บัญชีชุดเดียวกับ Digital Transformation

โดย

 



ถ้าหากใครยังพอจำได้ เมื่อต้นปี 2559 มีกฎหมายออกมาอยู่ 2 ฉบับที่เรียกได้ว่าช็อกวงการบัญชีกันเลยทีเดียว ได้แก่
“พระราชกำหนดการยกเว้นภาษีและสนับสนุนการปฏิบัติการเกี่ยวกับภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร
พ.ศ. 2558”
และ “พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 595)” ออกมาเกี่ยวกับเรื่องการจัดทำบัญชีเดียว โดยมีประเด็น
สำคัญ คือ 

1. สนับสนุนให้มีการจัดทำบัญชีให้ถูกต้องและสะท้อนข้อเท็จจริงของกิจการ โดยให้สิทธิประโยชน์ในการไม่
ตรวจสอบภาษีย้อนหลังตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นไป และยังให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีสำหรับธุรกิจที่เป็น SMEs อย่าง
การลดอัตราภาษีอีกด้วย 

2. ให้สถาบันการเงินใช้งบการเงินที่ส่งสรรพากรในการอนุมัติสินเชื่อตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 เป็นต้นไป ตอนนั้น
จำได้ว่ามีคนเข้าไปจดแจ้งกันใหญ่ เรียกได้ว่าเป็นอีกครั้งประวัติศาสตร์ชาติไทยเกี่ยวกับการเสียภาษีกันเลยทีเดียวครับ
ซึ่งวันเวลาก็ล่วงเลยผ่านไปเกือบ 3 ปีแล้ว ตอนนี้ปี 2562 กำลังใกล้เข้ามา พร้อมกับคำถามว่านโยบายนี้ส่งผลอย่างไร
กับเราบ้าง แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรต่อไป สิ่งที่ต้องรู้และเตรียมรับมือสำหรับธุรกิจในตอนนี้ รวมถึงผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
อย่างเราๆ ก็มีดังนี้ครับ 

1. การทำบัญชีชุดเดียวลดต้นทุนของกิจการได้ โดยลดในส่วนของค่าใช้จ่ายในการหลบเลี่ยงภาษี และสามารถใช้
ข้อมูลนี้ในการตัดสินใจได้เลยโดยที่ไม่ต้องเสียเวลาถามว่า ข้อมูลจริงๆ ของธุรกิจเรามันชุดไหน ซึ่งตรงนี้จะเป็น
ประโยชน์ต่อเจ้าของธุรกิจในแง่ของการวางแผนการเงิน ดูฐานะการเงินต่างๆ รวมถึงจัดการธุรกิจได้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น

2. นักบัญชีทำงานง่ายขึ้น ชีวิตของนักบัญชีทั้งหลายจะไม่ลำบาก เพราะถ้าหากทำบัญชีตรงๆ ถูกต้องตามหลักการ
เสียภาษีได้ตามสมควร ข้อมูลทั้งหลายก็ไม่ต้องปรับแต่งให้เสียเวลา แถมไม่ต้องมามีปัญหากับสรรพากรอีกต่างหาก
อีกทั้งยังไม่ลำบากต้องมาคุยกับเจ้าของให้เหนื่อยว่า ทำให้ถูกต้องเถอะ จะได้ไม่มีปัญหาย้อนหลัง เพราะเวลามี
ปัญหาหรือพังขึ้นมาก็ต้องกลายมาเป็นหน้าที่ของนักบัญชีอยู่ดีนั่นแหละ

3. ภาครัฐหน่วยงานสนับสนุนต่างๆ จะมีการออกนโยบายที่สนับสนุนการทำถูกต้องตามกฎหมายมากขึ้น สิทธิพิเศษ
ของคนที่ทำถูกจะได้รับอย่างต่อเนื่องจะดีขึ้น แน่นอนว่าภาครัฐเองก็มีมุมมองด้านนี้มากมาย สังเกตได้จากบรรยาย
นโยบายต่างๆ ที่ออกมามากขึ้นทั้งกระตุ้นและผลักดัน ไม่ว่าจะเป็นนโยบายอย่าง National e-Payment หรือการ
สนับสนุนด้านภาษีอื่นๆที่กำลังจะออกมาในอนาคต

4. กรมสรรพากรจะมีแนวทางการตรวจสอบโดยอ้างอิงจากหลักการนี้เป็นหลัก ซึ่งแน่ละว่า ถ้าหากใครทำไม่ถูกต้อง
โทษก็ย่อมจะหนักตามมาด้วย ไอ้ที่เคยจดแจ้งไว้ก็อาจจะกลายเป็นปัญหาชีวิตแทน เพราะกฎหมายก็แจ้งไว้ชัดเจน
แล้วว่า ถ้าจดแล้วทำผิดกรมสรรพากรก็มีสิทธิตรวจสอบย้อนหลังได้ แถมยังจะอันตรายกับชีวิตของผู้ประกอบวิชาชีพ
บัญชีอีกต่างหาก เพราะหนึ่งในเกณฑ์การตรวจสอบที่เรียกว่า RBA จะมีเรื่องของคุณภาพนักบัญชีและผู้สอบบัญชี
เป็นส่วนประกอบด้วยครับ

และเมื่อกรมสรรพากรเองประกาศที่จะเดินหน้า Digital Transformation อย่างเต็มรูปแบบแล้ว ผมเชื่อ
ว่าหลังจากนี้เราจะได้เห็นเหตุการณ์ดังต่อไปนี้ครับ


1. ประเด็นสำคัญที่กรมสรรพากรจะสนใจมากขึ้น คือ ข้อมูลงบการเงินที่นำส่ง การจัดกลุ่มผู้ประกอบการ
(ดีหรือเสี่ยง) และ การทำงานของนักบัญชี (รวมถึงผู้สอบบัญชี)

2. ระบบการตรวจสอบไม่ได้เหมือนเดิมอีกต่อไป เพราะจะมีการผ่านระบบคัดเลือกที่เรียกว่า RBA ร่วมกับการจัดกลุ่ม
แบบจริงจังเพื่อจัดลำดับชั้นของคนดีและคนไม่ดี ต่อยอดไปที่การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ในการรวบรวมข้อมูล
เพื่อพัฒนาการจัดการตรวจสอบได้ดีขึ้น ร่วมกับการออกกฎหมายใหม่ๆ ที่มาช่วยให้ตรวจสอบข้อมูลได้ง่ายขึ้น

3. สุดท้ายแล้วจะไปจบที่เครื่องมือในการตรวจสอบที่แยกเด่นชัด เช่น ผู้ประกอบการที่ดีจะได้รับการตรวจสอบแบบ
แนะนำ แต่คนไม่ดีอาจจะโดนตรวจปฏิบัติการ ออกหมายเรียก หรือมีมาตรการพิเศษสำหรับคนที่ถูกจัดกลุ่มแตกต่างกัน
เพื่อให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคมมากขึ้น

ข้อดีของเรื่องพวกนี้ที่พูดมาคือ ระบบที่ว่าจะลดความคิดเห็นในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ลง ทำให้เจ้าหน้าที่กรม
ทำงานง่ายขึ้น และใช้การตัดสินใจส่วนบุคคลน้อยลงเช่นกัน เพื่อให้ทางฝ่ายผู้เสียภาษีนั้นได้ประโยชน์มากขึ้น
เช่นกันครับ

เรื่องราวทั้งหมดที่ผมเขียนขึ้นมา ไม่ใช่การจุดธูปและนั่งเทียนเขียนแต่ประการใด แต่เป็นการสรุปและคัคสรรประเด็นที่
รวบรวมมาตั้งแต่ปี 2559 ประสบการณ์ทำงาน และการเข้าฟังสัมมนากรมสรรพากร เรื่อง “ก้าวสำคัญ...ธุรกรรมการเงิน
ด้วยบัญชีชุดเดียว” เมื่อวันศุกร์ 21 กันยายน 2561 ที่ผ่านมาของตัวผมเองครับ

ลองพิจารณาจากข้อมูลทั้งหมดที่ผมให้มาดูนะครับ และลองคิดว่าในฐานะของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
เราจะเตรียมพร้อมรับมืออย่างไรดี เพราะอนาคตอันใกล้นี้...การเปลี่ยนแปลงจะมาถึงอย่างแน่นอนครับ!



Tax Knowledge : ภาษี : TAXBugnoms
วารสาร : CPD&ACCOUNT พฤศจิกายน 2561


FaLang translation system by Faboba