89 Key Point การจัดทำบัญชีเพื่อออกงบการเงินและเสียภาษี

รหัสหลักสูตร : 21/2925

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,066 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 4,815 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้ออบรม

1. ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่ต้องจัดทำ ตามกฎหมายให้สมบูรณ์นั้น มีอะไรบ้างและนักบัญชีมืออาชีพ
ควรปฏิบัติในการจัดทำงบการเงินเพื่อการจัดการ
2. มาตรฐานการบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีและการออกงบการเงินในปัจจุบันที่นักบัญชีต้องทราบ
3. อะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำในงบการเงิน
4. งบการเงินสามารถบอกอะไรได้บ้าง และจุดสังเกตสัญญาณอันตรายที่ต้องรีบแก้ไข
5. ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับงบการเงินที่สรรพากรมักเรียกตรวจสอบมีประเด็นอะไรบ้าง
6. งบกำไรขาดทุน งบแสดงฐานะการเงิน จุดสำคัญ ที่นักบัญชีต้องให้ความสำคัญและต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
7. ความแตกต่างระหว่างกำไร (ขาดทุน) ทางบัญชีและกำไร (ขาดทุน) ทางภาษี ที่นักบัญชีต้องทราบ
8. ข้อมูลสำคัญ วันปิดบัญชีของกิจการภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องระวัง
9. ปัญหาความแตกต่างระหว่างมาตรฐานการบัญชีและภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงกำไรสุทธิ
10. เทคนิคการกระทบยอดคงเหลือตามงบแสดงฐานะทางการเงินตั้งแต่ต้นปีถึงปลายปีให้ถูกต้องแม่นยำ
11. ภาระภาษีที่นักบัญชีไม่ควรมองข้ามที่เกี่ยวข้องในวันสิ้นรอบบัญชีกิจการมีประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง และ
ประเด็นที่มักถูกประเมิน และการวางแผนที่สอดคล้องกับหลักการทางด้านภาษี
12. จุดสังเกตข้อผิดพลาดเกี่ยวข้องกับงบการเงิน และวิธีการแก้ไขในงบกำไรขาดทุนให้ถูกต้องตามมาตรฐานรายงานทางการเงิน
13. เทคนิคการตรวจสอบเอกสารและประเด็นเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินที่เกี่ยวข้องทำอย่างไรให้ สามารถใช้เป็นหลักฐาน
ทางการบัญชีและภาษี
14. จุดที่ต้องระมัดระวังเกี่ยวกับรายได้ที่มักถูกประเมิน และแนวปฏิบัติให้ถูกต้องและสรรพากรยอมรับ และการจัดทำระบบบัญชี
เพื่อการควบคุมการพิสูจน์รายได้ครบถ้วน
15. รายได้จากการขายสินค้าและให้บริการที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ
16. เมื่อมีรายได้จากการจำหน่ายเศษซาก หรือ เศษวัสดุประเด็นภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง
17. พนักงาน กรรมการ กู้ยืมเงิน บริษัทในเครือ จะคิดดอกเบี้ยอย่างไร ต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
และให้สรรพากรยอมรับ
18. รายได้ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยจะรับรู้เป็นรายได้ทางบัญชีเมื่อใด
19. ค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระเงินหรือส่งของล่าช้า ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนนี้ทางบัญชีจะจัดการอย่างไร
20. การขายสินค้าหรือให้บริการที่ตํ่ากว่าราคาตลาดหรือขายขาดทุนทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมิน
21. การตีราคาสินค้าคงเหลือ สินค้าตกรุ่น ล้าสมัย ทางบัญชีต้องดำเนินการอย่างไรและลงค่าใช้จ่ายในการบันทึกบัญชีได้ทั้งจำนวนหรือไม่
22. จุดสำคัญมากที่เกี่ยวข้องกับประเด็นรายได้อื่นที่กิจการต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
23. ปัญหาการบันทึกบัญชีรายได้ รายจ่ายตามเกณฑ์คงค้าง เกณฑ์สิทธิ และการบันทึกบัญชีข้ามเดือนจะมีผลกระทบอย่างไร และต้อง
ปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี พร้อมเทคนิคการตรวจเช็คย้อนหลัง
24. ประเด็นปัญหาด้านรายจ่ายที่มักถูกสรรพากรเพ่งเล็งเป็นพิเศษ เกิดขึ้นในกรณีใดบ้าง นักบัญชีต้องรับมืออย่างไร และต้องปฏิบัติอย่างไร
ให้ถูกต้อง
25. ค่าใช้จ่ายค้างจ่ายในรูปแบบใดที่ควรพิจารณาให้ความสำคัญ
26. เมื่อกิจการถูกประเมินจากรายจ่ายต้องห้ามแล้ว นักบัญชีต้องปฏิบัติต่อไปอย่างไร
27. ทำอย่างไรให้รายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นรายจ่ายได้ คำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้ามไม่ต้องบวกกลับ
28. ปัญหาใหญ่เกี่ยวกับประเด็นรายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา ที่มักเกิดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงินจะมีแนวทางแก้ไขปัญหานี้
อย่างไรให้ถูกต้องทั้งหลักมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ
29. รายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับประกันรถยนต์ รถประจำตำแหน่ง ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ลงเป็นค่าใช้จ่ายได้หรือไม่
30. ค่าซ่อมรถ ค่าเปลี่ยนยาง เปลี่ยนนํ้ามันเครื่อง เปลี่ยนอะไหล่
34. การเก็บรายละเอียดประกอบงบการเงิน เตรียมความพร้อมสำหรับการตรวจสอบจากสรรพากร
35. กิจการจะรับรองลูกค้าอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรอบบัญชีกิจการจะต้องพิจารณา
ประเด็นใดบ้างที่เกี่ยวข้อง และเลี้ยงรับรองอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ถูกต้อง
36. หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการส่งเสริมการขายให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมินและถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
37. การให้ของขวัญของชำร่วยการให้ส่วนลดสินค้า หรือส่วนลดพิเศษบางรายการ ของแจก ของแถม ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
ตามมาตรฐานการบัญชีและสรรพากรยอมรับ
38. รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
39. รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
40. รายจ่ายบิลเงินสดที่ไม่มีชื่อผู้ขาย จะปฏิบัติอย่างไรไม่ให้ถูกสรรพากรประเมิน
41. เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม รายการส่วนนี้ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้าม และสรรพากรยอมรับ
42. ประเด็นปัญหาเกี่ยวข้องกับภาษีซื้อต้องห้ามต้องบวกกลับทุกกรณีหรือไม่ มีกรณีใดที่ถือเป็นรายจ่ายได้
43. สินทรัพย์มูลค่าเล็กน้อยที่นโยบายให้ตัดเป็นค่าใช้จ่ายทางบัญชี จะดำเนินการอย่างไรในการคำนวณภาษีเงินได้

