Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 ปัญหาการใช้สิทธิทางภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุด

โดย

หลักสูตร

"Update ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาปี 2562 ปัญหาการใช้สิทธิทางภาษีให้ได้ประโยชน์สูงสุด"

 

หัวข้อสัมมนา

1. หลักเกณฑ์ทางภาษีที่เกี่ยวกับบุคคลธรรมดาที่ผู้เสียภาษี ต้องทราบ

        - อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 

        - กรณีแยกยื่นของสามี-ภรรยา ยื่นอย่างไรให้ได้รับประโยชน์สูงสุด 

        - มนุษย์เงินเดือน ต้องมีรายได้เท่าไหร่จึงจะต้องยื่นแบบเสียภาษี  

        - ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้วจะขอคืนภาษีได้อย่างไร

2. ประเภทเงินได้ที่ต้องเสียภาษี ตามมาตรา 40(1)-(8)เปรียบเทียบเงินได้ที่มักเข้าใจผิด

        - ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(7)งานรับเหมา กับ 40(8) งานรับจ้าง 

        - ความแตกต่างของเงินได้ตามมาตรา 40(2) (6)และ (8)

        - เงินได้ตามมาตรา 40(1) และ 40(2)  แตกต่างกันอย่างไร 

        - เงินที่นายจ้างจ่ายให้กับลูกจ้าง เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ รวมทั้งประโยชน์เพิ่มอื่นๆ ถือเป็นเงินได้ประเภทใด

3. ประเด็นปัญหา เงินได้ที่ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานมีวิธีการคิดอย่างไร วิธีไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยที่สุด

        - คำว่า “ค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนฯ” มีวิธีการคำนวณอย่างไร 

        - เงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ได้รับยกเว้นภาษีมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง 

        - การแยกคำนวณเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานมีหลักเกณฑ์อย่างไร 

        - การคำนวณเงินได้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงานคำนวณอย่างไรไม่ต้องเสียเงินเพิ่ม เพิ่มเติม

4. ประเด็นปัญหาทางภาษีกรณีลูกจ้างเป็นคนต่างชาติ และหลักเกณฑ์การหักค่าลดหย่อน

        - การเสียภาษีของคนต่างชาติที่ได้รับเงินได้จากประเทศไทย ต้องเสียภาษีให้กับประเทศไทยหรือไม่ ถ้าไม่ได้เดินทางเข้ามาในไทย หรือมาอยู่ในไทยไม่ถึง180 วัน 

        - กรณีคนต่างชาติทางเข้ามาทำงานในประเทศไทย แต่ได้รับเงินได้จากต่างประเทศ ต้องนำมาเสียภาษีหรือไม่ 

        - การหักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน ของสามีภรรยา หรือบุตรของคนต่างชาติ

5. เจาะประเด็นวิธีการหักค่าใช้จ่ายของเงินได้ทั้ง 8 ประเภท เงินได้แบบไหน มีวิธีหักอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุดทางภาษี

6. รวมค่าลดหย่อนและสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา Update ใหม่สำหรับปีภาษี 2560 และนโยบายของปี 2560

        - สิทธิลดหย่อนส่วนบุคคล  

               * การลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนคู่สมรส ลดหย่อนบุตร และลดหย่อนบุตรบุญธรรมแต่ละประเภทมีเงื่อนไขอย่างไร  

        - สิทธิลดหย่อนดอกเบี้ยกู้ยืม   

               * การกู้คนเดียว กู้ร่วม หรือกู้หลายคน ใช้สิทธิลดหย่อนอย่างไร  

        - สิทธิลดหย่อนค่าเลี้ยงดูบิดามารดา ของผู้มีเงินได้/คู่สมรส  

        - สิทธิลดหย่อนเงินสมทบที่จ่ายเข้ากองทุนประกันสังคม  

        - สิทธิลดหย่อนสำหรับเบี้ยประกันชีวิต  

               * ประกันชีวิตแบบทั่วไป ประกันชีวิตแบบบำนาญ    

               * ข้อควรระวัง หากจ่ายเงินประกันคร่อมปีจะสามารถใช้สิทธิได้ในปีใด  

        - สิทธิลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการและทุพพลภาพ  

               * อุปการะเลี้ยงดูคนพิการจริง ทำอย่างไรจึงจะได้รับสิทธิที่ลดหย่อน  

        - สิทธิลดหย่อนเงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  

        - สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)  

               * RMF คืออะไร มีกี่แบบ มีผลตอบแทนอย่างไร    

               * การเตรียมตัวก่อนตัดสินใจลงทุน         

               * ลงทุนอย่างไรเพื่อให้ผิดพลาด  

        - สิทธิลดหย่อนค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) Update ตามเงื่อนไขใหม่  

               * Update ตามกฎหมายใหม่ มีเงื่อนไขแบบใด

               * จะทำอย่างไรหากผิดเงื่อนไขการลงทุน LTF   

               * ความแตกต่างของ RMF & LTF                   

               * RMF & LTF กับการประหยัดภาษีขาย RMF และ LTF ช่วงไหนดีเพื่อประหยัดภาษี  

        - สิทธิลดหย่อนเงินบริจาค บริจาคอย่างไรให้ได้รับสิทธิลดหย่อนทางภาษี  

               * เงินบริจาคให้แก่สถานศึกษา    

               * บริจาคเพื่อการส่งเสริมการกีฬา         

               * หลักเกณฑ์และหลักฐานที่ใช้ในการลดหย่อนบริจาค

7. มีเงินได้สุทธิเท่าไร ถึงไม่ควรใช้เครดิตภาษีเงินปันผล

8. ประเด็นปัญหาทางภาษีเงินได้ของพนักงาน ลูกจ้าง ที่ฝ่ายบุคคลและฝ่ายบัญชีไม่ควรพลาด

        - เคลียร์ประเด็น กรณีเงินได้ที่ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน มีวิธีคิดอย่างไร วิธีไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยที่สุด 

        - ประโยชน์เพิ่มใดบ้างที่ลูกจ้างจะต้องถือเป็นเงินได้ ประเด็นที่นักบัญชีไม่ควรมองข้าม 

        - Update หลักเกณฑ์การนับระยะเวลาของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกรณีออกจากนายจ้างเดิม  และเข้าทำงานใหม่กับนายจ้างใหม่ หรือทำงานต่อกับนายจ้างเดิม 

        - ปัญหาการหักภาษี ณ ที่จ่ายพนักงานเมื่อเริ่มทำงานกลางปี/ออกจากงานระหว่าง

9. Update ! การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2560

        - อัตราภาษีใหม่ การหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน 

        - เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำปรับปรุงใหม่ ที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี

10. คุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

 

FaLang translation system by Faboba