137 ประเด็นปัญหาภาษีอากรพร้อมการปรับปรุงเเละวิธีเเก้ไขที่ถูกต้อง

รหัสหลักสูตร : 23/4921/1

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อสัมมนา

1. ภาระภาษีอากรที่สำคัญสำหรับธุรกิจขายสินค้าและให้บริการ

2. ความแตกต่างภาระภาษีอากรของธุรกิจขายสินค้าและให้บริการ

3. การให้บริการเมื่อมีการจ่ายเงินต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% เสมอไปหรือไม่

4. ประเด็นปัญหาในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มักเกิดความผิดพลาด

5. นอกเหนือจากบริษัทและห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลแล้ว ยังมีนิติบุคคลประเภทใดที่ให้สิทธิประโยชน์ในการเสียภาษีอากร

6. การนำเงิน ทรัพย์สินไปลงทุนในกิจการอื่น ทำอย่างไรจึงจะประหยัดภาษีสูงสุด

7. การขายสินค้าหรือให้บริการต่ำกว่าราคาตลาดทำได้หรือไม่ และอะไรคือราคาตลาดตามประมวลรัษฎากร

8. กิจการขายสินค้าหรือให้บริการในราคาเท่าทุน หรือ ต่ำกว่าทุนทำได้หรือไม่ แนวปฏิบัติที่สำคัญ

9. การให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ พนักงาน หรือบริษัทในเครือมีภาระภาษีอะไรบ้าง และไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่

10. การให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ พนักงาน หรือบริษัทในเครือไม่คิดดอกเบี้ยได้หรือไม่

11. การให้กู้ยืมเงินแก่กรรมการ พนักงาน หรือบริษัทในเครือต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะหรือไม่ มีข้อยกเว้นหรือไม่

12. นอกจากการขายสินค้าและการให้บริการแล้ว กิจการไม่มีรายอื่นๆ ได้หรือไม่ อะไรคือรายได้อื่น

13. มีรายได้อะไรบ้างที่มักถูกเจ้าพนักงานประเมินใช้อำนาจประเมิน

14. รายได้ที่กิจการได้รับและถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย จะแสดงรายได้อย่างไรในงบการเงิน

15. กำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนมีหลายรายการต่อปี ต้องนำมารวมหรือแยกออกจากกันในงบการเงิน

16. การแปลงค่าเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยจะใช้อัตราแลกเปลี่ยนใด เมื่อใด และเพราะเหตุใด

17. หากกิจการจ่ายเงินค่าบริการแล้วไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายมีความผิดหรือไม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร

18. การออกภาษีหัก ณ ที่จ่ายแทนผู้รับเงิน จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ และผู้รับเงินถือเป็นรายได้หรือไม่

19. ได้รับเงินช่วยเหลือหรือเงินให้เปล่าจากบริษัทแม่ต้องนำมาถือเป็นรายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิหรือไม่ 
และต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มและต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

20. รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ และรายจ่ายต้องห้ามต้องระมัดระวังอะไรบ้าง

21. เมื่อกิจการมีรายจ่ายต้องห้ามจะต้อง “บวกกลับ” ทุกรายการหรือไม่ ประเด็นการปรับปรุงกำไรสุทธิ

22. วิธีพิจารณาเอกสารรายจ่ายอย่างไร จึงจะทราบได้ว่าเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม

23. ซื้อของ ซื้อสินค้า ไม่มีบิล ไม่มีหลักฐานการรับเงิน ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

24. ค่าพาหนะจะต้องมีบิลทุกรายการหรือไม่ หากไม่มีบิลทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

25. รายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ หากไม่มีบิล ทำอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ตามประมวลรัษฎากร

26. นอกจากบิลเงินสด ใบเสร็จรับเงิน และใบกำกับภาษีแล้ว ยังมีเอกสารอื่นที่จะใช้แทนการรับเงินมีหรือไม่

27. จ่ายเงินให้กับผู้รับเงินเป็นบุคคลธรรมดา ไม่มีร้านค้า จะต้องทำเอกสารอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้

28. จ่ายเงินซื้อของ ซื้อสินค้า ผู้รับเงินแนบนามบัตรกับบิลเงินสดมาให้ จะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

29. มีวิธีพิจารณาอย่างไรว่า รายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นรายจ่ายต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

30. มีวิธีพิจารณาอย่างไรว่า เป็น “รายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา” เป็นรายจ่ายต้องห้ามในการคำนวณกำไรสุทธิ

31. กิจการให้พนักงานเบิกค่าโทรศัพท์มือถือได้เดือนละ 1,000 บาท จะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
และพนักงานถือเป็นเงินได้หรือไม่

32. กิจการให้พนักงานนำรถส่วนตัวมาใช้ในกิจการ มีค่าใช้จ่ายรถยนต์อะไรบ้างที่ไม่ถือเป็นเงินได้พนักงาน
และข้อยกเว้น

33. ทำอย่างไรจะให้ “รายจ่ายการกุศล” ถือเป็นรายจ่ายได้ในการคำนวณกำไรสุทธิ

34. การคำนวณ “รายจ่ายการกุศลสาธารณะ และรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬา” ที่ไม่เกินร้อยละ 2 ของ
กำไรสุทธิเป็นอย่างไร

35. ในระหว่างปีกิจการได้มีรายจ่ายการกุศล แต่เมื่อสิ้นรอบบัญชีกิจการประสบผลขาดทุนจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

36. บริจาคอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า

37. ประเด็นภาระภาษีจาก “ค่ารับรอง” ที่กิจการจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

38. เงื่อนไขของค่ารับรองที่กิจการต้องบวกกลับมีอะไรบ้าง

39. ได้รับบิลเงินสดเป็นค่าเลี้ยงรับรองลูกค้า บิลไม่ได้ระบุชื่อกิจการเป็นผู้จ่ายเงิน (ผู้ซื้อ) จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้
หรือไม่

40. การซื้อของขวัญ ของชำร่วยให้กับลูกค้าจะถือเป็นค่ารับรอง หรือ ค่าใช้จ่ายส่งเสริมการขาย ความแตกต่างที่สำคัญ

41. ให้เป็น “เงิน” “บัตรกำนัล” หรือ “บัตรของขวัญ” แก่ลูกค้า ถือเป็นค่ารับรองหรือไม่ ต้องบวกกลับหรือไม่

42. ความแตกต่างของ “สินทรัพย์” กับ “ค่าใช้จ่าย” มีหลักเกณฑ์อย่างไร

43. การกำหนดจำนวนเงิน เช่น 5,000 บาทขึ้นไปถือเป็นสินทรัพย์ ต่ำกว่า 5,000 บาทถือเป็นค่าใช้จ่าย ทำได้หรือไม่
สรรพากรยอมรับหรือไม่

44. อย่างไรถือเป็น “รายจ่ายอันมีลักษณะลงทุน” ต้องหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเสมอไปหรือไม่

45. หากกิจการมีการจ่ายค่าต่อเติม เปลี่ยนแปลง ขยายออก หรือทำให้ดีขึ้นซึ่งสินทรัพย์ จะถือเป็นต้นทุนสินทรัพย์หรือ
ถือเป็นค่าใช้จ่าย

46. รายจ่ายเล็กๆ น้อยๆ เช่น ค่าเครื่องคิดเลข, Thumb Drive, Power Bank จะถือเป็นสินทรัพย์หรือค่าใช้จ่าย

47. หลักเกณฑ์สำคัญในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาที่ต้องไม่พลาด

48. คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคา 3 ปี แต่กิจการเลือกหัก 20% ต่อปีได้หรือไม่ หรือมี
อัตราอื่นให้เลือกหักได้อีก

49. เครื่องบันทึกการเก็บเงินเพื่อออกใบกำกับภาษีอย่างย่อหักได้ 100% จริงหรือไม่ หรือหักได้กี่อัตรา

50. เบี้ยปรับและเงินเพิ่มศุลกากร สรรพาสามิต สรรพากร ค่าปรับจราจร ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ
ได้หรือไม่

51. ภาษีซื้อมีสิทธิขอคืนได้ แต่กิจการเลือกที่จะไม่ขอคืนหรือเครดิตภาษีขายและได้นำมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายทำ
ได้หรือไม่

52. กิจการได้รับบิลเงินสด ใบเสร็จรับเงินจะต้องมีองค์ประกอบใดบ้างที่จะถือเป็นรายจ่ายได้ และบิลเงินสดที่ระบุชื่อผู้ซื้อ
สินค้าหรือรับบริการว่า “สด” หรือ “เงินสด” จะนำมาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

53. ขาดทุนสะสมยกมาไม่เกิน 5 ปี มีหลักเกณฑ์อย่างไร เลือกที่จะไม่ใช้สิทธิในการหักผลกำไรในบางปีได้หรือไม่

54. ขาดทุนสะสมของกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน (BOI) มีหลักเกณฑ์อย่างไร

55. รายจ่ายเพื่อหากำไรหรือเพื่อกิจการโดยเฉพาะมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณาอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

56. ค่าใช้จ่ายในการทำบุญเลี้ยงพระครบรอบปีของกิจการจะนำมาถือเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่

57. เงินทดรองจ่ายแทนบริษัทในเครือถือเป็นรายจ่ายของกิจการใด

58. ซื้อสมาชิกกอล์ฟ สโมสร สปอร์ตคลับจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่

59. หากกิจการซื้อรถยนต์เข้ามาใช้ในกิจการมีหลักในการพิจารณาอย่างไรระหว่างรถทั่วไปกับรถต้องห้าม

60. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนมีเงื่อนไขอย่างไรในทางภาษีอากร

61. หากกิจการซื้อรถยนต์นั่งมาในราคา 2,000,000 บาท ปีถัดไปนำออกขายได้ในราคา 1,000,000 บาท
จะถือเป็นกำไรหรือขาดทุนจากการจำหน่ายสินทรัพย์ในทางภาษีอากร หากกิจการคิดค่าเสื่อมราคา
ในอัตรา 20% ต่อปี

62. ค่าเช่ารถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนโดยวิธีลิสซิ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

63. ความแตกต่างในการเช่าซื้อ ผ่อนชำระ และลิสซิ่ง ผลกระทบในทางภาษีอากรที่ต้องระมัดระวัง

64. การให้สวัสดิการพนักงานอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ และพนักงานถือเป็นเงินได้หรือไม่

65. ข้อยกเว้นสวัสดิการพนักงานที่จะไม่ถือเป็นเงินได้ของพนักงาน

66. นายจ้างให้ลูกจ้างอยู่บ้านฟรี ลูกจ้างมีภาระภาษีอะไรบ้างและคำนวณอย่างไร

67. นายจ้างให้ลูกจ้างเบิกค่ารักษาพยาบาล ค่าคลอดบุตร ลูกจ้างต้องถือเป็นเงินได้หรือไม่

68. เครื่องแบบพนักงานต้องไม่เกิน 2 ชุดและเสื้อนอก 1 ตัว มีหลักเกณฑ์อย่างไร

69. พนักงานแต่งงาน ลาบวช เสียชีวิต เงินช่วยเหลือจะถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ และพนักงาน
ถือเป็นเงินได้หรือไม่

70. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 เตรส และมาตรา 50

71. หลักสำคัญ 4 ประการในการหักภาษี ณ ที่จ่ายที่ต้องเข้มงวด

72. การใช้เกณฑ์ในการหักภาษี ณ ที่จ่ายเมื่อกิจการจ่ายเป็นเงินสด เช็ค โอนเงิน

73. ข้อยกเว้นที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายมีอะไรบ้าง

74. อัตราภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ต้องแม่นยำเป็นพิเศษ

75. การจ่ายเงินตั้งแต่ 1,000 บาทมีหลักเกณฑ์การหักภาษี ณ ที่จ่ายอย่างไร

76. การจ่ายเงินค่านายหน้า ค่าที่ปรึกษา ค่าบำเหน็จจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราใด

77. การจ่ายเงินค่าสิทธิ ลิขสิทธิ์ ซอฟแวร์จะหักภาษีในอัตราใด

78. การจ่ายค่าดอกเบี้ยและเงินปันผลจะหักอัตราใด

79. ปัญหาในการจ่ายค่าเช่าทรัพย์สินที่เป็นสังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์

80. จ่ายเช่าอาคารต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่เจ้าของอาคารไม่ยอมให้หัก จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง

81. จ่าย “ค่าเช่าบูธ” เพื่อจัดงานแสดงสินค้าจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายอัตราใด

82. ผู้ให้เช่ากำหนดให้ผู้เช่าจ่ายค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน ค่าประกันภัยอาคาร ภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง

83. จ่ายค่าเช่าที่จอดรถจะต้องหักภาษีหรือไม่ หักอัตราใด

84. อย่างไรถือเป็น “วิชาชีพอิสระ” และอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย

85. จ้างผู้รับเหมาก่อสร้างมาก่อสร้างอาคาร แต่ผู้รับเหมาแยกบิลค่าแรงกับค่าวัสดุก่อสร้างออกจากกันจะ
หักภาษีอย่างไร

86. การจ่าย “รับจ้างทำของ” มีแนวปฏิบัติอย่างไร และอย่างไรถือเป็น “รับจ้างทำของ”

87. จ่ายค่าจ้างทำของ ผู้รับจ้างแยกรายการสินค้าและค่าแรงคนละบรรทัดจะหักภาษีอย่างไร

88. จ่ายค่าจ้างทำของ ผู้รับจ้างแยกบิลค่าสินค้า กับ บิลค่าแรง คนละใบจะหักภาษีอย่างไร

89. จ่ายค่าจ้างทำของ ผู้รับจ้างออกบิลใบเดียวไม่แยกค่าสินค้ากับค่าแรงออกจากกันจะหักภาษีอย่างไร

90. อย่างไรถือเป็น “ค่าขนส่ง” และข้อยกไว้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

91. “ค่าขนส่ง” ต้องจดทะเบียนขนส่งหรือไม่

92. “ค่าขนส่ง” จะต้องมีรถบรรทุกเป็นของตนเองหรือไม่

93. จ้างรถรับส่งพนักงานเช้าและเย็นจะต้องหักภาษีอัตราใด

94. จ้างพนักงานส่งเอกสารให้ส่งเอกสารให้จะต้องหักภาษีอัตราใด

95. การขายสินค้าพร้อมขนส่งจะหักภาษีอย่างไร

96. การให้บริการพร้อมขนส่งจะหักภาษีอย่างไร

97. ความแตกต่างระหว่างค่าเช่ารถกับค่าขนส่ง

98. จ่ายค่าเช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอัตราใด

99. การให้รางวัล ส่วนลด หรือประโยชน์ใดๆ เนื่องจากการส่งเสริมการขายมีประเด็นใดบ้าง

100. ระหว่างรางวัลเนื่องจากการส่งเสริมการขาย กับ รางวัลจากการประกวดแข่งขัน ชิงโชค แตกต่างกันอย่างไร

101. ส่วนลดในทางธุรกิจมีอะไรบ้าง ภาระภาษีของส่วนลดที่ต้องระมัดระวัง

102. การให้ส่วนลดการค้าจะมีภาระภาษีอะไรบ้าง

103. การให้ส่วนลดเงินสดจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่ และผู้รับส่วนลดจะต้องถือเป็นรายได้หรือไม่

104. ข้อยกเว้นการให้ส่วนลดที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย

105. บทลงโทษถ้าไม่ได้หักภาษี ณ ที่จ่าย หรือหักแต่ไม่ถูกต้อง

106. หลักเกณฑ์สำคัญของภาษีมูลค่าเพิ่ม

107. จุดความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของกิจการขายสินค้าหรือให้บริการ

108. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องเรียกเก็บจากลูกค้า

109. นำสินค้าไปให้เป็นของตัวอย่างลูกค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

110. ขายสินค้าพร้อมของแถมมีภาระภาษีอะไรบ้าง ต้องระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษ

111. การนำสินค้าไปให้ลูกค้าทดลองใช้มาภระภาษีอะไรบ้าง และมีข้อยกเว้นหรือไม่

112. การให้ของขวัญ ของชำร่วยอย่างไรจึงจะได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

113. ฐานภาษีจากการให้เครื่องแบบพนักงานมีหลักเกณฑ์อย่างไร

114. การให้อาหารกลางวันแก่พนักงานจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่

115. ฐานภาษีมูลค่าเพิ่มจากการส่งออกสินค้า

116. การส่งออกสินค้าจะต้องมีเอกสารใดบ้างประกอบการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0

117. ภาระภาษีจากการนำเข้าสินค้า เครื่องจักร วัตถุดิบ

118. ประเภทของใบกำกับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

119. หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการออกใบกำกับภาษีเต็มรูป

120. ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้ให้บริการพิมพ์ไม่ครบถ้วนมีบทลงโทษอย่างไร

121. ลืมพิมพ์หมายเลขโทรศัพท์หรือแฟกซ์ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

122. ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อหรือผู้รับบริการพิมพ์ไม่ครบถ้วนตามที่จดทะเบียนไว้ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

123. รายการในใบกำกับภาษีกรอกด้วยคอมพิวเตอร์ แต่วันที่ในใบกำกับภาษีใช้ลายมือเขียนได้หรือไม่

124. เล่มที่ เลขที่ของใบกำกับภาษีใช้ลายมือเขียนแทนการพิมพ์จากโรงพิมพ์ได้หรือไม่

125. ที่อยู่ของผู้ซื้อขาดชื่ออาคารตามที่จดทะเบียนไว้ จะขอคืนได้หรือไม่

126. ใบกำกับภาษีเต็มรูปห้ามขูดขีด ลบ ฆ่า แก้ไข มีหลักเกณฑ์อย่างไร

127. อย่างไรจึงจะถือว่า เป็น “เอกสารออกเป็นชุด”

128. ใบแทนใบกำกับภาษีมีหลักเกณฑ์ในการออกอย่างไร

129. การยกเลิกใบกำกับภาษีแล้วออกใบใหม่ต้องปฏิบัติอย่างไร

130. ได้รับสำเนาใบกำกับภาษี แต่ต้นฉบับสูญหายขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

131. ภาษีซื้อ และภาษีซื้อต้องห้ามมีหลักเกณฑ์อย่างไร

132. หลักเกณฑ์การพิจารณาว่า ใบกำกับภาษีที่ได้รับขอภาษีซื้อคืนหรือเครดิตภาษีขายได้

133. ภาษีซื้อห้ามขอคืน แต่ถือเป็นค่าใช้จ่ายได้มีอะไรบ้าง

134. ภาษีซื้อห้ามขอคืน และห้ามเป็นค่าใช้จ่ายต้องห้ามเป็นอย่างไร

135. ภาษีซื้อจากรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คนขอคืนได้หรือไม่

136. ภาษีซื้อค่าเลี้ยงรับรองขอคืนได้หรือไม่

137. ถาม-ตอบปัญหา

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมสวิสโฮเต็ล กรุงเทพฯ รัชดา
204 รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10320
โทรศัพท์ :
02-694-2222
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 2


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba