บรรยายโดย อาจารย์สิทธิศักดิ์ ศรีธรรมวัฒนา
หัวข้อสัมมนา
ประเด็น...การปรับปรุงเกี่ยวกับการทำสัญญาจ้างแรงงาน
1. ประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่ทำงาน
- กรณีการย้ายสถานประกอบการ มีหลักเกณฑ์อย่างไร?
- กรณีการโอนย้ายลูกจ้างระหว่างกลุ่มบริษัท
2. ประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการทดลองงาน
- ในสัญญาระบุทดลองงานกี่วัน จึงจะบอกกล่าวล่วงหน้าน้อยที่สุด
- กรณีไม่ผ่านทดลองงาน ไม่อยากบอกล่วงหน้า จะทำสัญญาแบบไหนดี ?
- เขียนสัญญาว่า ไม่ผ่านทดลองงาน ไม่ต้องบอกล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ได้ไหม ?
- เขียนสัญญาว่าห้ามตั้งครรภ์ระหว่างทดลองงาน หรือ ระหว่างทำงาน ลูกจ้างลงชื่อรับทราบแล้วได้ไหม ?
3. ประเด็นรายละเอียดวันหยุด วันลา
- กรณีไม่ต้องการใช้ลูกจ้างนำวันหยุดที่ไม่ได้ใช้ในปีนี้ไปใช้ในปีถัดไป
4. ประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา
- ไม่เขียนเรื่องสิ่งประดิษฐ์คิดค้นเป็นของบริษัท บริษัทฯเสียหายเป็นล้านอย่างไร ?
- ไม่เขียนห้าม LOAD ข้อมูลใด ๆ อันมีลิขสิทธิ์มาใช้งาน เสียหายเป็นล้านอย่างไร ?
5. ประเด็นรายละเอียดการห้ามทำงานและค้าแข่ง/รักษาความลับ
- สัญญาห้ามไปทำงานกับคู่แข่ง เขียนไว้แล้วใช้ได้หรือไม่ ?
- สัญญารักษาความลับ กรณีลูกจ้างที่ปฏิบัติหน้าที่นั้นสามารถรักษา ความลับตลอดไปทำได้หรือไม่
6. ประเด็นรายละเอียดเกี่ยวกับการเจ็บป่วย/ทุพพลภาพ
- ลูกจ้างบาดเจ็บ เสียอวัยวะ จากการทำงาน จะเรียกค่าเสียหาย จากนายจ้างได้ไหม ป้องกันอย่างไร ?
7. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดการจ้าง
- อยากจะชะลอค่าจ้าง คนที่ลาออกไม่ถูกระเบียบ จะเขียนสัญญาว่าอย่างไร?
- ช่วงสุดท้ายที่ลาออก สามารถห้ามพักร้อนได้หรือไม่ ?
- มาสาย ขาดงาน ไม่อยากจ่ายเงิน ต้องเขียนว่าอย่างไร ?
- อยากลดตำแหน่ง ลดค่าจ้าง จะเขียนสัญญาว่าอย่างไร จึงจะลดได้ ?
- สัญญาจ้างต้องให้สำเนาลูกจ้างหรือไม่ ?
8. ประเด็นเกี่ยวกับการจ้างงานหลังเกษียณอายุจ้างเป็นที่ปรึกษา
- จ้างต่อเนื่องหลังเกษียณ ต้องเขียนสัญญาว่าอย่างไร จึงจะดี ?
- ทำสัญญาจ้างเป็นที่ปรึกษา ทำไมต้องจ่ายค่าชดเชยอีก ?
9. จ้าง รปภ./คนขับรถส่วนตัว กลายเป็นลูกจ้างตามกฎหมายเพราะอะไร ?
10. จ้างรายปีต่อเนื่องหลายปีนับอายุงานต่อเนื่อง เลิกจ้างต้องจ่าย ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยไหม ?
11. กรณีเลิกจ้าง ลูกจ้างรับเงินไปแล้ว แต่ทำไมยังสามารถฟ้องร้องบริษัทภายหลังได้อีก ?
12. การเขียนสวัสดิการ เช่น ค่าตำแหน่ง ค่าน้ำมัน ค่าโทรศัพท์ฯลฯ ไว้ในสัญญาจ้างกลายเป็นค่าจ้าง ถูกลูกจ้างนำไปฟ้องเสียเงินเพิ่มเป็นล้าน และเรื่องนี้นายจ้างแพ้คดี 99.99 %
ประเด็น....การปรับปรุงเกี่ยวกับการจัดทำข้อบังคับการทำงาน
1. องค์ประกอบสำคัญที่จะต้องจัดทำการเขียนสวัสดิการ ที่ฝ่าย HR ต้องรู้ เพื่อบริหารจัดการให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานฉบับใหม่
- องค์ประกอบสำคัญที่กฎหมายกำหนด
- ข้อที่กฎหมายไม่กำหนด ที่ไม่ควรใส่ในข้อบังคับมีเรื่องอะไรบ้าง ?
- ข้อที่ต้องใส่เพิ่มเข้าไป เพื่อใช้สิทธิทางการบริหารมีอะไรบ้าง ?
2. วันทำงานและเวลาทำงาน
- กรณีสำนักงานใหญ่/สำนักงานสาขา / โรงงาน จะต้องมีวันเวลาทำงาน เหมือนกันหรือไม่ ?
- บริษัทไม่มีการเข้ากะ ต้องเขียนเวลาเข้ากะไว้ไหม ?
- วันและเวลาทำงาน กรณี Work form Home
- เวลาพัก เวลาทำงาน วันหยุด ของพนักงานขาย จะต่างจากพนักงาน สำนักงานได้ไหม ?
3. วันหยุดและหลักเกณฑ์วันหยุด
- หลักเกณฑ์ในการกำหนดวันหยุดตามประเพณี
- ระเบียบการหยุด การลา ที่มีปัญหามาก จะกำหนดให้ชัดต้องเขียน อย่างไร ?
- ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวันลาพักร้อน ซึ่งเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปี สิทธิในการให้ลา
เป็นของนายจ้างหรือลูกจ้าง
- กรณีลูกจ้างไม่ได้ใช้สิทธิหยุดในวันหยุดพักผ่อนประจำปีนายจ้างจะต้องปฏิบัติอย่างไร?
และเขียนในข้อบังคับอย่างไร?
4. วันลาและหลักเกณฑ์วันลา
- ไม่มีการกำหนดวันลากิจธุระจำเป็น หรือกำหนดไว้แต่ไม่เท่ากับที่ กฎหมายกำหนด จะต้องปฏิบัติอย่างไร?
- กรณีลาคลอดของลูกจ้างหญิง
- คนที่ลาครึ่งวันเช้า กรณีทำโอทีจะได้โอทีหรือไม่ ?
- คนที่ลาป่วยเกิน 30 วัน แล้วต้องจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายสวัสดิการต่อเนื่องไหม ?
- ลาป่วย 1 – 2 วัน ต้องมีใบรับรองแพทย์ไหม ?
- การลากิจ ลาพักร้อน การลาไปตรวจครรภ์ที่ชัดเจนปฏิบัติได้ ต้องเขียนอย่างไร ?
5. วินัยและโทษทางวินัย/การร้องทุกข์
- กระบวนการร้องทุกข์ไม่เคยมีคนร้องทุกข์ต้องเขียนไว้ไหม ?
- ความผิดทางวินัยและการลงโทษที่ดีควรเขียนอย่างไร ?
- ทำผิดส่วนตัวนอกบริษัท จะลงโทษได้หรือไม่ พิจารณาจากตรงไหน ?
6. การเลิกจ้าง ค่าชดเชยและค่าชดเชยพิเศษ
- การเลิกจ้างและอัตราค่าชดเชย กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ต้องเขียนไว้ในข้อบังคับไหม ?
- อัตราค่าชดเชย สำหรับลูกจ้างอยู่นานจะต้องจ่ายเท่าไหร่
7. อัตราดอกเบี้ย กรณีนายจ้างผิดนัดแก่ลูกจ้าง อัตราร้อยละ 15 ต่อปี มีกรณีใดบ้าง? และส่งผลกระทบกับนายจ้างอย่างไร?
|