การวางแผนพร้อม Workshop การร่างสัญญาภาษีเงินได้ของแพทย์

รหัสหลักสูตร : 21/1681

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 10,700 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 12,840 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร


การวางแผนพร้อม Workshop การร่างสัญญาภาษีเงินได้ของแพทย์

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
พิเศษ! สำหรับผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับ
• “ตัวอย่างสัญญา” ที่ใช้ได้ทันที พร้อม Trickในการร่างสัญญา มูลค่าหลักแสนบาท
• Handy Drive ที่มีข้อมูลสามารนำไปแก้ไขใช้สำหรับบริษัทท่าน
• กระเป๋าสะพายใส่เอกสาร

ด่วน!! ปี 2563 สรรรพากรตรวจสอบสัญญาระหว่างแพทย์, คลีนิค, โรงพยาบาล, ระบบการเงิน, บัญชี, หลักการออกใบเสร็จ และระบบ IT

• เงินได้ของแพทย์กรณีใดบ้าง? จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ได้รับยกเว้นภาษี

• ทำอย่างไร ให้หลุดจากกรอบความคิดสรรพากร ดึงความเป็น "แพทย์" ไม่ให้เป็น ม.40(1), (2) "ทำให้แพทย์เป็นแพทย์" ให้เป็นจุดเด่นตามม.40(6) เทคนิคชี้แจงต่อสรรพากร เปลี่ยนสิ่งที่เป็นไปได้ยาก ให้เป็นไปได้!!

• ทำสัญญาอย่างไร "เสียภาษีน้อย" แต่ถูกต้องตามกฎหมาย ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งโรงพยาบาล, สถานพยาบาล, สถานเสริมความงาม, คลินิกทันตกรรม และแพทย์

• ผลกระทบทางภาษี การทำสัญญาเช้าใช้ใน/นอกเวลาราชการ, โรงพยาบาลรัฐ/เอกชน
• ประเด็นทางภาษีที่สรรพากรตรวจสอบ แพทย์เอกชน, คลินิกพิเศษราชการ, แพทย์ที่ไม่ได้อยู่ประจำ, แพทย์ On Call
• แพ้-ชนะ สรรพากร อยู่ที่การลงบัญชี และการทำสัญญา

ประหยัดค่าที่ปรึกษาหลักแสนบาท เพื่อทำสัญญาให้ได้ประโยชน์สูงสุดทั้งโรงพยาบาลและแพทย์

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ
- ฝ่าย IT เพื่อการวางระบบในโรงพยาบาล
- ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายของโรงพยาบาล
- ตัวแทนประกัน ที่ต้องขายประกันให้แพทย์
- นักวางแผนทางการเงิน เพื่อวางแผนภาษีให้แพทย์
- ฝ่ายบัญชี เพื่อรับรู้รายได้ของแพทย์
- ฝ่ายการเงิน เพื่อแยกรายการค่าแพทย์กับค่าใช้จ่ายอื่น ค่าแพทย์ออกจากเงินเดือน

เสริมวิชาชีพ “นักบัญชีไทย” (C.P.D./T.A./C.P.A)
เพื่ออธิบายให้แพทย์เกิดความเข้าใจในการประหยัดภาษี (Tax Avoidance) ทำให้แพทย์ เป็นวิชาชีพอิสระตาม  ม. 40(6) แห่งประมวลรัษฎากร [หักเหมาจ่าย 60%] ด้วยการแสดงหลักฐาน ทางเอกสารการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย (Withholding Tax) และการเบิก-จ่ายทางระบบบัญชี รวมทั้งการทำสัญญา (Contract) รูปแบบต่างๆ

• ทำสัญญาอย่างไรให้แพทย์เสียภาษีน้อย แต่ถูกต้องตามกฎหมาย
• แพ้-ชนะ สรรพากร อยู่ที่การลงบัญชีและการทำสัญญาใช่หรือไม่
• แพทย์ทำสัญญาเช่าใช้คลีนิคในโรงพยาบาล หากทำไม่ถูกต้อง ผิด พรบ.สถานพยาบลฯ และผลกระทบทางภาษี
• จุดที่สรรพากรจะตรวจสอบภาษีแพทย์
• การวางระบบบัญชีการจ่ายเงินได้ให้แพทย์
• ทำสัญญาไม่ดี ลงบัญชีไม่ถูกต้องกลายเป็นฉ้อโกงภาษี

ประเด็นปัญหา “แพทย์”
• เป็นเงินได้ฯ ม. 40(1) / ภ.ง.ด.1 / ภ.ง.ด.1ก. ใช้ ม. 48(1) ประมวลรัษฎากรหักภาษีฯ อัตราก้าวหน้า
• เป็นเงินได้ฯ ม. 40(2) / ภ.ง.ด.1 / ภ.ง.ด.1ก. ใช้ ม. 48(1) ประมวลรัษฎากรหักภาษีฯ อัตราก้าวหน้า
• เป็นเงินได้ฯ ม. 40(6) ประมวลรัษฎากร / ภ.ง.ด.1 / ภ.ง.ด.1ก. ใช้ ม. 48(1) ประมวลรัษฎากรหักภาษีฯ อัตราก้าวหน้า
• เปิดมุมมองใหม่ ทำเป็นค้าร่วม ความแตกต่างระหว่างค้าร่วมและร่วมค้า

วิทยากรโดย รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว

หัวข้อสัมมนา

1. Update กฎหมายภาษีที่เกี่ยวกับการเสียภาษีของแพทย์ พร้อมการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอย่างครบถ้วน

2. โครงสร้างการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เกี่ยวกับแพทย์

3. ประเด็นความแตกต่างของเงินได้ประเภท 40(1) (2) (6) (8) กับภาระภาษีของแพทย์
• เปรียบเทียบภาระภาษีของแพทย์แต่ละประเภทเงินได้
• รับเงินได้จากโรงพยาบาลเป็น 40(6) แต่สรรพากรประเมินเป็นเงินได้ 40(2) จะแก้ปัญหาอย่างไร
• ไม่มีสัญญาจ้างและรับค่าตอบแทนตามจำนวนคนไข้ที่รักษา เป็นเงินได้ประเภทใด
• ตีแตกความต่างของแพทย์ ในคลินิกพิเศษของรัฐ กับ การเปิดคลินิกทั่วไป
• รายได้มากอยากเสียภาษีน้อยต้องวางแผนอย่างไร

4. ความแตกต่างในการคำนวณภาษีเงินได้ 40(6) ระหว่างวิชาชีพทั่วไป กับ วิชาชีพอิสระ และปัญหาการตีความ
• วิชาชีพทั่วไป กับวิชาชีพอิสระตีความอย่างไร ทำไมเสียภาษีต่างกัน
• ปัญหาการตีความอย่างไรให้ชัดเจน เพื่อให้เป็นวิชาชีพอิสระ

5. การวางแผนภาษีร่วมกันของแพทย์และโรงพยาบาล

6. เทคนิคการทำสัญญาระหว่างโรงพยาบาลกับแพทย์ ให้ WIN WIN ทั้งสองฝ่าย

7. ตัวอย่างสัญญาและความแตกต่างของสัญญาแต่ละประเภทของเงินได้แพทย์
• สัญญาจ้างแรงงาน
• สัญญาจ้างทำของ
• สัญญาจ้างประกอบวิชาชีพอิสระ

8. Workshop ร่างสัญญาเพื่อให้เป็นเงินได้ 40(6) วิชาชีพอิสระที่นำไปใช้ได้จริงไม่ถูกประเมินภาษีย้อนหลัง

9. การวางแผนการลงบัญชีให้ถูกต้องและสอดคล้องกับสัญญาระหว่างโรงพยาบาลกับแพทย์
• ปัญหาสัญญาระหว่างโรงพยาบาลกับแพทย์ ที่ไม่เข้าเงื่อนไขของ “วิชาชีพอิสระ”

10.การวางแผนเพื่อรับมือการถูกตรวจสอบเงินได้ของแพทย์แบบครบวงจร
• การลงบัญชี
• การทำสัญญา
• หลักฐานการเป็นวิชาชีพอิสระต้องใช้อะไรประกอบ
• การออกใบเสร็จเพื่อรองรับการเป็นวิชาชีพอิสระของแพทย์
• การคิดเฉพาะค่าตรวจแล้วเขียนใบสั่งยาให้คนไข้ไปซื้อยาเอง
• เตรียมรับมือโต้แย้งสรรพากรหากถูกประเมินว่าเงินได้ของแพทย์เป็นการรับจ้างช่วง (Subcontract)

11.การวางระบบใบเสร็จรับเงินที่โรงพยาบาล และแพทย์ต้องทำให้สอดคล้องกับประเภทเงินได้
• ค่ายา
• ค่าเวชภัณฑ์
• ค่าบริการ ค่าห้องพัก
• ค่าตรวจโรค (DF)
• ปัญหาการออกใบเสร็จรวมเป็นค่าตรวจโรคและค่ายา (Package)

12.10 จุด การตรวจสอบของสรรพากรสำหรับเงินได้ของแพทย์

13.แนวโน้มการตรวจสอบภาษีของแพทย์ ข้อดี-ข้อเสีย หากแพทย์จัดตั้งบริษัทจำกัดคนเดียว

14.คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

Promotion พิเศษ!!! เข้าอบรมเดือนธันวาคม 2563

1. เข้าอบรม 2ท่าน ลดทันที!!! 1,000 บาท
(หลักสูตรเดียวกัน/ ใบเสร็จรับเงินฉบับเดียวกัน/ ไม่ร‹วมโปรโมชั่นอื่น)
2. รับฟรีทันที!! DHARMNITI Planner 2021
3. พิเศษ!!! จองอบรมหลักสูตรเดือน ม.ค-ก.พ 64 หน้างานสัมมนาภายใน 31 ธ.ค 63
รับฟรี!! Tax Diary 2021 + ปฏิทินภาษีตั้งโต๊ะ 2021 และรับส่วนลดค่าอบรม 500 บาทเพื่อใช้เป็นส่วนลด ของเดือน ม.ค.-ก.พ. 64
(สำหรับหลักสูตร 3,900 บาทขึ้นไป (ยังไม่รวม VAT))

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว

สถานที่

โรงแรมเจดับบลิว แมริออท กรุงเทพฯ
4 ถ.สุขุมวิท ซ.2 แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
02-656 7700
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีเพลินจิต ทางออกที่ 4 (เดิน 300 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba