มาตรฐานการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรปี 2561

โดย

 


สวัสดีครับ กลับมาพบกันอีกแล้วกับ TAXBugnoms เจ้าเก่าเจ้าเดิมกับบทความเพิ่มเติมประจำเดือนกรกฎาคมนี้
กับหัวข้อ
ที่น่าสนใจอย่าง “มาตรฐานการตรวจสอบภาษีของกรมสรรพากรประจำปี 2561” ครับผม
ต้องบอกก่อนนะครับว่า บทความนี้ถอดประเด็นสำคัญมาจากนโยบายบริหารมาตรฐานการจัดเก็บภาษีในวันที่มีการแถลง
นโยบายมาตรการต่ออายุบุคคลธรรมดาเป็นนิติบุคคลปี 2561 ครับ (ปัจจุบันคลิปดังกล่าวได้หายจาก YouTube ไปแล้ว
ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะสาเหตุใด ดังนั้นโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับผม)
เท้าความนิดนึงก่อนนะครับว่า…ในปัจจุบันมีธุรกิจที่อยู่ในรูปแบบนิติบุคคล (บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน) ประมาณ 600,000
ราย บุคคลธรรมดาประมาณ 2,000,000 ราย แต่กรมสรรพากรมีเจ้าหน้าที่สำหรับดูแลตรวจสอบนิติบุคคลเพียง 3,900 คน
ส่วนฝั่งบุคคลธรรมดานั้นมีเจ้าหน้าที่เพียง 1,900 คนเท่านั้น ซึ่งจากจำนวนรายที่แตกต่างกันแบบนี้ย่อมทำให้เกิดคำถาม
ตามมาว่า การตรวจสอบนั้นจะครบถ้วนได้อย่างไร จริงมั้ยครับ?
ดังนั้นประเด็นในการตรวจสอบของทางกรมสรรพากรจะเน้นไปที่ 5 ประเด็นหลักๆ เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลที่เกิด
ขึ้น โดยเน้นไปที่การทำธุรกรรมที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากงบการเงินสำหรับปี 2560 ดังนี้ครับ

1. งบการเงินกับธุรกรรมการเงิน
2. การประเมินสถานะผู้ประกอบการ
3. ระบบคัดเลือกรายผู้เสียภาษีเพื่อทำการตรวจสอบ
4. ความร่วมมือกับองค์กรเอกชนและสำนักงานบัญชี
5. การยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบบัญชีปี 2560

กลัดกระดุมเม็ดแรกให้ถูกต้องก่อน...จากงบการเงินปี 2560
เรื่องทั้งหมดน่าจะมีจุดเริ่มต้นมาจาก “บัญชีชุดเดียว” ซึ่งจากมาตรา 8 ในพระราชกำหนดยกเว้นและสนับสนุนการปฏิบัติ
การเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร พ.ศ. 2558 ระบุไว้ชัดเจนว่า งบการเงินที่ใช้เป็นหลักฐานการทำธุรกรรมกับ
ธนาคารจะต้องใช้เป็นงบชุดเดียวกันกับที่นำส่งกรมสรรพากร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป
ข้อมูลตรงนี้มันบอกเราว่า งบการเงินที่ธุรกิจต้องยื่นเพื่อใช้ทำธุรกรรมในการขอสินเชื่อนั้น มันควรจะต้องเป็นงบ
การเงินสำหรับรอบบัญชีปี 2560
นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น บริษัทที่มีรอบบัญชี 1 มกราคม - 31 ธันวาคม จะต้องยื่นแบบ
แสดงรายการและงบการเงินในช่วงสิ้นเดือนพฤษภาคม 2561 ซึ่งแปลว่าเมื่อถึง 1 มกราคม 2562 หากบริษัทนี้ต้องการ
กู้เงินหรือทำธุรกรรมต่างๆ กับทางธนาคารก็น่าจะต้องใช้ข้อมูลงบการเงินปี 2560 นี้แหละเพราะมันเป็นฉบับล่าสุดนั่น
เองครับ
และงบการเงินที่ว่า จะส่งผลต่อในเรื่องการประเมินสถานะผู้ประกอบการและการจัดกลุ่ม โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
คือ กลุ่มดีและกลุ่มเสี่ยง เพื่อที่จะต้องดูว่าต้องทำอะไรบ้าง? โดยจะเริ่มปรับแบบสถานะใหม่ 1 ตุลาคมปี 2561 ซึ่งใช้
งบการเงินในปี 2560 อีกเช่นเดียวกันครับ
ส่วนที่สามคือระบบการคัดเลือกกลุ่มธุรกิจที่มีความเสี่ยงในการปฏิบัติหน้าที่ทางภาษี โดยจะมองในเรื่องของความถี่
ในการกระทำความผิดกับผลกระทบต่อภาษี โดยมีการโฟกัสและเลือกกลุ่มกิจการที่สนใจตามแนวทางของ World Bank
ประกอบกันครับ โดยกลุ่มกิจการที่กรมสรรพากรสนใจในตอนนี้ ได้แก่ ค้าปลีก โรงแรม ร้านอาหาร จำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
เช่าซื้อ ทองคำและอัญมณี ซึ่งสำหรับธุรกิจที่อยู่ในกลุ่มนี้แต่เป็นกลุ่มที่ถูกจัดในกลุ่มดีตามข้อ 2 ระบบจะไม่ทำการ
ตรวจสอบครับ
ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งที่สนใจนั้น จะเป็นกลุ่มบุคคลธรรมดาที่เลือกหักค่าใช้จ่ายจริงและเหมาจ่ายที่มีการเสียภาษีเท่าเดิมหรือ
น้อยลงอย่างมีสาระสำคัญ เพราะจริงๆ แล้วกลุ่มนี้ควรจะต้องจ่ายภาษีเพิ่มมากกว่าเดิมเนื่องจากมีการหักค่าใช้จ่ายแบบ
เหมาลดลงตั้งแต่ปี 2560
โดยการดำเนินการสำหรับประเด็นในข้อนี้ กรมสรรพากรจะทำการเปรียบเทียบกับข้อมูลภายนอกและระบบการคัดเลือกที่
ว่านี้ โดยเริ่มจากธุรกิจต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ยกตัวอย่างเช่น ธุรกิจค้าทองคำ ตอนนี้กรมสรรพากรมีข้อมูลการซื้อขาย
ทั้งหมด ทั้งกลุ่มที่จดเป็นนิติบุคคล กลุ่มที่เป็นบุคคลธรรมดา มีการซื้อขายมาก และกลุ่มที่ไม่ยอมรับว่าตัวเองเป็นกลุ่ม
ค้าทอง แต่มีข้อมูลการซื้อขายทอง ซึ่งเมื่อข้อมูลเหล่านี้พร้อมก็จะมีการตรวจสอบในขั้นตอนต่อๆไป
นอกจากนั้นแล้วยังมีการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานอื่นด้วยครับ เช่น กรมศุลกากร กรมสรรพสามิต มีข้อมูลการนำเข้า
ข้อมูลส่งออกต่างๆ รวมถึงข้อมูลจดทะเบียนรถยนต์ต่างๆ เพื่อตรวจสอบผู้ที่มีทรัพย์สินหรือทำธุรกิจในรูปแบบลิสซิ่งให้เช่า
แอบแฝง แต่ไม่ได้เข้าระบบอย่างถูกต้องครับ
ดังนั้น ทั้งหมดจะมาเชื่อมโยงเข้าสู่เรื่องของความร่วมมือกับองค์กรเอกชนและสำนักงานบัญชี ที่กรมยังย้ำแนวคิดเดิม
เรื่องการก้าวไปด้วยกัน (กรมสรรพากร + สำนักงานบัญชี) เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันทั้งมาตรฐานการทำงานของเจ้า
หน้าที่ ดังนั้นในอนาคตกรมสรรพากรจะมีการออกคู่มือสำหรับผู้ประกอบการต่างๆ ได้แก่ กลุ่มกิจการค้าวัสดุก่อสร้าง
กิจการค้าปลีก กิจการค้าของเก่า รวมถึงคู่มือของเจ้าหน้าที่ในการตรวจสอบเพื่อให้การปฏิบัติงานชัดเจนขึ้นด้วยครับ
ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบบัญชีปี 2560 นั้น
นอกจากการย้ำความถูกต้องของข้อมูลที่มีผลกระทบต่อประเด็นต่างๆ แล้ว ยังมีเรื่องของการนำส่งงบการเงินที่มีการขยาย
เวลาไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งตรงนี้ผมจะไม่ลงประเด็นแล้วนะครับเพราะว่าเรื่องมันผ่านไปแล้ว แต่คำแนะนำคือ
อนาคตการยื่นผ่านอินเทอร์เน็ตหรือ e-Filing ต่างๆ จะมีความสำคัญมากขึ้นครับ ซึ่งเป็นสิ่งที่ทางผู้ประกอบการและ
นักบัญชีทั้งหลายต้องระวังตัวให้ดีครับ

อย่างไรก็ตาม เน้นย้ำอีกทีนะครับว่าบทความทั้งหมดนี้เป็นการสรุปประเด็นจากการรับฟัง ร่วมกับความคิดเห็น
ส่วนตัวของในมุมมองของการวิเคราะห์นโยบายการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากร โดยที่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติ
งานจริงของทางกรมสรรพากรแต่อย่างใด ทั้งหมดนี้คงต้องรอติดตามกันต่อไปในอนาคตอีกทีหนึ่งครับ


สุดท้ายแล้ว ผมมองว่าเป็นข้อดีที่ระบบต่างๆ นั้นจะมีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเพื่อประโยชน์ของประเทศเรา อีกทั้ง
เพิ่มเติมเรื่องของความถูกต้องของการเสียภาษีร่วมกับทิศทางของนักบัญชีต่อไปเรื่อยๆ และขอเป็นกำลังใจให้
นักบัญชีทุกท่านปรับตัวและสู้กับมันต่อไป เพื่อวิชาชีพอันทรงเกียรติของเราครับ แล้วพบกันใหม่อีกครั้งใน
ฉบับหน้า ส่วนฉบับนี้ต้องขอลากันไปก่อน สวัสดีครับ 



Tax Knowledge : ภาษี : TAXBugnoms (บล็อกภาษีข้างถนน) 
วารสาร : CPD&ACCOUNT กรกฎาคม 2561


FaLang translation system by Faboba