การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากBOI พร้อมการกรอกแบบภ.ง.ด.50

รหัสหลักสูตร : 21/1644

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

การใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากBOI พร้อมการกรอกแบบภ.ง.ด.50

*** ด่วน!!! ปัญหาการใช้ผลขาดทุนสุทธิ กรณีมี BOI หลายบัตรใช้อย่างไรตามแนวคำพิพากษาฎีกาล่าสุด!!!

*** Update สิทธิประโยชน์ทางภาษีและข้อควรระวังด้านภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

*** ข้อควรระวัง เมื่อกิจการมีทั้ง BOI และ NON BOI

*** ปัญหาภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการ BOI จากการนำเข้าสินค้าและบริการนอกราชอาณาจักร

*** การกรอกแบบ ภ.ง. ด. 50 ของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI พร้อมชี้ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยจากการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50

หัวข้อสัมมนา

 

1. ธุรกิจที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการส่งเสริมการลงทุน BOI

2. วันเริ่มมีรายได้ที่จะใช้สิทธิประโยชน์และได้รับยกเว้นภาษี

3. รายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

- รายได้ที่เกิดจากการขายสินค้าตัวอย่างสินค้าทดลองผลิต

- รายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป

- รายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักร เครื่องมือเครื่องใช้ที่หมดสภาพ ชำรุด เสียหาย

- รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผลจากอัตราแลกเปลี่ยน

- รายได้จากการชดเชยภาษีอากร

- รายได้จากการขายเศษซาก ของเสีย ชำรุด เสียหาย

- รายได้จากการให้เช่า ซื้อขาย ที่ดินของกิจการที่ได้รับBOI

4. หลักเกณฑ์ในการหักค่าใช้จ่ายในการประกอบกิจการของธุรกิจที่ได้รับBOI

- ค่าขนส่ง

- ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา

- ค่าติดตั้ง ก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก

5. ประเด็นปัญหาทางด้านรายจ่ายของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

- กรณีกิจการมีทั้ง BOI และ Non BOI

- หลักเกณฑ์การแยกรายจ่ายของ BOI และ Non BOI

- กรณีแยกรายจ่ายไม่ได้จะต้องเฉลี่ยรายจ่ายโดยใช้หลักเกณฑ์ใด

- การเฉลี่ยรายจ่ายกับประเด็นการเฉลี่ยภาษีซื้อมีความเกี่ยวข้องกันหรือไม่ อย่างไร

6. Focus สิทธิประโยชน์ทางภาษีและข้อควรระวังด้านภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI

7. Update สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ที่ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ควรทราบ

8. การยกเว้นการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ วัสดุจำเป็นและการเสียภาษีกรณีมี

การจำหน่าย จ่าย โอนก่อนครบกำหนดในบัตรส่งเสริมต้องเสียVAT และเบี้ยปรับเงินเพิ่มหรือไม่

9. การหักภาษี ณ ที่จ่าย ของผู้ประกอบการที่ได้BOI และกรณีที่ไม่ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย

- เอกสารที่กิจการที่ได้รับ BOI ต้องแสดงต่อผู้จ่ายเงินกรณีไม่ต้องการให้หัก ณ ที่จ่าย

10. ปัญหาการจ่ายเงินปันผล เงินกำไร และการวางแผนให้สอดรับกับปัญหาในการจ่ายเงินปันผลอย่างตรงจุด

- การคำนวณจ่ายเงินปันผลและเงินกำไรจากกิจการBOIและ Non BOI

- กรณีมีบัตรส่งเสริมหลายบัตรจะคำนวณจ่ายเงินปันผลอย่างไร

- ระยะเวลาในการจ่ายเงินปันผลที่จะไม่เสียภาษี

- ปัญหาภาษีการจ่ายเงินปันผลหลังจากบัตรส่งเสริมหมดอายุ

- เงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลจะได้ยกเว้นยกเว้นภาษีอย่างไร

- การจ่ายเงินปันผลปีสุดท้ายจะต้องจ่ายอย่างไร

11. หลักเกณฑ์ในการหักเงินได้พึงประเมิน 5%นับแต่พ้นกำหนดเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

12. ดอกเบี้ยที่ได้รับยกเว้นภาษีของธุรกิจ BOI ต้องมีหลักเกณฑ์อย่างไร

13. กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีจากการส่งเสริมการลงทุนจากBOI แล้วจะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อนอีกหรือไม่อย่างไร

14. การนำผลขาดทุนสะสมมาหักในการคำนวณกำไรสุทธิหลังจากสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนของธุรกิจที่ได้ BOI สรรพากรมีหลักเกณฑ์อย่างไร

- Update แนวคำพิพากษาฎีกาล่าสุด สำหรับปัญหาการใช้ผลขาดทุนสุทธิของกิจการ BOI กรณีมีหลายบัตรที่สรรพากรแพ้คดี

- กรณีมีบัตรส่งเสริมหลายใบจะใช้สิทธิอย่างไรพร้อมยกตัวอย่างชัดเจน

15. จุดที่ต้องระวังในการคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของธุรกิจที่ได้รับBOI และ Non BOI

16. กรณีได้รับค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งสิทธิ หรือสิทธิอย่างอื่นจากผู้ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI ผู้รับต้องนำไปรวมคำนวณกำไรสุทธิ หรือนำไปเสียภาษีสิ้นปีหรือไม่มีหลักเกณฑ์อย่างไร

17. หลักเกณฑ์่เกี่ยวกับการส่งออก ได้รับสิทธิเสีย VAT 0%พร้อมปัญหาการคำนวณกำไรสุทธิจากอัตราแลกเปลี่ยน

18. วิธีการกรอกแบบ ภ.ง. ด. 50 ของธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน BOI พร้อมชี้ประเด็นปัญหาที่พบบ่อยจากการกรอกแบบ ภ.ง.ด. 50

19. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ เพลินจิต
566 ถ.เพลินจิต แขวง ลุมพินี เขต ปทุมวัน กทม.
โทรศัพท์ :
02 2305 6000
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba