จ่ายเงินค่าจ้างค่าบริการไม่ถึง 1,000 บาทต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่?

โดย

 


1.กรณีทำสัญญาระยะสั้น (Short Term Contract)
กรณีการทำสัญญารายหนึ่ง ๆ หรือครั้งหนึ่ง ๆ มีการตกลงจ่ายค่าจ้างหรือสินจ้างไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายเงินไม่มี
หน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย
ตัวอย่าง
การจ่ายค่าจ้างทำของโดยทำสัญญาครั้งต่อครั้งและ เป็นจำนวนเงิน 900 บาท เมื่อไม่ถึง 1,000 บาท ผู้จ่ายเงิน
ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้

2. กรณีทำสัญญาระยะยาว (Long Term Contract)
ถ้าการจ่ายเงินในครั้งใด เมื่อรวมกับการจ่ายเงินในครั้งก่อนๆ มียอดเงินที่จ่ายถึง 1,000 บาทก็ต้องหัก ณ ที่จ่าย
ตัวอย่าง
การจ่ายค่าบริการรายเดือนค่าโทรศัพท์ เดือนละ 399 บาท
จ่ายเดือนที่ 1 399 (ยังไม่ถึง 1,000 ไม่ต้องหัก ณ ที่จ่าย)
จ่ายเดือนที่ 2 399 (รวมกับเดือนแรกที่จ่าย =399+399 = 798)
จ่ายเดือนที่ 3 399 (รวมกับเดือนที่ 1 และเดือนที่ 2 = 399+399+399 =1,197)
จะเห็นได้ว่าเดือนที่ 3 ยอดเกิน 1,000 บาท ดังนั้นก็ต้องหัก ณ ที่จ่าย


* คำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.4/2528,
คำชี้แจงกรมสรรพากร เรื่องการหัก ณ ที่จ่ายตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 101/2544 เรื่องสั่งให้ผู้จ่ายเงินได้พึง
ประเมินตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรมีหน้าที่หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย)


เกร็ดความรู้กับธรรมนิติ : จ่ายเงินค่าจ้าง ค่าบริการไม่ถึง 1,000 บาทต้องหัก ณ ที่จ่ายหรือไม่?
FaLang translation system by Faboba