Mentoring Program: โครงการพี่เลี้ยง อีกหนึ่งวิธีรักษาคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กรนานขึ้น

โดย





FLAG (ธง): ทักษะความสามารถของคนที่เป็นพี่เลี้ยง

คนที่เป็นพี่เลี้ยง ควรมีความสามารถทักษะอะไร?” เป็นคำถามที่น่าสนใจและต้องให้ความใส่ใจในการให้คำตอบกับ
คำถามนี้
คำว่า “FLAG” เมื่อแปลเป็นคำภาษาไทย ก็คือคำว่า “ธง” ซึ่งถือเป็น “บรรดาทักษะต่างๆ” ที่พี่เลี้ยงพึงมีพึงเป็นนั่นเอง
...โดยขอลงรายละเอียด ดังนี้

F: Feedback การให้ข้อมูลย้อนกลับ ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญอย่างมาก หากเปรียบไปแล้วก็คลับคล้ายคลับคลา
กับการตำหนิติชมวิพากษ์วิจารณากันอย่างสร้างสรรค์ แล้วพี่เลี้ยงต้องให้ Feedback อย่างไร?

Feedback นั้น แบ่งเป็น 2 แบบ ประกอบด้วย 1. Feedback เพื่อปรับปรุง (Corrective Feedback) และ
2. Feedback เพื่อสนับสนุน (Supportive Feedback) โดยทั้งสองแบบ “เป็นการให้ยาใจ” ซึ่งมีประเด็นหลักๆ อยู่ใน
“รูปแคปซูลยา”
ดังภาพข้างล่าง




ภายใต้มิติ 4 ด้าน ในฐานะ “พี่เลี้ยง” พี่เลี้ยงจะต้องเป็น...มิติที่ 1 เป็นกระจก เพื่อสะท้อนภาพ (ตัวตน) ที่น้อง
(พนักงานใหม่) เป็น สะท้อนให้เขา “เห็นภาพตัวเอง” ในมุมมองที่ “คนอื่นมองเห็น” ว่าเป็นอย่างไร? อะไรดี อะไรไม่ดี
มิติที่ 2 เป็นกุญแจ เพื่อ “ไขสู่ทางออก” หรือ “ไขสู่ความสำเร็จ” ดังนั้น จึงต้องบอก สอน ว่า “ทำอย่างไร”
“ทำอะไรก่อน – ทำอะไรหลัง” มิติที่ 3 เป็นฟองน้ำ เพื่อ “ซึมซับ” ข้อมูลรายละเอียด รับฟังเหตุผล ความคิด
ความรู้สึกต่างๆ ที่เป็นเหตุจูงใจหรือความเข้าใจ การตัดสินใจ ณ ขณะนั้นเป็นอย่างไรจึงกระทำอะไรลงไป ดังนั้น พี่เลี้ยง
ต้องเปิดหูเปิดตาและเปิดใจรับฟังในสิ่งที่น้องเล่า บอก ระบายเรื่องราวต่างๆ มากมายให้ฟัง...และมิติที่ 4 เป็นยาบำรุง
เปรียบเสมือนโทนิคหรือเซรั่มที่ใช้เพื่อบำรุงรากผมหรือบำรุงร่างกายให้คนเรามีกำลังวังชา สุขภาพสมบูรณ์เข้มแข็ง มี
กำลังใจกำลังกาย สู้ปัญหาสู้ภารกิจต่อไปนั่นเอง

L: Listening การฟัง คนทั่วไปมักเข้าใจแบบเข้าข้างตัวเองว่า “การฟังเป็นเรื่องง่ายๆ” แต่ที่จริงแล้ว...ไม่ง่ายเลย
โดยมีบททดสอบท่านง่ายๆ ว่า “ท่านทราบหรือไม่ว่าสิ่งที่คนเราสื่อสารกันนั้น มีกี่ประเด็น?” เฉลย! มีเพียง 3 ประเด็น
ประกอบด้วย 1. ความคิดเห็น 2. ความรู้สึก และ 3. ความจริง ดังนั้น ขณะที่น้องเล่าอะไรให้พี่เลี้ยงฟัง พี่เลี้ยงต้องมี
ความสามารถในการแยกแยะสาระที่เขาสื่อสารออกมาให้ได้ว่า อะไรคือความคิดเห็น อะไรคือความรู้สึก และอะไรคือ
ความจริง และที่เป็นปัญหาให้คนเราต้องเผชิญกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน ก็คือ “ความไม่เข้าไม่ใจกัน” ในความคิดเห็นของ
อีกฝ่าย “การทะเลาะกัน” ในความรู้สึกที่แตกต่างกัน “ความไม่ยอมรับกัน” ในพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน เป็นต้น
ปัญหาทั้งหมดนี้ก็ล้วนแล้วมาจาก “การฟัง” ทั้งสิ้น

ขออนุญาตยกตัวอย่างบางส่วนบางตอนจากภาพยนตร์เรื่อง “เดอะคาราเต้คิด (The Karate Kid)” ตอนที่น้องอังเดร
ฝากตัวเป็นศิษย์ให้ลุงฮานสอนวิชากังฟูให้...
อังเดร : “ผมเป็นนักกีฬา และคุณสมบัติข้อแรกคือ ผมเร็ว โอเค! ไว โอเค! ไว! สายฟ้า!...ผมเคยฝึกยิมนาสติก...
คืออย่างนี้
ลุงฮาน...คือผมจะบอกว่า...ผมมีพื้นฐานดีอยู่แล้ว! สอนผมไม่ยากเย็นเหมือนสอนคนอื่นหรอก!"
ลุงฮาน : “เสื้อ!...เอาขึ้นมา!...เอาเสื้อไปแขวน!...” 
ลุงฮานสั่งโดยที่ไม่ได้ตอบรับหรือแสดงการรับรู้ใดๆ ในสิ่งที่อังเดรพูดก่อนหน้าเลย แม้เขาจะพยายามบอกว่า...
ผม (อังเดร)
มีความพร้อมในทักษะพื้นฐานและจะเรียนรู้ได้ดีในวิชากังฟู (ความหมายโดยนัยของอังเดรคือเขามีความภาคภูมิใจ
เชื่อมั่นในศักยภาพของตนนั่นเอง) แต่น่าเสียดาย...เสียงที่เปล่งออกไปจากใจผ่านคำพูดจากปากของอังเดร...กลับ
ไม่ได้รับการต้อนรับ...สนองตอบ...จากคนที่เขาฝากตัวฝากใจรับเป็นครู...เพราะครูขาด “ทักษะการฟัง”

ดังนั้น คนที่จะเป็น “พี่เลี้ยงที่ดี” ได้จึงต้องมีทักษะการฟังที่ดีด้วย เช่นในกรณีนี้...เมื่ออังเดรคุยโม้โชว์พาวซะขนาดนั้น
ลุงฮานก็ควรแสดงอากัปกิริยาตอบสนองว่า “โอ้!...เหรอ!...เยี่ยมเลย!... ดีเลย!...พื้นฐานพร้อมซะขนาดนี้!...
ถ้างั้น...ลุยกันเลย!"

จึงขอสรุปทักษะการฟังของพี่เลี้ยงเป็น 2 คำสั้นๆ เพื่อให้สามารถนำไปฝึกทำอย่างง่ายๆ ว่า...“1. ฟังเพื่อ กับ
2. ฟังเอื้อ” ฟังเพื่อ ก็คือการฟังเพื่อให้รู้ว่าอะไรคือสาระที่ผู้พูดบอกแก่เรา ซึ่งจะมี 3 ประเด็นดังที่กล่าวไปแล้ว
1. ความคิดเห็น 2. ความรู้สึก 3. ความจริง ส่วนฟังเอื้อ ก็คือการฟังแล้วเออออ...แสดงอากัปกิริยารับรู้ ตอบสนองใน
สิ่งที่เขากำลังสื่อสาร
กับเรานั่นไงละ!

A: Asking การถาม พี่เลี้ยงควรมีความสามารถในการตั้งคำถามกับน้องใหม่ในประเด็นไหนบ้าง? ตั้งคำถามในเรื่อง
งาน เรื่องส่วนตัวเรื่องความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า หรือเรื่องการปฏิบัติปรับตัวกับสภาพการทำงาน หรือเรื่อง
อื่นๆ อีกมากมาย...หลักการตั้งคำถามที่ดีนั้น ควรตั้งคำถามแบบเฉพาะเจาะจงลงรายละเอียดในแต่ละเรื่อง ถามถึง
การกระทำว่า “ทำอะไรไปบ้าง?” ถามถึงเหตุผล เหตุจูงใจ เหตุของการคิดและการตัดสินใจในการกระทำนั้นๆ แล้วถาม
ถึงผลลัพธ์ของการกระทำนั้นว่าเป็นอย่างไร? ผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นไปตามความคาดหวังหรือตั้งใจไว้หรือไม่? และเขา
ได้รับการเรียนรู้หรือได้บทเรียนอะไรจากเหตุการณ์หรืองานชิ้นนั้น? เป็นต้น

G: Goal Setting การตั้งเป้าหมาย มีคำกล่าวที่ชวนคิดว่า “เดินหมากรุกยังต้องคิด...แล้วหมากชีวิต...ไม่คิดได้
อย่างไร?” ดังนั้น คนที่เป็นพี่เลี้ยงจึงควร “เป็นผู้นำ” “เป็นเข็มทิศ” ให้กับน้องใหม่ที่เริ่มก้าวแรกในการเข้ามาทำงานใน
องค์กร เช่น “อะไรทำให้น้องมาเริ่มทำงานที่นี่?” “อาชีพในฝัน/อาชีพที่ใฝ่ฝันของน้องคืออะไร?” “น้องวางเป้าหมาย
ชีวิตไว้อย่างไร?” “ใครคือบุคคลตัวอย่าง (Idol) ให้น้อง?” ฯลฯ


ส่วนหนึ่งจากบทความ “Mentoring Program: โครงการพี่เลี้ยง อีกหนึ่งวิธีรักษาคนรุ่นใหม่ให้อยู่กับองค์กร
นานขึ้น” โดยอาจารย์พรเทพ ฉันทนาวี คอลัมน์ HRM/HRD วารสาร HR Society magazine ปีที่ 16
ฉบับที่ 183 เดือนมีนาคม 2561


HRM/HRD 
:อาจารย์พรเทพ ฉันทนาวี
วารสาร : HR Society Magazine มีนาคม 2561


FaLang translation system by Faboba