การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างพร้อมแนวปฏิบัติในการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี Construction Accounting : The Important types of Documents Used in Accounting

รหัสหลักสูตร : 21/2306

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 5,350 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 6,099 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร



การบัญชีธุรกิจรับเหมาก่อสร้างพร้อมแนวปฏิบัติในการจัดทำเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี Construction Accounting : The Important types of Documents Used in Accounting

หัวข้ออบรมสัมมนา Course Outline
CPD
ผู้ทำบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่น ๆ 3 ชม.
ผู้สอบบัญชี บัญชี 3 ชม. อื่น ๆ 3 ชม.

 

• มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง
• NPAEs กับประเด็นสำคัญเรื่องสัญญาก่อสร้าง
• ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับการรับรู้รายได้-รายจ่ายทางบัญชี

วิทยากรโดย ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

หัวข้อสัมมนา

มาตรฐานการรายงานทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง

1. ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจุดเริ่มต้นและองค์ประกอบของธุรกิจที่นักบัญชีต้องทราบเพื่อการจัดทําบัญชีที่ถูกต้อง

2. มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15 รายได้จากสัญญาที่ทํากับลูกค้า (TFRS 15) เกี่ยวกับการรับรู้รายได้หลักการสําคัญ 5 ขั้นตอน (Five Step Model Framework)
2.1 ระบุสัญญาที่ทํากับลูกค้า
2.2 ระบุภาระที่ต้องปฏิบัติในสัญญา
2.3 กําหนดราคาของรายการ
2.4 ปันส่วนราคาของรายการให้กับภาระที่ต้องปฏิบัติที่รวมอยู่ในสัญญา
2.5 รับรู้รายได้เมื่อ (ขณะที่) กิจการปฏิบัติตามภาระที่ต้องปฏิบัติเสร็จสิ้น

3. วิธีการรับรู้รายได้สัญญาก่อสร้างตาม TFRS 15
3.1 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ (Recognize Revenue) เมื่อกิจการได้ปฏิบัติภาระที่ต้องปฏิบัติตามสัญญา
3.2 แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ด้วยวิธีตลอดช่วงเวลาหนึ่ง (Over Time)

4. วิธีการอ้างอิงกับระดับความก้าวหน้าของงานที่ทําเสร็จ (Progress Towards Complete Satisfaction)
4.1 วิธีปัจจัยนําเข้า (Input Method)
- อัตราส่วนงานที่ทําเสร็จที่วัดด้วยต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงหารด้วยต้นทุนประมาณการทั้งหมด
4.2 วิธีผลผลิต (Output Method)
- การสํารวจงานที่ทําเสร็จ (Survey of Work Performed Method)
- สัดส่วนของงานก่อสร้างที่ทําเสร็จกับงานก่อสร้างทั้งหมดตามสัญญา (Units – of – Work – performed Method)

มาตรฐานการรายงานทางการเงินสําหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียสาธารณะประเด็นสําคัญเรื่องสัญญาก่อสร้าง

5. สัญญาก่อสร้างที่บัญชีต้องทําความเข้าใจและปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสัญญาก่อสร้างต่างๆแนวทางแก้ไขที่ถูกต้อง
5.1 สัญญาคงที่มีความหมายว่าอย่างไรกิจการประเภทใดบ้างที่ต้องเกี่ยวข้องและจําเป็นต้องทําสัญญาคงที่หรือไม่
5.2 สัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่มมีความหมายอย่างไรกิจการประเภทใดต้องทําสัญญาต้นทุนบวกส่วนเพิ่ม
5.3 สัญญาการให้บริการที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการก่อสร้างสินทรัพย์มีอะไรบ้างและทางบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไรในการบันทึกบัญชีให้ถูกต้องตามหลักของมาตรฐานการบัญชี
5.4 การรวมและแยกสัญญาก่อสร้างควรทําหรือไม่และควรปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามหลักมาตรฐานการบัญชีมีหลักเกณฑ์การบันทึกการรับรู้รายได้อย่างไรกรณีที่มีการแยกสัญญาเกิดขึ้น

