เจาะลึกกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ ภาคหนึ่ง

โดย

 


1. กฎหมายคุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเรื่องสินจ้างบอกกล่าวล่วงหน้า โดยกำหนดให้วันที่
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งไม่ได้กระทำความผิดโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายสินจ้างแทน
การบอกกล่าวล่วงหน้า คือ วันที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ดังนั้น หากนายจ้างไม่ชำระสินจ้างแทน
การบอกกล่าวลูกจ้างในวันที่บอกกล่าวทันที นายจ้างจะต้องเสียดอกเบี้ยจากการชำระล่าช้าใน
อัตราร้อยละ 15 ต่อปี และหากนายจ้างจงใจไม่จ่ายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร นายจ้างจะต้องเสียเงิน
เพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 15 ของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลา 7 วันอีกด้วย

2. นอกจากประเภทเงินต่างๆ ตามที่กฎหมายบรรยายไว้แล้ว มาตรานี้ยังใช้ถ้อยคำว่า เงินที่นายจ้างมีหน้าที่
ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ เป็นเสมือนถ้อยคำที่ครอบจักรวาลเพื่อป้องกันการขาดตกบกพร่อง หรือ
การแก้ไขเพิ่มเติมประเภทเงินอื่นอีกในอนาคต แต่เท่าที่ผู้เขียนพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานแล้ว
เงินจำนวนนี้จะหมายความรวมถึง ค่าตอบแทนเป็นเงินเท่ากับอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน
ชั่วโมงที่ทำ ค่าตอบแทนนี้เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาและค่าล่วงเวลา
ในวันหยุด ตามมาตรา 65 และค่าใช้จ่ายสำหรับการเดินทางของลูกจ้างตามมาตรา 75 ด้วย มีข้อน่าคิดว่า
กรณีเป็นบรรดาเงินสวัสดิการต่างๆ ที่ลูกจ้างได้รับจากกรณีที่คณะกรรมการสวัสดิการตามกฎหมายคุ้มครอง
แรงงานเรียกร้องมาได้ หากนายจ้างชำระเงินสวัสดิการดังกล่าวล่าช้าแล้ว นายจ้างจะต้องเสียดอกเบี้ยใน
อัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยหรือไม่ ซึ่งผู้เขียนเห็นว่า บรรดาเงินสวัสดิการในกรณีเช่นนี้ ไม่ถือเป็นเงินที่นายจ้าง
ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ แต่อย่างไรก็ตาม หากนายจ้างจ่ายล่าช้าก็จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตรา
ร้อยละ 7.5 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดไว้ในกฎหมายแพ่งแทน กรณีตามตัวอย่างนี้ เราอาจจะต้อง
รอบรรทัดฐานของศาลอุทธรณ์ชำนัญพิเศษหรือศาลฎีกาในโอกาสต่อไป

3. กฎหมายมาตรานี้ยังได้รวมถึงค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในระหว่างต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือ
แต่บางส่วนเป็นการชั่วคราวตามมาตรา 75 อีกด้วย

4. การที่นายจ้างฝ่าฝืนการชำระดอกเบี้ยให้กับลูกจ้างตามมาตรา 9 นี้ ไม่มีบทลงโทษทางอาญากับ
นายจ้างแต่อย่างใด

5. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ไม่ถือเป็นเงินตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่เป็นค่าเสียหาย
ตามมาตรา 49 ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 นายจ้างจึง
ไม่จำต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี สำหรับค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

  บางส่วนจากบทความ  “เจาะลึกกฎหมายคุ้มครองแรงงานใหม่ ภาคหนึ่ง” 
  อ่านบทความเต็มได้ใน... วารสาร HR Society magazine ปีที่ 17 ฉบับที่ 196 เดือนเมษายน 2562


กฎหมายแรงงาน : เรื่องข้น คน HR : วรเศรษฐ์ เผือกสกนธ์
วารสาร : HR Society Magazine เมษายน 2562


FaLang translation system by Faboba