ทราบหรือไม่!!! อยากเสียภาษีน้อยต้องวางแผนการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ • Update ประเด็นการหักค่าเสื่อมทรัพย์สินใหม่ทำอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย • ทราบหรือไม่? ถ้าค่าเสื่อมทางบัญชีคิดมากกว่าทางภาษีต้องปรับปรุง ในทางกลับกันถ้าค่าเสื่อม ทางบัญชีน้อยกว่าก็ให้หักตามหลักบัญชี • ทราบหรือไม่? มีทรัพย์สินบางประเภทสามารถหักค่าเสื่อมได้เพิ่มขึ้น • ทราบหรือไม่? การคิดค่าเสื่อมกับการลงรายจ่ายต่างกันอย่างไร • ความแตกต่างระหว่าง “ซ่อมแซม” กับ “การลงทุน เปลี่ยนแปลงทำให้ดีขึ้น” พิจารณาอย่างไร • ทราบหรือไม่? การใช้สิทธิประโยชน์การหักค่าเสื่อมทางภาษีจะประหยัดภาษีมากกว่าครึ่ง • เคยหรือไม่? จัดทำกระดาษทำการเปรียบเทียบการหักค่าเสื่อมทางบัญชีกับทางภาษีอากร
วิทยากรโดย อาจารย์รุ่งทิพย์ ธัญวงษ์
หัวข้อสัมมนา
1.หลักเกณฑ์การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินตามหลักเกณฑ์ของสรรพากร ที่นักบัญชีพลาดไม่ได้
- ความแตกต่างระหว่างสินทรัพย์ กับค่าใช้จ่าย
- หลักเกณฑ์สำคัญการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน
- ประเภททรัพย์สินที่ต้องพิจารณา
- “ซ่อมแซม” กับ “การลงทุน เปลี่ยนแปลง การขยายออก หรือทำให้ดีขึ้น” พิจารณาอย่างไร
2.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรออาคารถาวร อาคารชั่วคราว
3.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนา
- กรณีได้สิทธิหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอเบื้องต้นอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุนจะเฉลี่ยตามวันได้ หรือไม่
- เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่ใช้สำหรับการวิจัยและพัฒนาต้องมีลักษณะอย่างไร
4.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินของอาคารโรงงานและทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรของธุรกิจ SMEs
5.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินราคาของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสาร ที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 ที่นั่ง
6.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอประเภทเครื่องบันทึกการเก็บเงิน
7.ปัญหาการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ของคอมพิวเตอร์อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์
8.การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินอย่างอื่นพิจารณาอย่างไร
- อุปกรณ์เครื่องเขียนที่มีมูลค่าไม่มากจะลงรายจ่ายได้หรือไม่หรือต้องคิดค่าเสื่อม
- ทรัพย์สินที่แตกหักง่าย เช่น แก้วน้ำที่ซื้อมาหลายๆ ใบจะหักค่าเสื่อมเป็นกลุ่มได้หรือไม่
9.การหักค่าสึกหรอ ค่าเสื่อมราคากรณีตีราคาทรัพย์สินเพิ่มขึ้นหรือต่ำลงจะหักค่าเสื่อมต้นทุนเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินต่างๆ
- แหล่งทรัพยากรธรรมชาติ - การได้มาซึ่งสิทธิการเช่า
- การได้มาซึ่งสิทธิ สูตร กู๊ดวิลล์ เครื่องหมายการค้า สิทธิบัตร ลิขสิทธิ์ หรือสิทธิอย่างอื่น
10.ปัญหาที่เกิดจากดอกเบี้ยกู้ยืม
- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะถือเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย
- กรณีกู้ยืมเงินจากต่างประเทศเพื่อซื้อทรัพย์สิน กำไร-ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจะถือเป็นต้นทุนของทรัพย์สินหรือไม่
- กรณีทำสัญญากู้ยืมเพื่อก่อสร้างอาคารดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นต้องถือเป็นต้นทุนคิดค่าเสื่อมหรือไม่
- ทำสัญญากู้ยืมแยกเป็น 2 สัญญา สัญญาหนึ่งกู้เพื่อซื้อที่ดินอีกสัญญาหนึ่งกู้เพื่อก่อสร้างอาคารคิดค่าเสื่อมอย่างไร
- กรณีกู้ยืมเพื่อซื้อทรัพย์สินหลายประเภทแล้วไม่สามารถแยกดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้จะต้องปฏิบัติอย่างไร
- กรณีกู้ยืมเพื่อใช้ในการประกอบกิจการและซื้อด้วยจะคิดค่าเสื่อมอย่างไร
11.วิธีการเฉลี่ยตามส่วนกรณีที่ได้ทรัพย์สินมาไม่เต็ม 12 เดือนจะเฉลี่ยอย่างไร
12.มูลค่าซากทางบัญชี ภาษียอมรับหรือไม่
13.ถ้าค่าเสื่อมทางบัญชีให้หักค่าเสื่อมได้มากกว่าทางภาษีต้องปรับปรุงหรือไม่
14.การทำลายทรัพย์สินที่ไม่สามารถใช้งานได้ต้องปฏิบัติอย่างไร
- ต้องแจ้งสรรพากรหรือไม่
- ถ้าทรัพย์สินนั้นยังขายได้แต่บริษัทเลือกที่จะทำลาย สรรพากรยอมให้ทำลายหรือไม่
15.กรณีจะตัดทรัพย์สินออกจากบัญชีทรัพย์สินปฏิบัติอย่างไรจึงจะได้ประโยชน์สูงสุด
- ขาย - ทำลาย - บริจาค
- ถ้าขายจะขายในราคา Book Value ได้หรือไม่ (สมมุติเหลือ 1 บาท)
16.จำเป็นหรือไม่ที่ต้องทำกระดาษทำการเพื่อเปรียบเทียบ การหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน ทางบัญชีกับทางภาษีอากร
17.จะต้องหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สินอีกหรือไม่ ถ้า..
- เลิกใช้งาน - ชำรุด - เลิกผลิต
- เสื่อมคุณภาพ - หมดสัมปทาน - หมด Line sense
- ถูกบังคับคดีแล้ว ซื้อคืนได้จากการขายทอดตลาด
18.การเปลี่ยนวิธีการหรืออัตราในการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอทรัพย์สิน สามารถทำได้หรือไม่
19.การวางแผนภาษีจากการหักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอ ทรัพย์สินของกิจการ
- ทรัพย์สินที่ได้มาโดยการเช่าซื้อ, ลิสซิ่ง จะวางแผนอย่างไร
- รอบระยะเวลาบัญชีและงบกำไรขาดทุน มีผลอย่างไร
- วางแผนการรับมอบงาน หรือทรัพย์สิน
- การหักค่าเสื่อมโดยใช้ Double declining balance method ต้องปรับปรุงทางภาษีหรือไม่ อย่างไร
20.การวางแผนภาษีจากสิทธิประโยชน์ของทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อมได้เพิ่มขึ้นเพื่อประโยชน์สูงสุดของกิจการ
- ทรัพย์สินที่หักค่าเสื่อม ค่าสึกหรอได้อย่างเดียว กับทรัพย์สินที่สามารลงรายจ่ายได้เพิ่มขึ้น
- สิทธิประโยชน์ทางภาษีจากการซื้อทรัพย์สินมาใช้ในระบบอิเล็กทรินิกส์ทางภาษีมีอะไรบ้าง
เงื่อนไขการเข้าอบรม 1. กำหนดจำนวนผู้เข้าสัมมนา 1 ท่าน / 1 User 2. ผู้เข้าสัมมนาต้องเข้าห้องสัมมนาก่อนเวลาที่ระบุไว้อย่างน้อย 20 นาที 3. ผู้เข้าสัมมนาต้องตั้งชื่อบัญชี ZOOM เป็นชื่อ-นามสกุลจริงด้วยภาษาไทย ให้ตรงตามบัตรประชาชน 4. ผู้เข้าสัมมนาสามารถกดปุ่มยกมือ (Raise Hand) หรือพิมพ์ข้อคำถาม ผ่านทางช่องแชทได้ในระหว่างอบรม 5. หนังสือรับรองจะจัดส่งให้ทาง e-mail ภายใน 3 วันทำการ หลังเสร็จสิ้นการอบรม
หลักสูตรนี้จะมีการบันทึกเสียงและภาพของผู้เข้าอบรมทุกคนตลอดระยะเวลาการอบรม เพื่อใช้เป็นหลักฐานนําส่งสภาวิชาชีพบัญชี ** ห้ามบันทึกเสียง ภาพ วีดีโอ แชร์ หรือนำไปเผยแพร่โดยเด็ดขาด (สงวนลิขสิทธิ์) **
|