100 ประเด็นปัญหาทางภาษีธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตสินค้า

รหัสหลักสูตร : 21/1669

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

100 ประเด็นปัญหาทางภาษีธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรมและการผลิตสินค้า

  • สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสําหรับเขตประกอบการเสรี (Free Trade) คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded ware House), เขตปลอดอากร (Free Zone)                                                                 เขตอุตสาหกรรมส่งออก(Export Processing Zone)
  • กรณีผลิตเพื่อขาย กับรับจ้างผลิต ภาระภาษีต่างกันหรือไม่ รวมทั้งประเด็นการนําเข้า-ส่งออก
  • เป็นหลักสูตรที่ได้รวบรวมปัญหาและวิธีการแก้ไขไว้อย่างครบถ้วน
  • เจาะประเด็นการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมิน จุดที่ต้องระวังเป็นพิเศษ
  • เทคนิคการจัดทําสต็อกการ์ดของสินค้าคงเหลือ การตรวจนับสินค้า
  • รวมประเด็นภาษีสรรพากรที่เกี่ยวกับธุรกิจอุตสาหกรรมโรงงานที่ไม่ควรมองข้าม

หัวข้อสัมมนา

  1. ภาระภาษีที่ผู้ประกอบการโรงงาน อุตสาหกรรมต้องรู้
    • ระบบภาษีทางตรง และ ระบบภาษีทางอ้อมที่มีผลต่อภาคธุรกิจโรงงานอุตสาหกรรม
  2. สิทธิประโยชน์ทางภาษีของโรงงานอุตสาหกรรม
    • บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
    • เขตประกอบการเสรี (Free Trade)
    • เขตปลอดอากร (Free Zone)
    • เขตอุตสาหกรรมส่งออก (Export Processing Zon
    • เขตอุตสาหกรรมส่งออกพิเศษ
    • คลังสินค้าทัณฑ์บน (Bonded Warehouse)
  3. การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของผู้ประกอบการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
  4. การลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล และสิทธิประโยชน์ทางภาษี
  5. การรับรู้รายได้-รายจ่ายเพื่อคำนวณเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
    • รายได้จากการขายเศษซาก ,เศษวัสดุ และข้อควรระวังในการขาย
    • สั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศ โดยขายให้กับลูกค้าที่ต่างประเทศอีกประเทศหนึ่ง(สินค้าไม่ได้นำเข้ามาในไทย)การรับรู้รายได้จะรับรู้เมื่อใด
    • ข้อควรระวังเกี่ยวกับรายจ่ายต้องห้าม
    • การขายต่ำกว่าราคาทุน
    • การจำแนกประเภททรัพย์สินที่หักค่าสึกหรอ หรือค่าเสื่อมราคาได้ กับประเภทที่ไม่อาจหักค่าสึกหรอหรือค่าเสื่อมราคา ในทางปฏิบัติจำเป็นหรือไม่เพื่อประโยชน์ในการนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิ
    • ปัญหาการคิดค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ส่วนปรับปรุงโรงงาน / ซ่อมแซมเครื่องจักร / Upgrade softwareคอมพิวเตอร์/โปรแกรมคอมพิวเตอร์
    • การบำรุงรักษาตามวาระเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งมีการคิดค่าบริการแบบค่าตอบแทนรายเดือนแบบคงที่และค่าตอบแทนซึ่งคำนวณตามอัตราชั่วโมงของเครื่องจักรจะต้องลงรายจ่ายอย่างไร
  6. ประเด็นภาษีที่เกี่ยวกับพนักงาน ลูกจ้าง
    • ค่าแรงลูกจ้างรายวันต้องหักภาษีอย่างไร
    • ค่าเบี้ยเลี้ยง / ค่า OT
    • การให้สวัสดิการเครื่องแบบพนักงาน อาหาร ที่พัก รถรับส่ง ค่ารักษาพยาบาล ประกันชีวิตต้องคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย พนักงานหรือไม่
    • ค่าเบี้ยขยัน หรือเงินที่จ่ายเป็นพิเศษนอกเหนือจากเงินเดือนจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร
    • การจ้าง Outsource มีข้อดี ข้อเสียอย่างไรทางภาษี
    • การทำประกันให้กับพนักงานเฉพาะกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงทำได้หรือไม่ หากกรมสรรพากรจะมองว่าเลือกปฏิบัติจะมีทางแก้ไขอย่างไรเพื่อให้ถือว่าเป็นสวัสดิการพนักงาน
    • กรณีจ้างชาวต่างชาติเป็นพนักงานแต่ทำงานที่ต่างประเทศ มีการเข้ามาในราชอาณาจักรครั้งคราวเพื่อส่งงานจะต้องคำนวณเงินเดือนค่าจ้างอย่างไร หัก ณ ที่จ่ายกี่เปอร์เซ็นต์
  7. กรณีผลิตเพื่อขาย กับรับจ้างผลิต ภาระ ภาษีต่างกันหรือไม่
  8. กรณีมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าหรือให้บริการ ภาระภาษีที่โรงงานอุตสาหกรรมต้องระวัง
    • การออกและใช้ Credit Note, Debit Note
    • ปัญหาการเคลมสินค้าระหว่างประเทศ เมื่อสั่งซื้อสินค้าแต่ได้รับสินค้าไม่ครบถ้วน,ไม่เป็นไปตามที่ตกลง
    • การส่งออกสินค้าที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0%
    • กรณีได้รับโบนัสตามประกาศในการให้บริการหรือขายสินค้าครบตามเป้า สามารถใช้อินวอยซ์แทนใบกำกับภาษีได้หรือไม่
    • นำเข้าสินค้ามาจากประเทศหนึ่งเพื่อจะมาบรรจุหีบห่อและส่งออกไปอีกประเทศหนึ่ง สามารถทำได้หรือไม่และมีภาระภาษีอย่างไร
    • ถ้าต้องการทราบว่าสินค้าที่จะนำเข้าจัดอยู่ในประเภทพิกัดใด มีอัตราภาษีนำเข้าของสินค้าเป็นเท่าใดต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องสอบถามเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ต้องส่งหนังสือสอบถามไปยังหน่วยงานใด
  9. ประเด็นปัญหาของสถานประกอบการในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • โรงงาน
    • โชว์รูม
    • สำนักงานขาย
    • รถเข็น
    • การออกบูธตามงานต่างๆ
    • คลังสินค้า
    • โกดัง
    • กรณีเช่าโกดังเพื่อเก็บสินค้าหากมีพนักงานนั่งทำงานประจำอยู่ตามเวลางาน จะถือว่าเป็นสาขาหรือโกดัง
  10. ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องระวัง
    • จุดความรับผิดในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม - ขายพร้อมขนส่งภาษีมูลค่าเพิ่มคิดจากฐานใด
    • ขายสินค้าหน้าโรงงานราคาพิเศษทำได้หรือไม่ - ธุรกิจอุตสาหกรรมออกใบกำกับภาษีอย่างย่อได้หรือไม่
    • ทำอย่างไรจึงไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อขายสินค้าให้ลูกค้าที่อยู่ในเขตปลอดอากร
    • กรณีมีการขายสินค้านอกประเทศและขายสินค้าในประเทศจะต้องเฉลี่ยภาษีซื้ออย่างไร
    • จุด TAX POINT ของแต่ละภาคธุรกิจ เช่นการขายสินค้า การนำเข้า
    • ส่งออกการให้บริการทั้งในราชอาณาจักรและต่างประเทศ
    • กรณีนำส่งภพ.30 หากมีการให้บริการและส่งออกที่มีทั้ง VAT 0 % และ VAT 7 %
  11. 11. ปัญหาการตรวจนับสินค้า และวัตถุดิบและการจัดทำรายงานทางภาษีมูลค่าเพิ่ม
    • กรณีขายสินค้าบางประเภทให้กับลูกค้า สินค้าออกจากโกดังครบตามจำนวนที่ลูกค้าสั่ง ที่มีการ ระเหิดระเหยระหว่างขนส่งทำให้ลูกค้าได้รับสินค้าไม่ครบตามจำนวนจะต้องจัดทำรายงานอย่างไรในส่วนที่สินค้าหายไป
    • สินค้าที่ได้รับบางรายการเมื่อตรวจนับแล้วไม่ตรงกับที่สั่งซื้อ ซึ่งจะต้องมีการส่งสินค้าดังกล่าวคืนทันที ณ จุดรับของจำเป็นต้องบันทึกสินค้าที่เกินมาดังกล่าวลงในรายงานหรือไม่
    • การจัดทำรายงานสินค้าและวัตถุดิบแยกออกเป็นแต่ละแผนกของสินค้า หรือแยกออกเป็นประเภท ชนิด ขนาดสามารถทำได้หรือไม่ หากมีการลงรายงานแบบนี้จะมีผลอย่างไร
    • สินค้าที่มีไว้ขายในประเทศ กับสินค้าที่มีไว้ขายต่างประเทศต้องทำสต็อกและรายงานแยกกันหรือไม่
    • ขายสินค้าให้กับบริษัทต่างประเทศโดยสินค้ามิได้เข้ามาในไทยต้องทำสต็อกด้วยหรือไม่
    • รายงานสินค้าและวัตถุดิบต้องเก็บรักษาอย่างน้อยกี่ปี
  12. สินค้าสูญหาย / ถูกทำลาย / ชำรุด จะมีภาระภาษีอย่างไร
    • เอกสารที่ต้องใช้เพื่อยืนยันเมื่อมีการทำลายถ้ากรมสรรพากรขอดู
    • กรณีที่สินค้ามีการสูญหายระหว่างขนส่งจะต้องจัดทำรายงานอย่างไรที่กรมสรรพากรยอมรับ และจะมีผลต่อภาระภาษีของธุรกิจภาคโรงงานอุตสาหกรรมอย่างไร
    • ขั้นตอนและวิธีการการทำลายที่สรรพากรยอมรับ
    • ของเสีย ,หมดอายุ * เสื่อมคุณภาพ * มีตำหนิ
    • หมดสมัย หรือ ล้าสมัย * เศษซาก
    • กรณีหากสินค้าหรือการขายต่ำกว่าราคาทุนไม่เป็นที่ต้องการของตลาดแล้ว และการทำลายนั้นทำได้ยากหากคงไว้ในบัญชีสินค้าจะมีภาระภาษีอย่างไร
  13. สิ่งที่ต้องระวังเมื่อทำลายสินค้า, เศษซาก, ทรัพย์สิน
    • การทำลายวัตถุอันตราย เช่นก๊าซคาร์บอน สารเคมีชนิดวัตถุอันตราย สามารถจ้างบริษัทเอกชนที่รับทำลายได้หรือไม่
    • การทำลายเศษซาก วัตถุดิบจำเป็นที่จะต้องให้นักบัญชี หรือ Audit เข้าดูการทำลายทุกครั้งหรือไม่
    • สินค้าที่ส่งออกไปขายต่างประเทศไม่ได้คุณภาพตามที่ตกลง บริษัทจะจ้างให้ลูกค้าที่ต่างประเทศทำลายได้หรือไม่และจะลงรายจ่ายทางภาษีได้หรือไม่
  14. การขอคืนหรือการเครดิตภาษีของธุรกิจอุตสาหกรรม
    • การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีส่งออก VAT 0%
    • การขอคืนภาษีหัก ณ ที่จ่าย
  15. ประเด็นการตรวจสอบของเจ้าพนักงานประเมินที่สร้างความเสียหายให้กับกิจการทั้งเบี้ยปรับ และ เงินเพิ่ม
  16. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบการวิชาชีพบัญชี
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์

สถานที่

โรงแรมโนโวเทล บางนา
333 ถ.ศรีนครินทร์ แขวง หนองบอน เขต ประเวศ กทม.
โทรศัพท์ :
02-3660505
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีศรีอุดม ทางออกที่ 2 (ห่างจากสถานี 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba