ปัญหาทางบัญชีธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ในยุคดิจิทัล

รหัสหลักสูตร : 21/2348

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

1. Update การใช้อัตราแลกเปลี่ยนตามพระราชบัญญัติฉบับใหม่เรื่องสกุลเงินที่ใช้ในการดำเนินงาน (Functional Currency)

2. อะไรคือ Functional Currency บังคับใช้เมื่อใด และกระทบกับรายการที่มีอยู่เดิมอย่างไร

3. ผลประโยชน์ที่สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศและบริษัทการค้าระหว่างประเทศในประเทศไทยจะได้รับจากการใช้ Functional Currency อย่างเป็นรูปธรรมคืออะไร

4. โครงสร้างธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ในยุคดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปในทางใดบ้าง

5. ระบบเอกสารที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งด้าน บัญชีและภาษีอากร

- เอกสารทางการเงิน

- เอกสารทางการค้า

- เอกสารทางการขนส่ง

6. การวางระบบบัญชีสำหรับธุรกิจนำเข้า-ส่งออก ให้ถูกต้องและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคดิจิทัล

- การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายจะรับรู้เมื่อใด ให้สอดคล้องกับเงื่อนไขในสัญญา

- การบริหารรายได้ ต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการนำข้าส่งออกให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

- รายได้และค่าใช้จ่ายตามประมวลรัษฎากรกับภาระภาษีที่ต้องเสียต่างกับรายได้ทางบัญชีอย่างไร

- ปัญหาการรับรู้รายได้ของธุรกิจส่งออกที่เกิดขึ้นเป็นประจำจะแก้ไขได้ด้วยวิธีการใด

- การบันทึกรายการบัญชีและการคำนวณต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการนำเข้าและส่งออกที่ต้องพิจารณาเป็นพิเศษมีอะไรบ้าง

7. อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มและการบันทึกรายการบัญชีแตกต่างกัน

หรือไม่อย่างไร หลังประกาศเรื่องการใช้ Functional Currency

- การบันทึกบัญชีการนำเข้าสินค้าต่างประเทศจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนใด

- การบันทึกบัญชีการหักภาษี ณ ที่จ่ายและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อได้รับหรือจ่ายเงินต่างประเทศ

- กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทางบัญชีและภาษีอากรแตกต่างกันหรือไม่อย่างไร

และควรแสดงอย่างไรในงบการเงิน

8. เครื่องมือทางการชำระเงิน การใช้อนุพันธ์ด้านการเงินในการบริหารความเสี่ยงมีวิธีการใดบ้างมีเทคนิคในการเลือกใช้อย่างไร

- การบันทึกบัญชีซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสามารถเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินแบบใดบ้าง เช่น การทำสัญญา Forward หรือ Spot

- การบันทึกรายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศตามการเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินแต่ละแบบ

- เงื่อนไขที่สร้างความได้เปรียบเสียเปรียบที่ควรพิจารณา

9. สิทธิประโยชน์ของคลังสินค้าทัณฑ์บน (Boned Warehouse) เขตปลอดอากร (Free Zone) ตามกฎหมายศุลกากรฉบับใหม่ เหมาะสำหรับองค์กรแต่ละองค์กรอย่างไร

10. มีหลักเกณฑ์การดำเนินการและการบันทึกรายการบัญชีอย่างไรสำหรับคลังสินค้าทัณฑ์บนในเรื่องดังต่อไปนี้

- ต้องเสียอากรอย่างไร

- แสดงและขายของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน

- ผลิต ผสม ประกอบ บรรจุ หรือดำเนินการด้วยวิธีอื่นใดกับของที่เก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บน

11. การคำนวณเงินอากรสำหรับของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อจำหน่ายในประเทศและการนำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน

- ต้องเสียอากรอย่างไร

- ขั้นตอนและวิธีการนำของออก

- กรณีนำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าไปยังคลังสินค้าทัณฑ์บนอื่น

- กรณีนำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าไปยังเขตปลอดอากร

- การนำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อจำหน่ายให้กับกิจการ BOI

12. Case ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับนักบัญชีและผลกระทบที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง

- เขตอุตสาหกรรมส่งออกกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เกี่ยวข้อง

- ปัญหาที่พบมากในการจัดทำรายงานภาษีขายของผู้ส่งออก

- กรณีการนำสินค้าและบริการเข้าในเขตปลอดอากร ควรปฏิบัติอย่างไร

- การส่งสินค้าที่มีการโอนหรือแลกเปลี่ยน จะต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักภาษี

- กรณีส่งออกสินค้าโดยจ้างกิจการรับจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศ จะต้องปฏิบัติอย่างไร

- กรณีส่งออกสินค้าทางไปรษณีย์เสียภาษีอัตราใด

- การให้บริการกระทำในต่างประเทศและได้มีการบริการในราชอาณาจักร

- การจ่ายเงินกำไรไปต่างประเทศ

- อย่างไรถือเป็นตัวแทนของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต่างประเทศ

- ปัญหาและแนวปฏิบัติการผ่านพิธีการทางศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์

- กระบวนการศุลกากรโดยวิธีทางอิเล็กทรอนิกส์และการยื่นรายงานการนำเข้า

- การนำสินค้าออกจากเขต EPZ จะถือเป็นการนำเข้าหรือไม่ และต้องบันทึกบัญชีอย่างไร

- การหักภาษี ณ ที่จ่าย ค่าใช้จ่ายกับ Freight Forwarder ควรหักอย่างไรทั้งค่าใช้จ่ายที่เกิดในต่างประเทศไม่มี VAT และค่าใช้จ่ายในประเทศที่มี VAT

- กรณีได้รับสินค้าตัวอย่างจาก Supplier ต่างประเทศ ภาษีซื้อที่เกิดขึ้นสามารถ

- การคำนวณเงินอากร กรณีของที่เก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนสูญหายหรือถูกทำลาย Claim กับสรรพากรได้หรือไม่

- ใช้หลักเกณฑ์อะไรในการเรียกเก็บอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบ รวมถึง เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม

- การกักของ ขายทอดตลาด และการริบทรัพย์สินส่งผลกระทบทางบัญชีอย่างไร

- หลักเกณฑ์ในการขอคืนอากรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทางบัญชีและการบริหารควรดำเนินการอย่างไร

- อายุความในการเรียกเก็บอากรที่ไม่ได้เสียหรือเสียไม่ครบมีอายุความเท่าใด

13. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba