทธิโดยเกณฑ์เงินสดสามารถทำได้หรือไม่

Capital Expense   (รายจ่ายอันมีลักษณะลงทุน)

  • มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไรว่า เป็นสินทรัพย์หรือเป็นค่าใช้จ่าย

Charitable  (การกุศล)

  • ค่าการกุศลอย่างไรจึงจะถือเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้ และหากกิจการขาดทุนมีผลอย่างไร

Computer And Accessories (คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์)

  • หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 5 ปี หรือ 3 ปี

D

Dividend (เงินปันผล)

  • รายได้เงินปันผลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้มีหลักเกณฑ์อย่างไร

Debit note (ใบเพิ่มหนี้)

  • หลักเกณฑ์การออกใบเพิ่มหนี้

Depreciation  (การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา)

  • การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาจะเริ่มหักเมื่อใด และจะสิ้นสุดลงเมื่อใด

Double-Declining Balance Method (วิธีลดยอดทวีคูณ)

  • มีหลักเกณฑ์อย่างไร และกิจการจะได้รับประโยชน์ทางภาษีอย่างไร

E

Evaluate Assets (การตีราคาสินทรัพย์)

  • ในทางบัญชีมีการตีราคาสินทรัพย์ แต่ทางภาษีอากรยอมรับหรือไม่

Expenses Not Deductible  (รายจ่ายต้องห้าม)

  • มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบได้ว่า กิจการมีรายจ่ายต้องห้ามเกิดขึ้น และผลกระทบทางภาษีอากร

Expense For Personal (รายจ่ายส่วนตัว)

  • หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการพิจารณาและข้อควรระมัดระวัง

Entertainment or Service Fees  (ค่ารับรองหรือค่าบริการ)

  • รับรองอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

Expense Which Is Not Actually (รายจ่ายที่ไม่ได้จ่ายจริง)

  • กิจการได้รับบิลเงินสดที่ไม่มีชื่อและที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้จ่ายเงินจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

Expense Which A Payer Cannot Identify The Recipient  (รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ)

  • หากผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานเอกสารหรือบิลให้ ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

F

Fine and Surcharge (เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม)

  • ความผิดพลาดในการเสียภาษีมีบทลงโทษอย่างไร

Fair value (มูลค่ายุติธรรม)

  • ทางบัญชีใช้มูลค่ายุติธรรมในการตกลงซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนกัน ทางภาษียอมรับหรือไม่

Fixed Assets Retirements  (การจำหน่ายสินทรัพย์)

  • ภาระภาษีที่เกิดจากการจำหน่ายสินทรัพย์ และปัญหาที่ต้องระมัดระวัง

Food Allowance  (ค่าเบี้ยเลี้ยง)

  • ถือเป็นเงินได้พนักงานหรือไม่

G

Goods  (สินค้า)

  • ปัญหาการตรวจนับสินค้าขาดหรือเกิน และการทำลายสินค้าและวัตถุดิบ

Goods and Raw Material Report  (รายงานสินค้าและวัตถุดิบ)

  • ประเด็นผิดพลาดรับขาดหรือรับเกินจะต้องปฏิบัติอย่างไร

H

Hire-Purchase or Installment Sale  (เช่าซื้อ หรือ ผ่อนชำระ)

  • อย่างไรถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์ระหว่างทางบัญชีกับภาษีอากร

Hire Of Work  (รับจ้างทำของ)

  • ปัญหาการพิจารณาว่า อย่างไรถือเป็นการรับจ้างทำของ และประเด็นการหักภาษี ณ ที่จ่าย

I

Insurance Premiums  (ค่าเบี้ยประกันภัย)

  • กิจการทำประกันภัยให้แก่พนักงานจะถือเป็นเงินได้ของพนักงานหรือไม่

Interest  (ค่าดอกเบี้ย)

  • เมื่อกิจการได้รับดอกเบี้ยจะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะทุกกรณีหรือไม่

Input Tax  (ภาษีซื้อ)

  • กิจการจะพิจารณาอย่างไรว่า ภาษีซื้อนั้นขอคืนได้หรือนำไปหักภาษีขายได้

Input Tax Not Deductible  (ภาษีซื้อต้องห้าม)

  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการพิจารณาภาษีซื้อต้องห้าม

J

Joint Venture  (กิจการร่วมค้า)

  • มีหลักเกณฑ์ในการยกเว้นภาษีอย่างไร

K

Keep (การเก็บรักษา)

  • เอกสารประกอบการลงบัญชีจะต้องจัดเก็บอย่างไร ระยะเวลานานเท่าใด

L

Leasing  (สัญญาเช่าระยะยาว)

  • ความแตกต่างทางบัญชีกับภาษีอากรที่นักบัญชีต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

Lending Of Money  (การให้กู้ยืมเงิน)

  • การให้กู้ยืมเงินแก่พนักงาน กรรมการ บริษัทในเครือไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่

M

Market Price    (ราคาตลาด)

  • การขายสินค้า ให้บริการ ให้กู้ยืมเงิน ต้องไม่ต่ำกว่าราคาตลาดมีหลักเกณฑ์อย่างไร

N

Net Income / Net Profit (กำไรสุทธิ)

  • หากกิจการมีผลขาดทุนติดต่อกันระยะเวลานานจะถูกแพ่งเล็งเป็นกรณีพิเศษหรือไม่

 

O

Output Tax   (ภาษีขาย)

  • ประเด็นการตรวจสอบภาษีขายของเจ้าหน้าที่สรรพากร

Other incomes  (รายได้อื่น )

  • ปัญหาของรายได้อื่นที่มักเสียภาษีไม่ครบถ้วน

 

 

P

Passenger Cars and Buses Having No More than 10 Seats   (รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน)

  • หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการพิจารณาและข้อควรระมัดระวัง

Property, plant and equipment  (ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์)

  • จะพิจารณาอย่างไรว่า เป็นสินทรัพย์

Prizes, Discounts or any benefits due to sales promotion (รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากส่งเสริมการขาย)

  • กิจการให้รางวัลแก่ลูกค้าที่ขายสินค้าหรือให้บริการได้ตามเป้าจะมีภาระภาษีอะไรบ้าง

Provisions (ประมาณการหนี้สิน

  • สรรพากรยอมรับหรือไม่

Q

Quantity Discount   (ส่วนลดปริมาณ)

  • มีภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

R

Reimburse  (เงินทดรองจ่าย)

  • การจ่ายเงินทดรองจ่ายให้กับบริษัทในเครือ ใครมีสิทธิขอภาษีซื้อคืนและถือเป็นค่าใช้จ่าย

Rent Of Property (ค่าเช่าทรัพย์สิน)

  • ความแตกต่างของการให้เช่าสังหาริมทรัพย์กับอสังหาริมทรัพย์

S

Substitute For Tax Invoice  (ใบแทนใบกำกับภาษี)

  • กิจการจะออกใบแทนใบกำกับภาษีได้ในกรณีใดบ้าง

Scrap (เศษซาก)

  • แนวปฏิบัติของเศษซากจะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

T

Tax Base  (ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • มีกรณีใดบ้างที่ไม่ต้องเสียภาษีขาย แต่ภาษีซื้อขอคืนได้

Tax Liability or Tax Point  (ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • กิจการขายสินค้ากับให้บริการจะเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอย่างไร

Tax Invoice  (ใบกำกับภาษี)

  • ปัญหาการออกใบกำกับภาษีเต็มรูป การระบุสำนักงานใหญ่หรือสาขา และเลขประจำตัวผู้เสียภาษี

Trade Discount (ส่วนลดการค้า)

  • อย่างไรถือเป็นส่วนลดการค้า และมีภาระภาษีอะไรบ้าง

U

Uniforms  (เครื่องแบบพนักงาน)

  • ให้อย่างไรจึงจะเข้าเงื่อนไขประมวลรัษฎากร และไม่ต้องเสียภาษี

V

Value Added Tax (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)

  • ประเด็นผิดพลาดที่มักถูกประเมิน
W

 

Welfare Of Worker  (สวัสดิการพนักงาน)

  • ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นค่าใช้จ่ายได้ และไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน

Withholding Income Tax (ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย)

  • การจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทขึ้นไปต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย มีหลักเกณฑ์อย่างไร

X

X-efficiency (การมีประสิทธิภาพในการผลิต)

  • หากการผลิตมีประสิทธิภาพมีส่วนสูญเสียในกระบวนการผลิตเกิดขึ้นจะต้องเสียภาษีหรือไม่

Y

Year or Tax Year  (ปีภาษี)

  • ปัญหาของรอบระยะเวลาบัญชีไม่ครบ 12 เดือน

Z

Zero  (อัตรา 0)

  • หลักเกณฑ์การส่งออกที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0







นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba