ปัญหาภาษีอากรจากสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของตามกฎหมายแรงงานและประกันสังคม 2561 และสวัสดิการพนักงาน *** เลื่อน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่

รหัสหลักสูตร : 21/1222

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

ปัญหาภาษีอากรจากสัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทำของตามกฎหมายแรงงานและประกันสังคม 2561 และสวัสดิการพนักงาน

  • มาตรการภาษีเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ใช้สิทธิลงรายจ่ายค่าจ้างรายวันได้ 1.15 เท่า
  • ปัญหาการจ่าย “ค่าจ้าง” การตีความตามกฎหมายแรงงาน, ประกันสังคม, ป.พ.พ., สรรพากร
  • ปัญหาจ่ายเงินได้ 40(2)(6)(7)(8) ทำไมกลายเป็น 40(1) ต้องนำส่งประกันสังคม
  • ปัญหาการจ้างพนักงานในกลุ่ม AEC ตามกฎหมายแรงงาน และการเสียภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
  • จ้างคนต่างด้าวมาทำงานแต่ยังไม่ได้ Work permit จะมีผลทางภาษีเงินได้อย่างไร จะถือเป็น PE ของบริษัทแม่ที่ต่างประเทศหรือไม่

หัวข้อสัมมนา

  1. ความหมายของสัญญาจ้างแรงงาน
    • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ - พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน2561 - ประมวลรัษฎากร
  2. หลักเกณฑ์สำคัญของสัญญาจ้างแรงงาน
    • ปัญหาการจ่าย “ค่าจ้าง” การตีความตามกฎหมายแรงงาน, ประกันสังคม, ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และสรรพากร
    • ปัญหาจ่ายเงินได้ 40(2)(6)(7)(8) ทำไมกลายเป็น 40(1) ต้องนำส่งประกันสังคม
    • แม่บ้านทำงานบ้านเป็นการจ้างงานประเภทใด อยู่ในบังคับกฎหมายแรงงานและประกันสังคมหรือไม่
    • ปัญหาการจ้างพนักงานในกลุ่ม AEC ตามกฎหมายแรงงาน
  3. จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำสัญญาจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
    • “โดยปริยายเป็นที่เข้าใจกันว่ามีการจ้างแรงงาน” มีลักษณะอย่างไร
  4. ค่าจ้าง/สินจ้าง ถ้าจ่ายเป็นเงินหรือสิ่งของมีผลทางกฎหมายต่างกันหรือไม่
    • ค่าจ้างตามหลักเกณฑ์ประการสังคม - ค่าจ้างตาม พรบ.คุ้มครองแรงงาน - การหาฐานค่าจ้างเพื่อคำนวณเงินสมทบประกันสังคม
    • ค่าจ้างตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(1) (2) (6) (7) (8) ข้อระวังจ้างอย่างไรกลายเป็น “ลูกจ้าง”
    • จ้างบุคคลธรรมดาทำงานให้สามเดือนโดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของนายจ้างเงินได้ถือเป็นเงินเดือนและต้องนำส่งประกันสังคมหรือไม่
  5. ข้อแตกต่างระหว่างสัญญาจ้างแรงงาน/ สัญญาจ้างทำของ/ สัญญาจ้างเหมา/ สัญญารับจ้าง
    • การควบคุมบังคับบัญชา - การกำหนดค่าตอบแทน - การกำหนดทำงานการ
    • การให้เงินเดือนค่าจ้างสวัสดิการและประโยชน์อื่นๆ
  6. เมื่อมีการผิดสัญญาจ้างแรงงานจะมีผลทางภาษีหรือไม่ อย่างไร
  7. การเปลี่ยนตัวนายจ้างหรือลูกจ้างทำได้หรือไม่
  8. เมื่อใดถือว่าสัญญาจ้างระงับสิ้นไป ภาระภาษีต่างกันอย่างไร
    • เลิกจ้าง - สิ้นสุดสัญญาจ้าง - เกษียณอายุ - ลาออก
  9. คำพิพากษาศาลฎีกากรณีที่ถือว่าเป็นสัญญาจ้างแรงงานและไม่เป็นสัญญาจ้างแรงงาน
  10. ภาระภาษีที่เกี่ยวข้องกับสัญญาจ้างแรงงานสัญญาจ้างทำของสัญญาจ้างเหมาสัญญารับจ้าง
    • ภาษีเงินได้ - ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย - ภาษีมูลค่าเพิ่ม - อากรแสตมป์
  11. การเสียภาษีของลูกจ้างที่เป็นคนต่างด้าว และวิธีการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
    • จ้างคนต่างด้าวมาทำงานแต่ยังไม่ได้ Work permit จะมีผลทางภาษีเงินได้อย่างไร จะถือเป็น PE ของบริษัทแม่ที่ต่างประเทศหรือไม่
  12. ปัญหาภาษีที่เกี่ยวกับการให้สวัสดิการพนักงาน
    • การให้เบี้ยเลี้ยงกับพนักงานทุกคน/ให้เฉพาะแผนกเซลล์/ให้เฉพาะกรรมการ มีผลทางภาษีต่างกันอย่างไรและพนักงานต้องนำ
    • มาเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีด้วยหรือไม่
    • การให้เบี้ยเลี้ยงเป็นครั้งคราวกับการให้เบี้ยเลี้ยงแบบเหมาทั้งเดือน มีผลทางภาษีอย่างไร
    • อัตราเบี้ยเลี้ยงที่กฎหมายยกเว้นเงินได้ให้ไม่เกินเท่าไหร่
    • บริษัทจัดรถรับ-ส่งพนักงานอย่างไรไม่ถือเป็นเงินได้ที่ต้องหักภาษีพนักงาน
    • การให้พนักงานได้อยู่บ้านฟรีหรือจ่ายค่าเช่าราคาถูกต้องหักภาษีพนักงานด้วยหรือไม่
    • กรณีส่งพนักงานไปฝึกอบรมหรือศึกษาต่อต่างประเทศบริษัทลงรายจ่ายทางภาษี200% และพนักงานต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายด้วยหรือไม่
    • การทำประกันชีวิต/ประกันภัยกลุ่มให้พนักงาน ให้กรรมการหรือให้กับบุตร ให้กับคู่สมรสของพนักงานบริษัทต้องหักภาษีพนักงานหรือไม่
    • กรณีบริษัทตั้งกองทุนให้พนักงานกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ยทำได้หรือไม่
    • ปัญหาเรื่องเครื่องแบบพนักงาน ตามความหมายของกรมสรรพากรต้องมีลักษณะอย่างไร
    • การคำนวณภาษีกรณีนายจ้างออกภาษีแทนลูกจ้าง
    • ถ้าพนักงานมีสิทธิ์ซื้อหุ้นได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาดพนักงานต้องนำมาถือเป็นรายได้หรือไม่ ในบริษัทหักภาษีอย่างไร
  13. ปัญหาด้านรายจ่ายของกิจการ
    • การให้โดยมีระเบียบสวัสดิการ - การให้โดยเสน่หา - การให้ตามขนบธรรมเนียมประเพณี - การให้แบบเหมาจ่าย
  14. ประเด็นภาษีมูลค่าเพิ่มพี่ต้องระวัง
    • การให้เครื่องแบบพนักงาน - การให้ของรางวัล - การให้ทองคำ - การมอบโล่
  15. คุณธรรม จริยธรรม หรือจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba