141 ประเด็นการแก้ไขเอกสารรายจ่ายทางภาษี ทำอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

รหัสหลักสูตร : 21/2378

กำหนดการสัมมนา

อัตราค่าสัมมนา

สมาชิกวารสารธรรมนิติ : 4,280 บาท ( รวม VAT )
บุคคลทั่วไป : 5,029 บาท ( รวม VAT )

รายละเอียดหลักสูตร

หัวข้อสัมมนา

1. รูปแบบของเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินตามกฎหมายบัญชีและภาษีอากร

2. เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินอะไรบ้าง ที่สรรพากรยอมรับ

3. หลักเกณฑ์ในการออกหลักฐานการรับ-จ่ายเงิน ตามประมวลรัษฎากร

4. เอกสารภายในของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการจ่ายเงินของฝ่ายบัญชีการเงินที่ต้องระมัดระวัง

5. เอกสารประกอบการเบิกจ่ายเงินภายในของกิจการอะไรบ้างที่ควรมีเพื่อประโยชน์ในการควบคุมภายในและป้องกันการทุจริต

6. หลักเกณฑ์ในการออกใบสําคัญจ่ายและประโยชน์ที่ได้รับ

7. มีเอกสารรายจ่ายอะไรบ้างที่ฝ่ายบริหารต้องระมัดระวัง เพื่อประโยชน์ในการบริหาร

8. เอกสารรายจ่ายที่มีหลักฐานสมบูรณ์ถูกต้องตามกฎหมายต้องประกอบด้วยข้อความใดบ้าง

9. เอกสารรายจ่ายที่มีหลักฐาน แต่ไม่สมบูรณ์ ไม่ถูกต้องตามกฎหมายเป็นอย่างไร

10. เมื่อสรรพากรเข้าตรวจสอบเอกสารรายจ่าย ประเด็นผิดพลาดที่มักถูกประเมิน

11. กิจการได้รับหลักฐานการจ่ายเงินเป็น “บิลเงินสด” หรือบิลที่ไม่มีชื่อ-ที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน ทําอย่างไร

จึงจะลดข้อโต้แย้งของพนักงานประเมินให้เชื่อได้ว่า จ่ายจริง และลงเป็นรายจ่ายได้

12. การพิจารณาว่า “รายจ่ายซึ่งพิสูจน์ไม่ได้ว่าใครเป็นผู้รับ” ทําอย่างไรให้สรรพากรยอมรับและพิสูจน์ตัวผู้รับเงินได้

13. เมื่อกิจการได้จ่ายเงินไปแล้วผู้รับไม่ออกหลักฐานการจ่ายเงินให้ ต้องทําอย่างไรให้ถือเป็นรายจ่ายได้ไม่ต้องบวกกลับ

14. หากเอกสารหลักฐานการจ่ายเงินไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของประมวลรัษฎากรเช่น บิลเงินสดที่ไม่มีชื่อ-ที่อยู่ของผู้รับเงิน

และชื่อ-ที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน มีบทลงโทษอย่างไร และวิธีการแก้ไขให้ถือเป็นรายจ่ายได้

15. กิจการสามารถใช้ “สําเนาใบโอนเงิน” แทนหลักฐานการจ่ายเงินได้หรือไม่ สรรพากรยอมรับหรือไม่

16. ตั๋วรถเมล์ ตั๋วรถไฟ ตั๋วรถทัวร์ต่างจังหวัด ถือเป็นหลักฐานประกอบการบันทึกบัญชีถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

17. ตั๋วเครื่องบินสามารถนํามาเป็นหลักฐานการจ่ายเงินที่ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิได้หรือไม่

18. บัตรเติมเงินทางด่วน (Easy Pass) ถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ และต้องปฎิบัติอย่างไร

19. รถแท็กซี่ รถจักรยายนต์รับจ้าง รถตู้ของ ขสมก. หากไม่มีใบเสร็จ จะใช้หลักฐานอะไรประกอบการลงบัญชีและ เป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไรสุทธิให้สรรพากรยอมรับ

20. ค่าพาหนะของพนักงานหากไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินจะนํามาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้อย่างไร และถือเป็น เงินได้ของพนักงานหรือไม่

21. มีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไรว่า “รถยนต์” ที่กิจการซื้อมานั้นขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่ ใช้เอกสารใดในการพิจารณา

22. กิจการซื้อรถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีไม่เกิน 10 คนจะถือเป็นต้นทุนของสินทรัพย์อย่างไร เอกสารประกอบการบันทึกบัญชีต้องเป็นอย่างไร

24. กิจการนํารถยนต์ของพนักงานมาใช้ในกิจการจะสามารถนํามาเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ จะต้องปฏิบัติ อย่างไร และเอกสารแนบต้องมีอะไรบ้าง

25. มีค่าใช้จ่ายและเอกสารอะไรบ้างของรถยนต์ที่พนักงานนํามาใช้ในกิจการที่สรรพากรยอมให้ถือเป็นรายจ่ายได้

26. บิลนํ้ามันจะต้องมีเลขทะเบียนรถหรือไม่ และแนวปฏิบัติที่ถูกต้องที่ให้ถือเป็นรายจ่ายได้

27. บิลนํ้ามันรถที่เป็นเอกสารออกด้วยกระดาษความร้อน ต่อมาเจือจางลงอ่านไม่ออก จะนํามาถือเป็นรายจ่ายได้ หรือไม่ และภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่ แนวปฏิบัติการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง

28. คูปองทางด่วน ค่าผ่านทางใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชีและต้องมีข้อความใดบ้าง

29. ค่ารถไฟฟ้าใต้ดิน ลอยฟ้า ใช้เอกสารใดจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

30. ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางของพนักงานใช้เอกสารอะไรประกอบการจ่ายเงิน

31. ค่าเบี้ยเลี้ยงจ่ายอย่างไรจึงจะไม่ถือเป็นรายได้ของพนักงานหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่สําคัญ

32. หากพนักงานไปซื้อของแต่ไม่มีบิล พนักงานจะเซ็นชื่อรับเงินในใบรับเงินแทนผู้ขายได้หรือไม่ มีวิธีการอย่างไร

33. ค่าบริการที่จอดรถ ต้องใช้เอกสารใดประกอบการลงบัญชี

34. การส่งจดหมายหรือพัสดุไปรษณีย์การซื้อแสตมป์ต้องมีใบเสร็จทุกครั้งหรือไม่

35. เอกสารประกอบการจ่ายเงินค่าอากรแสตมป์ต้องเป็นอย่างไร

36. กิจการกําหนดงบ Entertain ให้พนักงานเป็นรายเดือน จะนํามาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ และถือเป็นเงิน ได้ของพนักงานหรือไม่

37. ค่าใช้จ่ายในการรับรอง ทําอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้โดยไม่ต้องบวกกลับ

38. บิลค่ารับรองไม่ได้ระบุชื่อ-ที่อยู่ของกิจการแต่เขียนว่า “สด” หรือ “เงินสด” จะนํามาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

39. การให้สิ่งของในการรับรองแก่ลูกค้าจะต้องทําเอกสารใดเพื่อให้สรรพากรเชื่อได้ว่า มีการให้จริง และเงื่อนไขที่ กิจการจะต้องระมัดระวัง

40. กิจการจ่ายค่าสมาชิก สโมสร สปอร์ตคลับ หรือสันทนาการให้ผู้บริหารจะถือเป็นรายจ่ายคํานวณกําไรสุทธิได้ หรือไม่ มีวิธีอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

41. รายจ่ายเพื่อการกุศลสาธารณประโยชน์รายจ่ายเพื่อการศึกษาและการกีฬา ถือเป็นรายจ่ายในการคํานวณกําไร

42. เงินบริจาคจะต้องใช้เอกสารใดประกอบการจ่ายเงิน

43. กิจการประสบผลขาดทุน ค่าบริจาคถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

44. ปัญหาการหักภาษีณ ที่จ่ายค่าโทรศัพท์หลักเกณฑ์ที่สําคัญ

45. หลักเกณฑ์การขอภาษีซื้อค่าโทรศัพท์คืน

46. ค่าโทรศัพท์มือถือของพนักงานจะนํามาถือเป็นรายจ่ายของกิจการได้หรือไม่ ใช้เอกสารใด

47. ปัญหาของค่าขนส่ง การหักภาษีณ ที่จ่ายและการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

48. กรณีการขายสินค้าพร้อมค่าขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

49. กรณีการบริการพร้อมขนส่งเขียนบนเอกสารใบเดียวกัน หรือแยกคนละบิลจะปฏิบัติอย่างให้ถูกต้อง

50. หลักการพิจารณากรณีใดถือเป็นค่าเช่า กรณีใดถือเป็นค่าขนส่งระหว่างการเช่ารถกับค่าขนส่ง

51. เช่ารถพร้อมคนขับจะหักภาษีอย่างไร และเอกสารระบุแยกหรือรวมบนบิลใบเดียวกัน แนวปฏิบัติที่ถูกต้อง

52. สรรพากรมองอย่างไร เอกสารรายจ่ายของกิจการจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้และไม่ถูกประเมิน

53. “ชื่อ ที่อยู่ของผู้รับเงิน” ที่แสดงในหลักฐานการจ่ายเงินที่ออกให้โดยผู้รับเงิน สามารถกระทําโดยวิธีใดได้บ้าง

54. เอกสารหลักฐานการจ่ายเงินจะต้องมี “ชื่อ ที่อยู่ของผู้จ่ายเงิน” ด้วยหรือไม่

55. เขียนคําว่า “สด” หรือ “เงินสด” โดยไม่ต้องมีชื่อที่อยู่ของผู้จ่ายเงินได้หรือไม่

56. ทําอย่างไรให้ “บิลเงินสด” ถือเป็นรายจ่ายได้สรรพากรยอมรับ

57. ผู้ขายไม่ออกบิลให้ทําอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้ ใช้นามบัตรแทนได้หรือไม่

58. หากผู้ขายไม่ออกบิลให้กิจการสามารถทําใบรับเงินให้ผู้รับเงินเซ็นได้หรือไม่ ต้องแนบสําเนาบัตรประชาชนหรือไม่

59. หากกิจการให้ผู้ขายเซ็นรับเงินบนใบรับเงิน ทําอย่างไรที่จะลดข้อโต้แย้งของเจ้าพนักงานประเมินได้

60. หากผู้รับเงินไม่ออกหลักฐานการรับเงินให้จะใช้สําเนาเช็คหรือสําเนาใบโอนเงินแทนหลักฐานการจ่ายเงินได้หรือไม่ และมีวิธีอื่นหรือใช้เอกสารอื่นได้หรือไม่

61. ทําอย่างไรจะทําให้ “ใบสําคัญจ่าย” เป็นหลักฐานการจ่ายเงินให้สรรพากรยอมรับ มีหลักเกณฑ์ปฏิบัติอย่างไร

62. กิจการมีการโอนเงินให้เจ้าหนี้แบบระบบ Online จะใช้หลักฐานอะไรประกอบการจ่ายเงิน

63. ประเภทของใบกํากับภาษีในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม

64. แบบพิมพ์ใบกํากับภาษีมีกี่รูปแบบ แนวปฏิบัติที่สําคัญ

65. ใบกํากับภาษีใช้เป็นหลักฐานการรับเงินหรือจ่ายเงินได้หรือไม่

66. ปัญหาของ e-Tax Invocie, e-Receipt มีแนวปฏิบัติอย่างไร

67. ใบกํากับภาษีจะต้องระบุสํานักงานใหญ่หรือสาขาที่ออกใบกํากับภาษีหรือไม่ และต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษีด้านผู้ซื้อและผู้ขายหรือไม่อย่างไร

68. ใบกํากับภาษีที่มีการขีดฆ่าแก้ไขขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่ และถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

69. ใบกํากับภาษีเขียนจํานวนเงินตัวอักษรผิดมีการขีดฆ่าและเซ็นชื่อกํากับ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

70. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ขาย” บนใบกํากับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

71. “ชื่อ-ที่อยู่ของผู้ซื้อ” บนใบกํากับภาษีใช้ตรายางประทับหรือเขียนด้วยลายมือ ขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

72. “เลขประจําตัวผู้เสียภาษีของผู้ขาย” ไม่ใช่เลข 13 หลัก กิจการจะขอภาษีซื้อคืนได้หรือไม่

73. “เล่มที่” “เลขที่” ของใบกํากับภาษีใช้มือเขียน ใช้ตรายางประทับ ไม่ได้พิมพ์จากโรงพิมพ์หรือคอมพิวเตอร์ จะขอคืนภาษีซื้อได้หรือไม่

74. มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยส่วนราชการจะใช้ใบกํากับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่ หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

75. มีการเปลี่ยนแปลงที่อยู่โดยกิจการย้ายที่อยู่ย้ายสํานักงาน จะใช้ใบกํากับภาษีที่อยู่เดิมได้หรือไม่หลักปฏิบัติที่ถูกต้อง

76. อย่างไรเรียกว่า “เอกสารออกเป็นชุด” และข้อความที่ต้องมีบนเอกสารอะไรบ้าง

77. เขียนหรือพิมพ์ที่อยู่ของผู้ซื้อผิด หรือไม่ครบถ้วน ทําอย่างไรจึงจะขอภาษีซื้อคืนได้

78. กรณีลูกค้าไม่ให้ชื่อและที่อยู่กิจการจะออกใบกํากับภาษีอย่างจึงจะถูกต้อง ไม่เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

79. หลักเกณฑ์ออกใบแทนใบกํากับภาษี

80. หากมีการยกเลิกใบกํากับภาษีแล้วออกใหม่ ต้องปฏิบัติอย่างไร

81. การออกใบกํากับภาษีรวมการขายสินค้าหรือบริการหลาย

82. กรณีขายสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า แต่ลูกค้าไปเอาใบกํากับภาษีต้องปฏิบัติอย่างไรให้ถูกต้อง

83. มีวิธีพิจารณาอย่างไรจึงจะทราบว่าเป็นใบกํากับภาษีปลอม

84. ขอภาษีซื้อคืนตามใบกํากับภาษีเต็มรูป แต่ต่อมาสรรพากรแจ้งว่า เป็นใบกํากับภาษีปลอม จะต้องปฏิบัติอย่างไรไม่ต้อง เสียเบี้ยปรับเงินเพิ่ม

85. ใบกํากับภาษีอย่างย่อจะนํามาถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่ ทําอย่างไรจึงจะถือเป็นรายจ่ายได้

86. ใบกํากับภาษีอย่างย่อของปั๊มนํ้ามันถือเป็นรายจ่ายได้หรือไม่

87. จ่ายค่าบริการแต่ไม่ได้หักภาษีณ ที่จ่ายได้หรือไม่ มีบทลงโทษอย่างไร

88. ธรกิจส่งออกสินค้าจะใช้เอกสารใดในการบันทึกบัญชีจึงจะมีสิทธิเสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

89. ระบบเอกสารตามประมวลรัษฎากร หลักเกณฑ์และเงื่อนไขมีอย่างไรบ้าง

90. ข้อความและรายการที่ต้องมีในเอกสารใบรับเงิน และหลักฐานในการเสียภาษีอากร

91. จํานวนเงินที่ผู้ขายสินค้าหรือให้บริการที่ต้องออกใบรับเงินและถ้าไม่ออกใบรับเงินมีความผิดหรือไม่

92. กิจการจะต้องทําและเก็บต้นขั้นหรือสําเนาใบรับเงินหรือไม่ และแนวปฏิบัติอย่างไร

93. หลักเกณฑ์ในการออกใบรับและใบส่งของ และข้อยกเว้นไม่ต้องออกมีอะไรบ้าง

94. ภาษีขายและภาษีซื้อในระบบภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้จ่ายเงินต้องระมัดระวัง

95. เงื่อนไขเอกสารรายจ่ายที่สรรพากรยอมรับ ไม่ต้องบวกกลับ

96. มีเอกสารการจ่าย แต่ทําไม่สรรพากรบอกเป็นรายจ่ายต้องห้าม

97. รายจ่ายตามเอกสารที่มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายนําส่งให้กรมสรรพากร ลงเป็นรายจ่ายของกิจการได้จริงหรือไม่

98. พนักงานจ่ายค่าใช้จ่าย แต่ไม่มีหลักฐานการจ่ายเงิน ให้พนักงานเซ็นรับเงินในใบสําคัญจ่ายแทนผู้รับเงินได้หรือไม่

99. เอกสารรายจ่ายที่มีการขีดฆ่าแก้ไขเป็นรายจ่ายต้องห้ามหรือไม่

100. รายการในเอกสารที่จะใช้พิสูจน์รายจ่ายว่าเกี่ยวข้องกับการประกอบการหรือไม่ เป็นอย่างไร

101. ภาษีซื้อต้องห้ามเกี่ยวข้องกับรายจ่ายอย่างไร

102. ภาษีซื้อต้องห้ามรายการใดบ้างที่ไม่ต้องห้ามนํามาลงเป็นรายจ่ายได้

103. หลักเกณฑ์การหักภาษีณ ที่จ่าย และรูปแบบของหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่าย

104. มีรายจ่ายอะไรบ้าง ที่ยกเว้นไม่ต้องหักภาษีณ ที่จ่าย

105. เอกสารประกอบในการหักภาษีณ ที่จ่ายมีอะไรบ้าง

106. ไม่มีหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่าย จะแก้ไขอย่างไร

107. ถ้าการจ่ายเงินต้องหักภาษีณ ที่จ่าย แต่ไม่ได้หัก จะปฏิบัติอย่างไรให้สรรพากรยอมรับ

108. ถูกราชการหักภาษีณ ที่จ่าย แต่ออกใบเสร็จรับเงินแทนหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่ายได้หรือไม่

109. การจ่ายเงินได้ที่ไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ต้องออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่ายหรือไม่

110. การออกหนังสือรับรองการหักภาษีณ ที่จ่าย กรณีออกแทน

111. เอกสารรายจ่ายกรณีจ่าย “ค่าจ้างทําของ” ทําอย่างไรให้หักภาษีได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

112. จ่าย ”ค่านายหน้า” ให้นิติบุคคล กับบุคคลธรรมดาต้องมีเอกสารอะไรบ้าง และหักภาษีณ ที่จ่ายอัตราใด

113. พนักงานจ่ายเงินทดรองจ่ายแทนบริษัท เอกสารรายจ่ายต้องทําอย่างไร

114. ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาลของพนักงาน ระบุชื่อพนักงาน ไม่ระบุชื่อบริษัท ลงรายจ่ายได้หรือไม่

115. ค่านํ้ามันรถพนักงานลงรายจ่ายบริษัทได้หรือไม่ และต้องมีเอกสารประกอบอะไรบ้าง

116. เงินทดรองจ่ายที่กิจการจ่ายแทนคู่สัญญาหรือบริษัทในเครือทําเอกสารอย่างไร และเป็นรายจ่ายได้ของกิจการได้หรือไม่ ภาษีซื้อขอคืนได้หรือไม่

117. เอกสารในการทําการส่งเสริการขายที่สรรพากรมักตรวจสอบ

118. นําสินค้าไปส่งเสริมการขายต้องออกเอกสารอย่างไรสรรพากรจึงจะยอมรับ และเสียภาษีอย่างประหยัดและถูกกฎหมาย

119. การขายสินค้าหรือบริการแล้วมีการแถมของแถมให้กับลูกค้า จะต้องออกใบกํากับภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง

120. เอกสารที่ใช้ในการตรวจนับสินค้า หรือนับสต๊อกมีอะไรบ้าง

121. สินค้าในสต๊อกสูญหายต้องใช้เอกสารใดเป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี

122. การนําสินค้าไปใช้ในกิจการจะใช้เอกสารใดเป็นหลักฐาน

123. สินค้าหมดอายุ ล้าสมัย ถ้าจะตัดสต๊อกให้ถูกต้อง จะต้องมีการจัดทําเอกสารอย่างไร

124. การนําสินค้าไปให้ลูกค้าทดลองใช้โดยไม่เก็บเงินกับลูกค้าต้องออกใบกํากับภาษีหรือไม่ ลงรายงานภาษีขายหรือไม่ ใช้เอกสารหลักฐานอะไรเพื่อลงรายงานสินค้าและวัตถุดิบ

125. นําสินค้าหรือวัตถุดิบไปทําลายต้องใช้เอกสารใดประกอบการทําลายสินค้าหรือวัตถุดิบ

126. เมื่อได้รับสินค้

นับชั่วโมง CPD นับชั่วโมง CPA
บัญชี อื่นๆ บัญชี อื่นๆ
0:0 0:0 0:0 0:0

วิทยากร

อาจารย์สมเดช โรจน์คุรีเสถียร

สถานที่

โรงแรมดิเอมเมอรัลด์
99/1 ถ.รัชดาภิเษก แขวง ดินแดง เขต ดินแดง กทม.
โทรศัพท์ :
02 2764567
เว็บไซต์ :
การเดินทาง :

รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT สถานีห้วยขวาง ทางออกที่ 3 (เดิน 400 เมตร)


: InternetExplorer เวอร์ชั่น 10 ขึ้นไป : Firefox เวอร์ชั่น 53 ขึ้นไป : Chrome เวอร์ชั่น 58 ขึ้นไป

FaLang translation system by Faboba