กลับมาอีกแล้วกับนโยบายส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล

โดย

 


สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกแล้วกับ TAXBugnoms เจ้าเก่าเจ้าเดิม กับบทความประจำเดือนมิถุนายน เกี่ยวกับนโยบายที่กลับ
มาอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่เกรียงไกรตามคำเรียกร้อง นั่นคือ นโยบายส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล ที่เพิ่งหมดอายุ
ไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมาแบบสดๆ ร้อนๆ 
ตรงนี้ผมต้องบอกก่อนว่า มาตรการนี้ยังไม่ได้ประกาศเป็นกฎหมายนะครับ (ณ วันที่ผมเขียนบทความอยู่ในช่วงกลางเดือน
พฤษภาคมครับ) ซึ่งทาง ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา เห็นชอบให้มีการขยายระยะเวลามาตรการ
ส่งเสริมให้บุคคลธรรมดาประกอบธุรกิจในรูปแบบนิติบุคคลที่หมดอายุไปเมื่อ 31 ธันวาคม 2560 โดยต่ออายุไปอีก
1 ปี ให้บุคคลธรรมดาที่อยากจะเปลี่ยนเป็นนิติบุคคลได้รับสิทธิจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 
ถ้าอ้างอิงจาก พระราชกฤษฎีกา 630 ซึ่งเป็นกฎหมายฉบับเดิม จะเห็นว่าสิทธิประโยชน์ของบุคคลธรรมดาที่จะได้รับเมื่อ
เปลี่ยนมาเป็นนิติบุคคลนั้น ประกอบด้วยรายการหลักๆ ต่อไปนี้
1. ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะและอากรแสตมป์ แก่บุคคลธรรมดาในการโอนกรรมสิทธิ์
อสังหาริมทรัพย์และทรัพย์สิน
2. สำหรับบริษัทที่จัดตั้งใหม่มีทุนชำระแล้วไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท สามารถนำรายจ่ายจากการจัด
ตั้งบริษัท รวมทั้งรายจ่ายค่าทำบัญชีและค่าสอบบัญชี มาหักรายจ่ายได้ 2 เท่า เป็นเวลา 5 รอบบัญชีโดยการต่ออายุกฎหมาย
ฉบับนี้ ผมมองว่าเป็นโอกาสที่ดีสำหรับธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดาหลายๆ แห่งที่ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคลในปีที่แล้ว
และมองว่าอนาคตกิจการจะเติบโตในระยะยาว การตัดสินใจจดทะเบียนในปีนี้จะทำให้เราได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเพิ่มขึ้น
อย่างแน่นอนครับ

หลักการพิจารณาในการเปลี่ยนจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคล
ต้องบอกก่อนว่าความคิดเห็นในบทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ แต่สำหรับพรี่หนอมแล้ว ผมมองว่าการพิจารณาเพื่อ
เปลี่ยนแปลงจากบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลนั้น ควรใช้หลักการตามนี้ครับ
1. สิ่งที่ต้องรู้ก่อน คือ “กำไรของธุรกิจ” โดยมองว่ากำไรที่แท้จริงของธุรกิจที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น มีเท่าไรและ
จำนวนภาษีที่ต้องเสียนั้นอยู่ในจุดที่เรารับได้ไหม?
2. มองถึงต้นทุนในการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เช่น ค่าจ้างพนักงาน ต้นทุนต่างๆ ที่เพิ่มขึ้นหลังจากจดทะเบียนนิติบุคคลมาก
แค่ไหน ทั้งต้นทุนที่เป็นตัวเงินและเวลาที่เกิดขึ้น
3. เปรียบเทียบความชัดเจนของข้อ 1 และ 2 ว่าคุ้มค่าจริงหรือเปล่า? ประกอบกับประโยชน์ที่เราจะได้รับในประเด็นอื่นๆ เช่น
ความสะดวกในการจัดการกิจการ และการดูแลต่างๆ ทางด้านการเงิน อย่างเช่นการขอกู้ยืมเงิน รวมถึงความน่าเชื่อถือต่างๆ
หลักการ 3 ข้อนี้เป็นแนวคิดคร่าวๆ ในการจัดการที่เน้นมองไปในด้านของการเงินและธุรกิจเพียงอย่างเดียว ซึ่งหากบางคนมอง
ในแง่ของการเริ่มต้นธุรกิจหรือมองในแง่ของการเติบโตในอนาคตโดยยึดหลักการบริหารเป็นหลักมากกว่าตัวเลขทางการเงิน
ก็ควรดูการประมาณการด้านอื่นๆ ประกอบการตัดสินใจอีกทีด้วยนะครับ
ลองคิดแบบนี้ครับ…ถ้าหากการเลือกจดเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นมันเป็นประโยชน์กับเรา เช่น เราเป็นเจ้าของ
ธุรกิจที่เสียภาษีในปี 2560 เพิ่มขึ้นมากจนปวดใจ และมองว่าปีนี้รายได้เราจะเพิ่มขึ้น รวมถึงเรามีแผนอยากได้สินเชื่อธนาคาร
เพื่อขยายกิจการ การจดนิติบุคคลก็เป็นทางเลือกที่น่าสนใจที่เราได้ประโยชน์ล้วนๆ พร้อมกับสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ตามมา
ในแง่ของการประหยัดและการหักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้นต่างๆ
แต่หากเรามองว่าธุรกิจเรานั้นไปแบบเรื่อยๆ ไม่โตแน่ๆ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกวันนี้ก็เสียได้ ไม่ได้ลำบากใจ
ปี 2560 เสียน้อยกว่าเดิมอีกต่างหากเพราะรายได้ลด แบบนี้เราก็อาจไม่ต้องสนใจนโยบายนี้ก็ได้ครับ แต่ให้มองสักหน่อยว่า
ถ้าไม่จดแล้ว ภาษีที่เราเสียอยู่ในทุกๆ วันนี้มันถูกต้องแล้วนะ ถ้าถูกตรวจสอบขึ้นมาก็ไม่มีปัญหาอะไร แบบนี้เราก็ไม่เลือกจดได้
ครับ เพราะกฎหมายไม่ได้บอกว่าถ้าไม่จดแล้วสรรพากรจะมาหาถึงบ้านหรือตามล้างบางเรื่องภาษีสักหน่อย (ฮ่าๆ)
ซึ่งตรงนี้ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการบัญชีทั้งหลายคงสามารถให้คำแนะนำลูกค้าได้อยู่แล้วครับ จริงไหมครับ? และ
ผมเชื่อว่า
มาตรการเหล่านี้หรือแนวๆ นี้น่าจะมีส่วนสนับสนุนมากขึ้นในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้ธุรกิจทั้งหลายเข้าสู่
ระบบและทำบัญชี
ได้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นครับ



ภาษี : Tax Knowledge : TAXBugnoms (บล็อกภาษีข้างถนน)
วารสาร : CPD&ACCOUNT มิถุนายน 2561


FaLang translation system by Faboba