44. ประเด็นปัญหาค่าเสื่อมราคาที่สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 145 ต้องปฎิบัติอย่างไร
45. ผลขาดทุนสะสมยกมาทางบัญชีต้องมีแนวปฏิบัติอย่างไร
46. ประเด็นสินทรัพย์ที่กิจการต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ
47. ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น แนวปฏิบัติในการตัดจำหน่ายหนี้สูญและการตั้งค่าเผื่อ ณ วันปิดงบการเงิน ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ
48. เงินลงทุนชั่วคราว หรือเงินลงทุนระยะสั้น จะต้องตีราคา ณ วันสิ้นรอบบัญชีหรือไม่ มีแนวปฏิบัติที่ถูกต้อง อย่างไร
49. เทคนิคการตรวจนับสต็อกสินค้า กระทบยอดบัญชีกับสินค้าในสต๊อก ให้ตรง ถูกต้อง
50. สินค้าคงเหลือปัญหาการตรวจนับขาดหรือเกินไม่ตรงกับบัญชี นักบัญชีจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
51. การปรับปรุงรายงานและการปิดบัญชี สต๊อกสินค้าที่ถูกต้องและทันเวลา
52. การทำลายสินค้าและวัตถุดิบ มีวิธีการปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้องมาตรฐานการบัญชีและทางภาษี
53. ประเด็นที่สำคัญทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ นั้นต้องปฏิบัติอย่างไร
54. ประเด็นปัญหาที่นักบัญชีต้องระวัง ทางภาษีอากรที่เกี่ยวข้องกับ ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ที่ต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษที่มักถูก
สรรพากรประเมินมีอะไรบ้าง
55. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมจะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์หรือไม่และมีหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องอย่างไร
56. ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ทางบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร
57. บริษัทมีการแลกเปลี่ยนสินทรัพย์ทางบัญชีจะใช้ราคาอะไรบันทึกบัญชีและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับภาระภาษีที่ตามมานั้นมีอะไรบ้างและ
จะต้องปฏิบัติอย่างไร
58. ประเด็นความผิดพลาดในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ นักบัญชีต้องปฏิบัติอย่างไร
59. ประเด็นความผิดพลาดในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ ที่สรรพากรมักจะประเมินมีอะไรบ้าง ที่นักบัญชีต้องทราบ
60. เงินลงทุนระยะยาวหากมีการลดทุนเกิดผลขาดทุนจากเงินลงทุนจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่
61. ประเด็นปัญหาหนี้สินของกิจการที่ต้องระมัดระวังนั้น มีอะไรบ้างและแนวปฏิบัติที่ถูกต้องเพื่อไม่ให้ถูกประเมิน
62. ปัญหาของ เงินมัดจำหรือเงินลวงหน้า ความผิดพลาดที่นักบัญชีต้องระมัดระวัง
63. การคำนวณการหัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3,53 การจ่ายเงินเดือนพนักงาน การกรอกแบบ ภ.ง.ด.1 และแบบฟอร์มประกันสังคม
และการบันทึกบัญชีการจ่ายเงินเดือน ประเด็นที่นักบัญชีต้องแม่นยำ
64. การจัดเตรียมเอกสารส่งผู้สอบบัญชี ที่เป็นระบบและมีประสิทธิภาพ
65. การประมาณการหนี้สินที่เกี่ยวข้องและแนวปฏิบัติทางบัญชีและภาษี
66. ประเด็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียนที่กิจการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษและต้องปฏิบัติให้ ถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
67. ประเด็นที่ต้องระมัดระวังในส่วนของเจ้าของ ที่ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องทั้งด้านบัญชีและภาษี
68. การตั้งสำรองสินค้าล้าสมัย ทำอย่างไรให้เหมาะสม ไม่เสียหาย
69. วิธีการทางบัญชีในการบันทึกราคาสินค้า สินค้าชนิดเดียวกันแต่ราคาทุนต่างกันใช้รหัสสินค้าร่วมกันได้หรือไม่ จะมีปัญหาอย่างไร
70. การกระทบยอดรายได้ใน ภ.ง.ด. 50 กระทบ ภ.ง.ด. 30 ภ.ง.ด. 53 ของแต่ละเดือนเพื่อไม่เป็นการ สะสมปัญหาไปถึงปลายปี
71. การกระทบยอดเงินฝากธนาคาร และการปรับปรุงบัญชีให้กูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี
72. การจัดทำรายงานยื่นหน่วยราชการสิ้นปี กรอบแบบภ.ง.ด.50 แบบสบช.3 บอจ.5
73. สิ่งที่นักบัญชีต้องจัดการทุกสิ้นเดือน เพื่อลดความผิดพลาด ทั้งด้านการบันทึกบัญชีและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
74. การจัดทำและติดตามเอกสารประกอบการเบิกจ่าย การรับเงินที่ต้องมีเมื่อผู้สอบบัญชีและสรรพากร ขอตรวจสอบ
75. การปรับปรุงกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล และข้อควรระวังเพื่อป้องกันความผิดพลาด
76. การตั้งประมาณการหนี้สงสัยจะสูญและค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ มีแนวปฏิบัติอย่างไร
77. กรรมการบริษัท พนักงานบริษัท ยืมเงินบริษัทแล้วหนีหาย บริษัทจะตัดบัญชีเป็นหนี้สูญเลยได้หรือไม่ และต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง
78. Update รายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิ รายจ่ายที่หักได้เพิ่มขึ้น รายจ่ายต้องห้ามและการปรับปรุงรายจ่ายในแบบ ภ.ง.ด. 50
79. รายได้ที่ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม รายได้จากค่าปรับ ค่าสินไหมทดแทน ดอกเบี้ย เงินปันผล
80. รายได้รอบบัญชีอื่น แต่รับมาในรอบบัญชีที่จะยื่นแบบ ภ.ง.ด. 50
81. การใช้เครดิตภาษีหัก ณ ที่จ่าย พร้อมกรณีการขอคืนอย่างปลอดภัย
82. หมายเหตุหน้างบการเงินที่ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตบันทึกไว้กรณีใดที่จะมีผลให้ถูกสรรพากรตรวจสอบหรือไม่
83. มูลค่าคงเหลือหรือราคาซากสินทรัพย์ นักบัญชีจะต้องจัดการอย่างไร
84. สินทรัพย์เช่าการเงินมีความแตกต่างทางบัญชีอย่างไร
85. การปรับปรุงสินทรัพย์จะทำอย่างไรระหว่างบันทึกบัญชีมูลค่าต้นทุนเพิ่ม หรือตัดเป็นค่าใช้จ่าย
86. หาสินทรัพย์ไม่พบจะดำเนินการอย่างไรให้ถูกต้องที่สุด
87. เจ้าหนี้ค้างชำระมานาน ติดตามไม่ได้ หรือไม่ได้ติดตาม จะแก้ไขปัญหานี้ให้ถูกต้องอย่างไร
88. จุดสำคัญอื่นๆ ที่จะทำให้เกิดความผิดพลาดในการจัดทำบัญชีและรายงานทางการเงิน
89. คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
3:0 3:0 3:0 3:0

วิทยากร

อาจารย์บุญศรี เตชะวรุตมะ

สถานที่

โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน
1 ถนนรัชดาภิเษก Fortune Town เขต ดินแดง กรุงเทพมหานคร 10400
โทรศัพท์ :
02-641-1500
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba