เทคนิคและจุดที่ต้องระมัดระวังในการปิดงบการเงินสำหรับนักบัญชี

รหัสหลักสูตร : 21/2768

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้ออบรม

1. งบการเงินที่ต้องจัดทำมีอะไรบ้าง และอะไรบ้างที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดทำ

2. ในวันสิ้นรอบบัญชีกิจการมีภาระภาษีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง และประเด็นที่มักถูกประเมิน

3. ข้อผิดพลาด และวิธีการแก้ไขในงบกำไรขาดทุน

3.1 ประเด็นเอกสารหลักฐานการรับ-จ่ายเงิน ทำอย่างไรให้น่าเชื่อถือ

3.2 รายได้ที่มักถูกประเมิน และแนวปฏิบัติให้สรรพากรยอมรับ

- รายได้จากการขายสินค้าและให้บริการที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

- รายได้จากการจำหน่ายเศษซาก หรือ เศษวัสดุประเด็นภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง

- ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมพนักงาน กรรมการ บริษัทในเครือต้องปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

- รายได้ค่าสินไหมทดแทนที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยจะรับรู้เมื่อใด

- ค่าปรับหรือดอกเบี้ยที่เกิดจากการชำระเงินหรือส่งของล่าช้ามีประเด็นอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง

- การขายสินค้าหรือให้บริการที่ต่ำกว่าราคาตลาด หรือขายขาดทุนทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมิน

- ประเด็นรายได้อื่นที่กิจการต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษ

3.3 ปัญหาด้านรายจ่ายที่มักถูกเพ่งเล็งเป็นพิเศษ

- รายจ่ายต้องห้ามที่กิจการต้องระมัดระวังและมักถูกสรรพากรประเมิน

- ทำอย่างไรให้รายจ่ายที่เกิดขึ้นถือเป็นรายจ่ายได้ คำนวณกำไรสุทธิได้ไม่ต้องห้าม ไม่ต้องบวกกลับ

- ประเด็นรายจ่ายส่วนตัว ให้โดยเสน่หา ที่มักเกิดความผิดพลาดในการจัดทำงบการเงิน

- ทำอย่างไรจะให้สวัสดิการพนักงานถือเป็นรายจ่ายได้และภาษีซื้อขอคืนได้ อย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม

- หลักเกณฑ์การคำนวณค่าการกุศลสาธารณะและรายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬามีอะไรบ้างที่ต้องระมัดระวัง หากกิจการประสบผลขาดทุนจะถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

- กิจการจะรับรองลูกค้าอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ ความผิดพลาดที่มักเกิดขึ้นเมื่อสิ้นรอบบัญชีกิจการจะต้องพิจารณาประเด็นใดบ้าง

- หลักเกณฑ์ที่สำคัญในการส่งเสริมการขายให้สรรพากรยอมรับไม่ถูกประเมิน เช่น การให้ของขวัญของชำร่วย การให้ส่วนลด ของแถม ของแจก

- รายจ่ายที่พิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ รายจ่ายที่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน รายจ่ายบิลเงินสดที่ไม่มีชื่อผู้ขายจะปฏิบัติอย่างไรไม่ให้ถูกสรรพากรประเมิน

- เบี้ยปรับและเงินเพิ่มอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร

- ภาษีซื้อต้องห้ามต้องบวกกลับทุกกรณีหรือไม่ มีกรณีใดที่ถือเป็นรายจ่ายได้

3.4 หลักเกณฑ์การคำนวนกำไรสุทธิ

- อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล

- ผลขาดทุนสะสมยกมาแนวปฏิบัติที่สำคัญ

4. ข้อผิดพลาดและวิธีการแก้ไขให้สรรพากรยอมรับในงบแสดงฐานะการเงิน

4.1 ประเด็นสินทรัพย์ที่กิจการต้องให้ความระมัดระวังเป็นพิเศษ

- ลูกหนี้การค้าและลูกหนี้อื่น แนวปฏิบัติในการตัดจำหน่ายหนี้สูยและการตั้งค่าเผื่อ ณ วันปิดงบการเงินทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

- เงินลงทุนชั่วคราว หรือเงินลงทุนระยะสั้น จะต้องตีราคา ณ วันสิ้นรอบบัญชีหรือไม่ มีแนวปฏิบัติอย่างไร

- สินค้าคงเหลือปัญหาการตรวจนับขาดหรือเกิน และการทำลายสินค้าและวัตถุดิบทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

- ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์ ประเด็นทางภาษีอากรที่กิจการจะต้องให้ความสนใจเป็นพิเศษที่มักถูกสรรพากรประเมินมีอะไรบ้าง

- ดอกเบี้ยเงินกู้จะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์เมื่อใด มีหลักเกณฑ์อย่างไร

- ปัญหาของรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเด็นความผิด 5 ประเด็นที่มักถูกสรรพากรประเมิน

- การแลกเปลี่ยนสินทรัพย์จะใช้ราคาอะไรบันทึกบัญชีและภาระภาษีที่เกี่ยวข้อง

- ประเด็นความผิดพลาดในการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ที่มักไม่เป็นไปตามประมวลรัษฎากรและมักถูกสรรพากรประเมิน

- เงินลงทุนระยะยาวหากมีการลดทุนเกิดผลขาดทุนจากเงินลงทุนจะนำมาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่

4.2 ประเด็นหนี้สินของกิจการควรจะต้องระมัดระวังอะไรบ้างที่มักถูกประเมิน

- ปัญหาของค่าใช้จ่ายค้างจ่าย เจ้าหนี้กรมสรรพากร เงินมัดจำหรือเงินล่วงหน้า ความผิดพลาดที่ต้องระมัดระวัง

- การประมาณการหนี้สินแนวปฏิบัติทางภาษีอากร

- ประเด็นหนี้สินหมุนเวียนและหนี้สินไม่หมุนเวียนที่กิจการต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ

4.3 ประเด็นที่ต้องระมัดระวังในส่วนของเจ้าของ

5. งบการเงินสะท้อนประเด็นอะไรบ้างที่สรรพากรมักเรียกตรวจสอบ

6. ถาม-ตอบปัญหา

- คุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
6:0 0:0 6:0 0:0

วิทยากร

ดร.มนตรี ช่วยชู

สถานที่

โรงแรม S31
545 ซ.สุขุมวิท 31 กทม.10110
โทรศัพท์ :
02 260 1111
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba