การวางแผนและการเสียภาษีของธุรกิจซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ทั้งรถใหม่ป้ายแดง และรถมือสอง

รหัสหลักสูตร : 21/1692

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,815 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,564 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



การวางแผนและการเสียภาษีของธุรกิจซื้อขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ทั้งรถใหม่ป้ายแดง และรถมือสอง
หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี อื่นๆ 6 ชม.
ผู้สอบบัญชี อื่นๆ 6 ชม.


• การรับรู้รายได้ของธุรกิจขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ จากการขายรถ, รถจักรยานยนต์
  หรือร้าน Sub ตัวแทนจำหน่าย
• ปัญหาการบันทึกรถเข้า Stock รถโชว์, รถตัวอย่าง, รถทดลองขับ ถือเป็นสินค้าแล้วหรือไม่
• ปัญหาภาษีจากการซื้อขายรถมือสอง, ขายขาดทุนจากการที่ต้องเสีย VAT 7%,
   รับซื้อรถจากบุคคลธรรมดาไม่มี VAT แต่ตอนขายต้องออก VAT
• ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย Sale Promotion ทั้งที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเอง
   และได้รับสนับสนุนจากค่ายรถหรือโรงงานผลิต
• Case Studies และความเสี่ยงของธุรกิจซื้อขายรถยนต์, รถจักรยานยนต์, อะไหล่
   ที่อาจถูกสรรพากรตรวจสอบ

วิทยากรโดย อาจารย์ชุมพร เสนไสย

หัวข้อสัมมนา

1. การรับรู้รายได้ของธุรกิจขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
    • รายได้จากการขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ให้ลูกค้า หรือร้าน Sub ตัวแทนจำหน่าย
    • รายได้จากการขายเงินสด และ การขายแบบเงินเชื่อ
    • รายได้จากการเช่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่ ทั้งกรณีจัดไฟแนนซ์เอง หรือ มีไฟแนนซ์
      อื่นมารับจัดให้ รับจำนำรถ รับวางเล่ม
    • รายได้จากการขายรถตัวอย่าง รถทดลองขับ (Demo Car)
    • รายได้จากส่วนลดค่านายหน้าประกันภัยรถยนต์ รถจักรยานยนต์ พ.ร.บ.ประกันอุบัติเหตุ
    • รายได้จากการบริการซ่อม บริการหลังการขาย
    • รายได้จากการขายอะไหล่ อุปกรณ์ต่างๆ
    • รายได้ที่ได้รับจากค่าส่งเสริมการขาย เงินช่วยเหลือจากโรงงานรถยนต์ รถจักรยานยนต์
       จากการเป็น Dealer
    • รายได้จากการทำยอดถึงเป้า ที่ทางผู้จำหน่ายให้เป็นค่าตอบแทนหรือแรงจูงใจในการขาย
    • รายได้จากการขายทรัพย์สิน
    • รายได้จากเศษซาก บริการเปลี่ยนอุปกรณ์ เช่น อะไหล่เก่าที่ลูกค้านำมาเปลี่ยน เศษกระป๋อง
       น้ำมันเครื่อง
    • ค่านายหน้าจากไฟแนนซ์ , ค่านายหน้าจากบริษัทประกันภัยรถยนต์
    • รายได้จากการต่อทะเบียน ต่อภาษี รถยนต์ รถจักรยานยนต์
    • ซ่อมฟรี ไม่เรียกเก็บค่าแรง เก็บเฉพาะค่าอะไหล่ ทำได้หรือไม่

2. ค่าใช้จ่าย ของธุรกิจขายรถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
    • ต้นทุนสินค้า เช่น รถยนต์ รถจักรยานยนต์ อะไหล่
    • การรับซื้อรถมือสอง หรือการนำรถตัวอย่าง รถทดลองขับ (Demo Car) มาขายจะบันทึกต้นทุน
       อย่างไร
    • ค่าแรงงาน, สวัสดิการ, โบนัส, เบี้ยขยัน, เงินจูงใจ, ค่าคอมมิชชั่นพนักงานขาย, ทีมขาย/
       ทีมงานซ่อม, ช่าง (บริการซ่อม)
    • ค่าเช่าพื้นที่, ค่าบริการอำนวยความสะดวก, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
    • ค่าเช่าพื้นที่ออฟฟิศ, ค่าบริการอำนวยความสะดวก, ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ
    • ค่าประกันภัยสินค้า จากการสูญหาย เสียหาย โจรกรรม
    • ค่าเสื่อมราคาอุปกรณ์สำนักงาน
    • บริษัทขายรถให้ส่วนลดเงินดาวน์แก่ผู้ซื้อรถแทนบริษัทลีสซิ่ง ลงเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

3. ปัญหารายได้และรายจ่ายจากการซื้อรถยนต์มือสอง
    • การซื้อรถมือสองมาขายจะบันทึกต้นทุนอย่างไร
    • ค่าซ่อมปรับปรุงรถ ค่าอะไหล่ ค่าทำสีใหม่ก่อนขาย
    • ปัญหาการขายขาดทุนจากการที่ต้องเสีย VAT 7%
    • ปัญหาการรับซื้อรถจากบุคคลธรรมดา ไม่มี VAT ตอนขายต้องออก VAT
    • นำรถเก่ามาแลกรถใหม่จะต้องบันทึกบัญชีและเสียภาษีอย่างไร

4. ปัญหาเกี่ยวกับ Stock สินค้า และอะไหล่
    • ปัญหาการบันทึกรถเข้า Stock จะต้องบันทึกเมื่อไร รถโชว์ รถตัวอย่าง รถทดลองขับ
       (Demo Car) ถือเป็นสินค้าแล้วหรือไม่
    • ปัญหาและวิธีแก้ไขการตรวจนับ Stock สินค้า, อะไหล่ ขาด-เกิน

5. การเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของธุรกิจขายรถยนต์ ที่สรรพากรมักจะตรวจสอบ
    • Tax point ที่ต้องออกใบกำกับภาษีเมื่อขายรถ อะไหล่หรือค่าบริการ
    • เงินจอง เงินมัดจำ เงินประกัน เงินจ่ายล่วงหน้าในการซื้อรถยนต์ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
    • เงินมัดจำป้ายแดง
    • ราคาขายที่มีการช่วยเหลือจากผู้ผลิต
    • ภาษีซื้อจากการซื้อรถยนต์นั่งมาเพื่อขาย และถ้านำรถยนต์นั่งที่ซื้อมาเพื่อขาย มาใช้ในกิจการ
    • การให้ส่วนลด ของแถม จะได้รับยกเว้นภาษีหรือไม่ เช่นแถมประกัน, อุปกรณ์ตกแต่งรถยนต์,
      บริการหลังการขาย, ซ่อมฟรี, ตรวจสภาพเช็คระยะฟรี
    • ลูกค้ารับรถที่ซ่อมเสร็จไปใช้แล้ว แต่ยังไม่ได้รับค่าซ่อม (ให้เครดิต) ต้องออกใบกำกับภาษีหรือไม่

6. ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่าย
    • ค่าบริการ ค่าซ่อม ค่าอะไหล่ ทั้งกรณีออกใบเสร็จเดียวกัน และแยกใบเสร็จจะต้องหัก ณ ที่จ่าย
       อย่างไร
    • รางวัล ส่วนลดที่ให้กับผู้ซื้อรถโดยตรง ต้องถูกหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่

7. ภาระภาษีจากการส่งเสริมการขาย Sale Promotion ทั้งกรณี ธุรกิจขายรถจัดกิจกรรม 
    ส่งเสริมการขายเอง และกรณีที่ได้รับการสนับสนุนจากค่ายรถ โรงงานผลิตต่างๆ
    • กรณีมีการลด แลก แจก แถม จะรับรู้รายได้รายจ่ายอย่างไร
    • ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหรือไม่
    • เอกสารควรออกรายการอย่างไร
    • ต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่

8. ความเสี่ยงและ Case studies ที่ต้องระวังถูกสรรพากรตรวจสอบ
    • การบันทึกรายการราคาขายสินค้า ไม่ครบถ้วน
    • การบันทึกรายการบริการ ค่าซ่อมแซม ไม่ครบถ้วน
    • การบันทึกรายการทางด้านบริการอื่นๆ เช่น จดทะเบียนพ.ร.บ. กรมธรรม์ประกันภัย ไม่ครบถ้วน
    • การไม่บันทึกรายการขายเศษซาก อุปกรณ์ อะไหล่
    • บัญชีการเงินของกิจการ มีการเบิกใช้ส่วนตัวปะปนกับเงินได้กรรมการ
    • นำเงินส่วนตัวมาใช้ในกิจการ ทำให้ไม่ทราบว่ากิจการขาดทุน / กำไร จากการดำเนินธุรกิจ เช่น         เอาเงินบัตรเครดิต มาใช้ปะปนกัน
    • สินค้าคงเหลือ ขาดไปจากรายงานสินค้าคงเหลือ ปัญหารถโชว์รถตัวอย่าง ต้องนับรวมป็นสินค้า 
       หรือไม่
    • นำสินค้าไปฝากขายกับร้านค้าอื่น แต่ไม่ออกใบกำกับภาษี
    • ค่าแรงงาน บันทึกบัญชีเกินจากตัวตนจริงของพนักงาน
    • ค่ารับรอง / ค่าใช้จ่ายไม่มีใบเสร็จ จัดทำเอกสารประกอบไม่ถูกต้อง
    • กิจการบันทึกบัญชีรับรู้รายได้ ค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์เงินสดซึ่งที่ถูกต้อง ต้องใช้เกณฑ์สิทธิ

9. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 6:0 0:0 6:0

วิทยากร

อาจารย์ชุมพร เสนไสย

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba