ประโยชน์ของบุคคลธรรมดาและรัฐตามกฎหมายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีปี 2560

โดย

 



การลดภาระภาษี จากการปรับโครงสร้างภาษีปี 2560


(1) หักค่าใช้จ่ายได้เพิ่มขึ้น
(ก) ผู้มีเงินได้เงินได้พึงประเมินตามตามมาตรา 40 (1) และ (2) เช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่านายหน้า เป็นต้น ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 100,000 บาท (เดิม ร้อยละ 40 ของเงินได้ แต่ไม่เกิน 60,000 บาท) 
(ข) ผู้มีเงินได้พึงประเมินตามตามมาตรา 40 (3) เช่น ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์หรือสิทธิอย่างอื่น ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาได้ร้อยละ 50 ของเงินได้ดังกล่าว แต่รวมกันต้องไม่เกิน 100,000 บาท หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ (เดิม หักค่าใช้จ่ายได้เฉพาะค่าลิขสิทธิ์ ร้อยละ 40 แต่ไม่เกิน 60,000 บาท)

(2) หักค่าลดหย่อนได้เพิ่มขึ้น
(ก) ค่าลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้ 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)
(ข) ค่าลดหย่อนสำหรับสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)
(ค) ค่าลดหย่อนสำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้ รวมทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีหรือภริยาของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาท ไม่จำกัดจำนวนบุตร (แต่ถ้ารวมบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้นำมาหักลดหย่อนรวมกันได้ไม่เกิน 3 คน) (เดิม ลดหย่อนบุตรได้คนละ 15,000 บาท ไม่เกินจำนวน 3 คน) และยกเลิกค่าลดหย่อนการศึกษาบุตรที่เคยลดหย่อนได้คนละ 2,000 บาท
(ง) ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้เป็นกองมรดก 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)
(จ) ค่าลดหย่อนห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล กำหนดให้หักลดหย่อนสำหรับผู้มีเงินได้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย คนละ 60,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 120,000 บาท (เดิม 30,000 บาท รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท)

(3) ปรับปรุงขั้นเงินได้สุทธิและอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

เงินได้สุทธิ/ปี อัตราภาษี
ไม่ถึง 150,000 บาท ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษี
150,001 – 300,000 บาท 5%
300,001 – 500,000 บาท 10%
500,001 – 750,000 บาท 15%
750,001 – 1,000,000 บาท 20%
1,000,001 – 2,000,000 บาท 25%
2,000,001 – 5,000,000 บาท 30%
5,000,001 บาทขึ้นไป 35%


(4) ปรับปรุงเกณฑ์เงินได้ขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้พึงประเมินต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
(ก) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) เพียงประเภทเดียว
• ผู้มีเงินได้เป็นโสด : ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 120,000 บาท (เดิม 50,000 บาท)
• ผู้มีเงินได้มีคู่สมรส : ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วรวมกันเกิน 220,000 บาท (เดิม 100,000 บาท)
(ข) กรณีมีเงินได้จากการจ้างแรงงาน (เงินเดือน ค่าจ้าง) และมีเงินได้ประเภทอื่นด้วย หรือมีเฉพาะเงินได้ประเภทอื่นที่ไม่ใช่เงินได้จากการจ้างแรงงาน
• ผู้มีเงินได้โสด : ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)
• ผู้มีเงินได้มีคู่สมรส : ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วรวมกันเกิน 120,000 บาท (เดิม 60,000 บาท)
(ค) กองมรดกของผู้ตายที่ยังมิได้แบ่ง
• ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)
(ง) ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล
• ยื่นแบบฯ เมื่อมีเงินได้พึงประเมินในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกิน 60,000 บาท (เดิม 30,000 บาท)

(5) เปลี่ยนแปลงจำนวนเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมาคำนวณภาษีเงินได้
ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (2) - (8) จำนวนตั้งแต่ 120,000 บาทขึ้นไป ให้คำนวณในอัตราร้อยละ 0.5 ของยอดเงินได้พึงประเมิน (เดิม 60,000 บาทขึ้นไป)

บางส่วนจากบทความ “ประโยชน์ของบุคคลธรรมดาและรัฐตามกฎหมายเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างภาษีปี 2560” โดย ดร. เพชรรัตน์ ศุภนิมิตรกุลกิจ คอลัมน์ ภาษีสรรพากร วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 37 ฉบับที่ 437 เดือนกุมภาพันธ์ 2018


ภาษีสรรพากร : ดร. เพชรรัตน์ ศุภนิมิตรกุลกิจ 
วารสาร : เอกสารภาษีอากร กุมภาพันธ์ 2561



FaLang translation system by Faboba