6. แนวปฏิบัติเกี่ยวกับรายได้ค่าก่อสร้าง
6.1 จํานวนรายได้เมื่อเริ่มแรกตามที่ตกลงไว้ในสัญญา
6.2 จํานวนเงินที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงสัญญาอันเกิดจากการดัดแปลงงานการเรียกร้องค่าชดเชยหรือการจ่ายเงินเพื่อจูงใจ

7. การรับรู้รายได้ค่าก่อสร้างและต้นทุนค่าก่อสร้างที่ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
7.1 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างโดยทั่วไปซึ่งสามารถปันส่วนให้กับงานก่อสร้างตามสัญญา
7.2 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับสัญญาก่อสร้างประกอบด้วยอะไรบ้างมีวิธีการแยกต้นทุนอย่างไร
7.3 ต้นทุนอื่นที่สามารถเรียกเก็บจากผู้ว่าจ้างได้ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาก่อสร้าง
7.4 ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างสามารถปันส่วนเฉลี่ยกับสัญญาก่อสร้างได้หรือไม่
7.5 มีหลักเกณฑ์การเฉลี่ยหรือแยกต้นทุนอย่างไรให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
7.6 การรับรู้ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในแต่ละรอบระยะบัญชีที่ต้องปฏิบัติอย่างไร

8. การเปลี่ยนแปลงประมาณการของอัตราส่วนของงานที่ทําเสร็จ

9. การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินควรจะระบุเงื่อนไขใดบ้าง

ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับการรับรู้รายได้-รายจ่ายทางบัญชี

10. ปัญหาของรายได้หลักและรายได้อื่นที่ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างมักปฏิบัติไม่ถูกต้องไม่ครบถ้วน

11. ต้นทุนโครงการก่อสร้างจะแยกพิจารณาอย่างไรให้กิจการได้รับประโยชน์และถูกต้อง

12. ค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหารของกิจการรับเหมาก่อสร้างจะต้องระมัดระวังอะไรเป็นพิเศษในการบันทึกบัญชี

13. ปัญหาในการจ่ายค่าใช้จ่ายบางประเภทที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินบัญชีจะต้องปฏิบัติอย่างไร

14. เมื่อซื้อของได้รับบิลเงินสดแต่ไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ขายหรือผู้รับเงินจะบันทึกบัญชีอย่างไร

15. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับค่าแรงรายวันรายสัปดาห์เอกสารทางบัญชีที่ต้องจัดทํา

16. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการจ่ายค่าจ้างวิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาบันทึกบัญชีอย่างไรและต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

17. ค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับกิจการเช่นค่าพาหนะค่าเบี้ยเลี้ยงค่าเลี้ยงรับรองต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

18. ค่าเสียหายที่ต้องจ่ายชดเชยหรือก่อสร้างให้กับอาคารข้างเคียงรอบ Site งานก่อสร้างจะบันทึกบัญชีอย่างไรและเอกสารที่ต้องใช้

19. การจัดทําเอกสารเพื่อบันทึกบัญชีกรณีจ่ายค่าเสียหายต่างๆและค่าปรับ

20. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงพื้นที่ส่วนกลางหน้างานและการรื้อถอนไซต์งานก่อสร้างต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

21. ค่าใช้จ่ายในการจ้างออกแบบตกแต่งต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

22. ค่าใช้จ่ายในการสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากต่างประเทศต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

23. ค่าใช้จ่ายในการจ้างวิศวกรตรวจงานก่อนส่งมอบต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

24. ค่าใช้จ่ายในการทําโฆษณาประชาสัมพันธ์และกิจกรรมส่งเสริมการขายต่างๆต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

25. ค่านายหน้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรับเหมาก่อสร้างต้องใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชี

26. คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

ดร.สิงห์ชัย อรุณวุฒิพงศ์

สถานที่

โรงแรมอินเตอร์คอนติเนนตัล กรุงเทพ (ฝั่งตึกฮอลิเดย์ อินน์)
973 ถนนเพลินจิต แขวงลุมพินี
เขต ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330
โทรศัพท์ :
02 656 0444
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้า BTS สถานีชิดลม ทางออกที่ 6


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba