เทคนิคการจัดการปัญหาที่พบจากการจัดทำบัญชีพร้อม Case Study และวิธีแก้ไขปัญหาที่พบ

รหัสหลักสูตร : 21/2197

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

การรับรู้รายได้ตามมาตรฐานการบัญชี จุดที่มีปัญหาในการจัดทำบัญชี

การจัดทำบัญชีผิดพลาด แก้ได้เมื่อไร กระทบงบการเงินหรือไม่


หัวข้อสัมมนา

นำเสนองบการเงิน

1. แนวทางในการจัดทำบัญชีและงบการเงินให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชีและทิศทางการจัดทำบัญชีของ PAEs และ NPAEs

2. ข้อควรระวังในการแสดงรายการในงบแสดงฐานะการเงิน

3. ลักษณะเชิงคุณภาพของงบการเงิน มีความหมายอย่างไรและอย่างไรจึงจะถือว่าเป็นงบการเงินลักษณะเชิงคุณภาพ

4. เกณฑ์ในการวัดมูลค่ารายการในงบการเงิน ตามกรอบแนวคิดของการจัดทำงบการเงินเป็นอย่างไร

5. เกณฑ์การนำเสนองบการเงินที่แตกต่างกันระหว่างกิจการ PAEs และNPAEs

6. มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนองบการเงินและรูปแบบรายการย่อ

รับรู้รายได้

7. รับรู้รายได้รูปแบบใหม่มีผลกระทบกับกิจการอย่างไร

8. ฝากขายสินค้า รับรู้รายได้ ณ จุดไหนหากไม่ได้ทำสัญญาตัวแทน

9. การขายสินค้าเงื่อนไข F.O.B และ C.I.F รับรู้รายได้ ณ จุดไหนที่ถูกต้อง

10.“ดอกเบี้ยรับ” รับรู้ตามอัตราในสัญญาหรือ Effective Interest Rate จึงจะถูกหลักบัญชี

นโยบายการบัญชีและการเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชี

11. การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีมีผลกระทบต่อการจัดทำบัญชีอย่างไร

12. อย่างไรที่ไม่ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงนโยบายการบัญชี

13. ข้อผิดพลาดในงวดก่อน หมายถึงอะไรและต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่มีสาระสำคัญงวดก่อนอย่างไร

14. หากเกิดข้อจำกัดที่ทำให้ไม่สามารถปรับงบการเงินย้อนหลังได้ ต้องปฏิบัติอย่างไร

ลูกหนี้

15. การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญมีกี่วิธี อะไรบ้าง

16. การตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญบังคับให้ทำหรือไม่มีเกณฑ์อย่างไรจึงจะตัดเป็นหนี้สูญได้

17. เมื่อใดกิจการต้องรับรู้ประมาณการหนี้สิน

18. วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญ

19. อย่างไรจึงจะถือว่าเป็นประมาณการที่ดีที่สุด

20. การนำประมาณการหนี้สินมาใช้มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้องอย่างไร

21. การเปลี่ยนแปลงจำนวนหนี้สงสัยจะสูญ กิจการต้องรับรู้ผลกระทบโดยวิธีใด

22. การรับรู้รายได้จากดอกเบี้ยรับจากลูกหนี้ ตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องรายได้ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

23. วิธีปฏิบัติหากลูกหนี้ยังไม่ชำระหนี้เมื่อครบกำหนดแล้ว และกิจการได้มี

การดำเนินการทวงถามหนี้จากลูกหนี้จนถึงที่สุดแล้ว และคาดหมายได้ค่อนข้างแน่นอนว่าจะไม่ได้รับชำระหนี้

24. หากลูกหนี้ที่กิจการตัดจำหน่ายไปแล้วมาชำระหนี้ให้แก่กิจการ จะต้องลงบัญชีอย่างไรบ้าง

สินค้าคงเหลือ

25. การวัดมูลค่าของสินค้าคงเหลือ ต้องวัดมูลค่าด้วยราคาทุนหรือมูลค่าสุทธิที่จะได้รับ

26. ในการคำนวณต้นทุนสินค้าเมื่อขาย กิจการควรเลือกใช้วิธีการคำนวณต้นทุนสินค้าที่ขายโดยใช้วิธีใดดีที่สุด

27. ปัญหาของการตีราคาสินค้าคงเหลือ

28. กิจการสามารถรับรู้สินค้าคงเหลือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่ อย่างไร

29. นับ Stock จริงแล้วมีสินค้าขาดหรือเกินจากบัญชี

30. เหตุการณ์ที่ทำให้มูลค่าสุทธิที่คาดว่าจะได้รับน้อยกว่าต้นทุนสินค้า และหากเกิดขึ้นมีแนวปฏิบัติอย่างไร

31. ประเด็นที่มักผิดพลาดเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนสินค้า รวมถึงกรณีมี

ผลิตภัณฑ์หลายชนิดในสายการผลิตร่วมกันปัญหาในการคำนวณต้นทุนสินค้าให้ถูกต้อง

32. การขาดทุนจากสินค้าสูญหาย หรือไฟไหม้บันทึกบัญชีอย่างไร

33. การบันทึกบัญชีสินค้ากรณีสินค้าไม่ได้มาตรฐาน และเศษซาก

34. ในกรณีที่บริษัทมียอดสินค้าคงเหลือตามบัญชีแต่ความเป็นจริงไม่มีแล้ว

ซึ่งอาจเกิดการทำบัญชีผิดพลาด จะมีวิธีปรับปรุงรายการอย่างไรให้ถูกต้อง

ที่ดิน อาคาร อุปกรณ์

35. การรับรู้รายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ กิจการ NPAEs สามารถรับรู้ได้วิธีใดได้บ้าง

36. ซื้ออะไหล่มาใหม่และยังไม่ได้มีกำหนดเริ่มใช้งาน จะเริ่มคิดค่าเสื่อมราคาเมื่อใด

37. กรณีอะไหล่ยังไม่เบิกใช้แต่อยู่ระหว่างปิดงบต้องคิดค่าเสื่อมหรือไม่

38. ระหว่างสินทรัพย์หยุดใช้งานชั่วคราวหรือสินทรัพย์สิ้นสุดการใช้งาน แต่ยัง

ไม่ได้ทำลายหรือขายทิ้งควรคิดค่าเสื่อมต่อไปหรือไม่และแสดงรายการในงบการเงินอย่างไร

39. ต้นทุนที่เกิดขึ้นในภายหลังเมื่อมีการซ่อมบำรุง ต่อเติม ดัดแปลง ปรับปรุง

เปลี่ยนแทนส่วนประกอบของรายการที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ ค่าใช้จ่ายใน

การรื้อ ขนย้าย บูรณะ จะบันทึกบัญชีอย่างไร

40. ณ วันสิ้นรอบ ประมาณการในการรื้อหรือบูรณะสถานที่ปรับปรุงอย่างไร

41. แนวคิดการพิจารณาส่วนประกอบของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ จะแยกส่วนประกอบโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างไร

42. ซื้อคอมพิวเตอร์มาใช้ในกิจการ ซอฟแวร์ที่ติดมากับคอมพิวเตอร์จะบันทึกบัญชีแยกหรือรวมกัน

43. หากไม่ได้ทำ Component Accounting ตอนได้มาซึ่งสินทรัพย์แต่ตอน

เปลี่ยนส่วนประกอบใหม่อยากเอาส่วนประกอบใหม่มาขึ้นทะเบียนเป็น

สินทรัพย์ สามารถทำได้หรือไม่

44. ต้นทุนในการเตรียมสถานที่ (ค่าถมที่,ค่าปรับหน้าดิน เป็นต้น) จะรวม

เป็นต้นทุนของที่ดินหรืออาคารที่จะก่อสร้าง

เรื่องใหม่ๆ

45. ขายสินค้าโดยมีโปรแกรมแต้มสะสม ต้องประมาณมูลค่ายุติธรรมของแต้มสะสม และรับรู้เป็นรายได้รับล่วงหน้าหรือไม่

46. การประเมิน Fair Value ของแต้มสะสมและการปรับปรุงรายการแต้มสะสม

47. สิทธิการเช่าถือเป็นสินทรัพย์ไม่มีตัวตนหรือค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า

48. หากกิจการไม่มีการกำหนดนโยบายการเกษียณพนักงาน จะต้องรับรู้ประมาณการหนี้สินหรือไม่ อย่างไร

49. การประมาณการหนี้สินผลประโยชน์ของพนักงานสำหรับกิจการ NPAEs

หากไม่ได้ใช้นักคณิตศาสตร์ประกันภัย ต้องรับรู้และคำนวณประมาณการ

หนี้สินเงินชดเชยกฎหมายแรงงานวิธีใด

50. การเปิดเผยข้อมูลในหมายเหตุประกอบงบการเงิน หากไม่สอดคล้องกับ

นโยบายที่ใช้อยู่จริงมีแนวทางปรับปรุง แก้ไขอย่างไร

51. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์บุญศรี เตชะวรุตมะ

สถานที่

โรงแรมดุสิตปริ๊นเซส ศรีนครินทร์
53 Srinakarin Road, Nongbon, Pravet Bangkok, Nong Bon, Prawet, Bangkok 10250
โทรศัพท์ :
02 721 8400
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า MRT สถานีสวนหลวง ร.9 ทางออกที่ 1 (ห่างจากสถานี 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba