LABOUR LAW 4.0 กฎหมายแรงงาน ยุค 4.0 เพื่อปรับใช้ในการปฏิบัติงานภายในองค์กร

รหัสหลักสูตร : 21/3440

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,173 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,922 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

 

PDPA for Accounting and Finance
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลสำหรับบัญชี-การเงิน

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
 

 สิ่งสําคัญสําหรับองค์กรที่จะก้าวสู่ยุค 4.0 ผู้นำองค์กร ต้องมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการผสมผสาน
พนักงาน 2 กลุ่มคือ Digital Immigrant แล ะอีกกลุ่มคือ Digital Native การนำและใช้กฎหมายแรงงาน
กับการบริหารในแบบ 4.0 จึงต้องเน้นความรวดเร็ว ยืดหยุ่น สร้างสรรค์แม่นยํา

วิทยากรโดย อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์


หัวข้อสัมมนา


1. กฎหมายแรงงาน ยุค 4.0 แนวคิดพื้นฐาน และการนําจิ๊กซอว์การบริหาร ภายในองค์กร(HRM ,HRD, OD ,Management System,Strategic Plan ,Policy เป็นต้น) มาเชื่อมโยงกับกฎหมายว่าด้วยแรงงาน เพื่อนําไปปรับใช้ในทางปฏิบัติภายในองค์กร

2. สภาพการจ้าง และ ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างคืออะไร ไม่ปฏิบัติตามได้หรือไม่

• มีโทษทางอาญาถึงจำคุกด้วยหรือไม่

• เราสามารถนำสภาพการจ้างและข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างต่างๆ มาลงไว้ ในระบบ Intranetสื่ออิเล็คทรอนิคส์ขององค์กรเพื่อการสื่อสาร และให้ลูกจ้าง เข้าถึงข้อมูลรวมถึงสามารถตรวจสอบสิทธิประโยชน์สวัสดิการของตนเองได้ หรือไม่ มีขอบเขตการจัดการอย่างไร?

• ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน, คู่มือสวัสดิการ, คู่มือพนักงาน Work Instructions, Job Description, ประกาศ, คำสั่ง แนวปฏิบัติการบริหารทรัพยากรบุคคล ฯลฯ

3. ภาษาที่ใช้สื่อสาร ทำข้อตกลง สัญญาจ้างต้องใช้ภาษาใด? หากมีการจ้างลูกจ้างต่างด้าวจะทำอย่างไร?

4. การเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างทำได้หรือไม่เพียงใด

• ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีกี่ประเภท อะไรบ้าง และประเภทใดไม่สามา รถเปลี่ยนแปลงปรับปรุงได้เลย

• ในการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง สามารถประกาศผ่าน website Intranet Internet SocialNetwork ต่างๆ เช่น Line Facebook Instagram เป็นต้น ได้หรือไม่

5. สิทธิฝ่ายจัดการสำคัญอย่างไร? ในการบริหารจัดการ ศาลรับรองอำนาจนายจ้าง หรือสิทธิฝ่ายจัดการแค่ไหน

• นายจ้างสามารถนำนโยบาย คำสั่งทางการบริหาร ประกาศที่นายจ้างกำหนดขึ้น ชี้แจง และเวียนให้ลูกจ้างทราบทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำได้หรือไม่

6. สัญญาจ้างแรงงานแต่ละประเภทการจ้าง หากมีการนำและใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ในการจ้างแรงงานแต่ละประเภท โดยให้ดึงข้อมูลเชื่อมโยงกับการสมัครงาน (รายละเอียดและข้อมูลผู้สมัคร) การสัมภาษณ์ผลการสัมภาษณ์การประเมินผล ทดลองงาน เอกสารข้อมูลประวัติลูกจ้างที่สแกนไว้ในระบบอิเล็คทรอนิกส์ มีผลทางกฎหมายหรือไม่อย่างไร? และใช้ในศาลแรงงาน ทำให้ศาลเชื่อและรับฟัง พยานหลักฐานได้หรือไม่

7. ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการสิ้นสุดสัญญาจ้างในกรณีต่างๆ เช่น เลิกจ้าง ลาออก ปลดออก ไล่ออกฯ ระเบียบข้อบังคับการทำงานของนายจ้างกำหนดให้ จะต้องใช้แบบฟอร์ม (เอกสาร) ในรูปแบบที่นายจ้างกำหนดเท่านั้น

• กรณีลูกจ้างลาออกโดยการส่งข้อความผ่านทาง Line โพสต์บน Facebook หรือ Facebook Messenger ไปยังผู้บังคับบัญชา มีผลบังคับใช้ได้หรือไม่

• การเลิกสัญญา จำเป็นต้องออกหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ ถ้ามีความจำเป็นจะส่งหนังสือเลิกสัญญาจ้างไปทางอีเมล์หรือแนบใน Line หรือ Facebook Messenger ได้หรือไม่ มีผลตามกฎหมายแรงงานอย่างไร?

8. วันหยุด (วันหยุดตามประเพณีวันหยุดประจำสัปดาห์) วันลาที่กฎหมายกำหนด และที่นายจ้างกำหนดให้นอกเหนือกฎหมายแรงงานนั้น นายจ้างสามารถกำหนด หลักเกณฑ์เงื่อนไข วิธีการได้โดยอิสระ ซึ่งในการขออนุญาตหยุดหรือลางาน ของลูกจ้าง การให้ความเห็นชอบ

• ประเด็นการลาผ่าน E-mail, Line (ส่วนตัว, กลุ่ม), SMS, ลา On line, ทางโทรศัพท์, บอกเพื่อนร่วมงาน แต่ไม่ได้บอกหัวหน้างาน มีผลอย่างไร?

• กรณีไม่ให้พนักงานใช้สิทธิลา สามารถทำได้หรือไม่ และมีผลทางกฎหมายอย่างไร?

• การลาที่หัวหน้าไม่เซ็นอนุมัติถือว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่

• การอนุมัติการหยุด/ลาของนายจ้างในระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ Software ที่นายจ้างนำมาใช้นั้น มีผลทางกฎหมายหรือไม่เพียงใด จำเป็นต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างหรือไม่

• หากโปรแกรมกำหนดให้ผู้อนุมัติมีมากกว่า 1 คน จะถือผลการอนุมัติของใคร จึงสอดคล้องกับกฎหมายแรงงาน

9. การบอกกล่าวล่วงหน้าผ่าน Smart Phone และสื่อสังคมออนไลน์มี วิธีการอย่างไร ที่กฎหมายแรงงานให้การรับรอง และถือเป็น การบอกกล่าวเป็นหนังสือ (ลายลักษณ์อักษร) หรือไม่อย่างไร

10.ข้อยกว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ไม่ต้องจ่ายชดเชย และไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมด้วยนั้นคืออะไร

11.ประเด็นเกี่ยวกับวินัยลงโทษของพนักงาน กรณีให้ Social Media ในรูปแบบ ต่างๆ กรณีลูกจ้าง Check in หรือโพสต์ข้อความต่างๆ มีผลอย่างไร?

• แสดงความรู้สึกที่ไม่เหมาะสม

• ตำหนิด่าทอบริษัท หัวหน้างาน เพื่อร่วมงาน

• ใช้ข้อความไม่สุภาพ

• ทะเลาะวิวาทผ่าน Social Media

12.Hardware Software ระบบบันทึกเวลาการทำงาน สถิติการหยุด การลางาน การนำกล้องวงจรปิดมาใช้ในการบริหารจัดการ กฎหมายแรงงานอนุญาตให้ ทำได้แค่ไหนเพียงใดที่ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม โดยไม่เลือกปฏิบัติ

13.การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาตรวจสอบการกระทำความผิดทางวินัย และใช้ในการลงโทษทางวินัยลูกจ้างนั้นทำได้หรือไม่เพียงใด

14.การดึงข้อมูลลูกจ้างจากอีเมล์ขององค์กรมาใช้ในการสอบสวนการกระทำ ความผิดและตรวจจับพฤติกรรมลูกจ้างสามารถทำได้หรือไม่

15.การนำอุปกรณ์บันทึกเสียงและภาพมาใช้ในการสอบสวนทางวินัย การมาปฏิบัติงาน การขาดงานเป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิเสรีภาพของลูกจ้าง หรือไม่เพียงใด สามารถทำได้หรือไม่

16.การใช้โปรแกรมวิเคราะห์ลูกจ้างเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงาน ประเมินทัศนคติ ประเมินจรรยาบรรณ และค้นหาแนวโน้มการกระทำความผิด สามารถนำมาใช้ ได้หรือไม่มีขอบเขตในการพิจารณาการนำมาใช้โดยไม่เกิดปัญหาแรงงานและ ถูกต้องตามกฎหมายแรงงานอย่างไรบ้าง

17.การแจ้งสภาพการจ้าง สิทธิประโยชน์สวัสดิการต่างๆ เช่น ค่าจ้าง ค่าตอบแทน ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด โบนัส ฯลฯ กรณีแจ้งผ่าน Smart Phone หรือ Application ที่นายจ้างกำหนด โดยให้ Log in เข้าไปตรวจสอบความเคลื่อนไหวสำหรับสภาพการจ้างต่างๆ ของลูกจ้างด้วยตนเอง โดยไม่ใช้ Slip เงินเดือนทำได้หรือไม่อย่างไร

18.การเข้าถึงข้อมูลโดยลูกจ้างแต่ละคนสามารถตรวจสอบแบบ Real time สำหรับ สถิติการมาทำงาน การหยุดงาน ขาดงาน ลางาน ผลการประเมิน สถิติทางวินัย/การลงโทษ ฯลฯ ของตนเองได้นั้น มีผลทางกฎหมายหรือไม่เพียง ใด ใช้อ้างอิงเมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรมตามมาตรา 14/1 ของกฎหมายว่าด้วย การคุ้มครองแรงงานได้หรือไม่

19.หนังสือรับรองการผ่านงานนายจ้างออกให้และส่งไปทางอีเมล์หรือ Social Network ที่ลูกจ้างมีอยู่ถือว่าเป็นการออกใบสำคัญแสดงการทำงาน ตามกฎหมายแล้วหรือไม่

20.ท่านถาม อาจารย์ตอบ

 
นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์กฤษฎ์ อุทัยรัตน์

สถานที่

โรงแรม โซฟิเทล กรุงเทพ สุขุมวิท
189 ถนนสุขุมวิท แขวง คลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ :
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba