“อากรขาเข้า” และ “อากรขาออก”

โดย

 


ความมุ่งหมาย และบทบาทของ “อากรขาเข้า”


• ความมุ่งหมายของการจัดเก็บอากรขาเข้า

(1) เพื่อประโยชน์ด้านรายได้ของรัฐ
(2) เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศ
ความมุ่งหมายในการจัดเก็บอากรขาเข้าประการแรกคือเพื่อประโยชน์ด้านรายได้ของรัฐนั้น หมายความว่ารัฐมี
ความจำเป็นต้องหารายได้ภาษีอากรมาเพื่อให้รัฐบาลใช้ในการบริหารประเทศ การจัดเก็บอากรขาเข้าจึงมีความมุ่งหมาย
ในเรื่องรายได้เช่นเดียวกับภาษีอากรประเภทอื่น ๆ ส่วนความมุ่งหมายในเรื่องการปกป้องอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม
ในประเทศนั้น หมายความว่าการจัดเก็บอากรขาเข้าเป็นมาตรการอย่างหนึ่งในการป้องกันมิให้มีการนำเข้าสินค้าจาก
ต่างประเทศในปริมาณหรือจำนวนที่สูงเกินไป เพราะถ้ามีการนำเข้ามากเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิต
ทั้งด้านอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศด้วย

• บทบาทของอากรขาเข้า
(1) ป้องกันมิให้เกิดการขึ้นลงของราคาสินค้าที่ไม่มีเสถียรภาพจากการขาดแคลนสินค้าในประเทศ หรือการทุ่มตลาด
จากต่างประเทศ
(2) ลดการใช้จ่ายของประชาชน
(3) ลดการขาดดุลทางการค้า
(4) ป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร
การจัดเก็บอากรขาเข้านอกจากจะมีความมุ่งหมายสองประการดังกล่าวมาแล้ว ยังอาจใช้เป็นมาตรการในเรื่องการทำให้
มีเสถียรภาพด้านราคาสินค้าด้วย เพื่อมิให้ราคาสินค้าขึ้นและลดลงเร็วเกินไปจนอาจทำให้เกิดปัญหาต่อเศรษฐกิจของ
ประเทศได้ เช่น ถ้าสินค้าในประเทศขาดแคลนก็จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น รัฐก็อาจลดอัตราหรือยกเว้นอากรสำหรับ
สินค้าที่ขาดแคลนดังกล่าว เพื่อให้มีการนำเข้า เมื่อมีการนำเข้ามามากขึ้นเพื่อให้มีสินค้าที่ขาดแคลนดังกล่าวเพิ่มขึ้นใน
ตลาด ในที่สุดก็จะส่งผลให้ราคาสินค้าลดลง หรือถ้าเกิดกรณีมีการทุ่มตลาดจากต่างประเทศโดยนำสินค้าเข้ามาจำหน่าย
ในประเทศมากเกินปกติ ซึ่งอาจจะเกิดจากการสนับสนุนจากภาครัฐของประเทศที่ผลิตทำให้ราคาสินค้าถูกลงมากเกินปกติ
จึงมีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศในปริมาณที่มากจนถึงขนาดที่ถือว่าเป็นการทุ่มตลาดสินค้าในประเทศ กรณีนี้รัฐบาล
อาจใช้มาตรการทางภาษีศุลกากร โดยการเรียกเก็บอากรสำหรับสินค้าดังกล่าวในอัตราที่สูงเพื่อทำให้ราคาสินค้าดังกล่าว
ใกล้เคียงกับสินค้าแบบเดียวกันที่จำหน่ายอยู่ในประเทศ มาตรการดังกล่าวนี้คือการตอบโต้การทุ่มตลาด
อากรขาเข้าอาจใช้เป็นมาตรการในการลดค่าใช้จ่ายของประชน เนื่องจากการเก็บอากรขาเข้าจะทำให้ราคาสินค้าที่นำเข้า
สูงขึ้น จึงมีส่วนที่ทำให้ความต้องการซื้อสินค้าของประชาชนลดลง และส่งผลให้ลดการขาดดุลทางการค้าของประเทศ
อีกทางหนึ่งด้วย นอกจากนี้การจัดเก็บอากรขาเข้ายังเป็นมาตรการที่ใช้ป้องกันการลักลอบหนีศุลกากรได้ด้วย เพราะการ
จัดเก็บอากรก็จะทำให้สินค้านั้นต้องเสียอากรขาเข้าสำหรับการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศ ถ้ามีการลักลอบนำเข้าก็จะถือ
เป็นการลักลอบหนีศุลกากรด้วย และความผิดทางอาญาของผู้ลักลอบนำเข้าก็จะใช้อากรขาเข้าเป็นฐานในการคำนวณ
ค่าปรับทางอาญา
(5) เพื่อเหตุผลด้านความมั่นคงของประเทศ
(6) เพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศ
(7) เพื่อเป็นการส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศ
การจัดเก็บอากรขาเข้ายังใช้เป็นมาตรการในเรื่องความมั่นคงของประเทศด้วย เช่น สินค้าหรือของบางอย่างจะต้องมี
การห้ามนำเข้าหรือจำกัดการนำเข้า คือเป็นของต้องห้ามหรือต้องจำกัด ทั้งนี้ เพื่อเหตุผลทางด้านความมั่นคงของ
ประเทศ ภาษีศุลกากรอาจใช้เป็นมาตรการสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศอีกทางหนึ่ง เช่น รัฐบาลอาจทำความตกลง
กับประเทศที่มีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจเป็นพิเศษ โดยการทำความตกลงทางการค้า หรือ Free Trade Agreement
ในการยกเว้นหรือลดอัตราอากรให้แก่สินค้าของกันและกัน นอกจากนี้การเก็บอากรขาเข้าก็เป็นมาตรการอีกอย่างหนึ่งใน
การส่งเสริมอุตสาหกรรมและเกษตรกรรมในประเทศ เพื่อสร้างอำนาจการแข่งขันในการผลิตและขายสินค้าให้ใกล้เคียงกับ
สินค้าที่นำเข้า เนื่องจากสินค้าที่นำเข้าต้องเสียอากรก็จะทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ทำให้สินค้าในประเทศสามารถแข่งขันใน
ตลาดการขายสินค้าในประเทศได้อีกทางหนึ่ง

   
      บางส่วนจากบทความ “อากรขาเข้า” และ “อากรขาออก”
      อ่านบทความฉบับเต็มได้ใน... วารสารเอกสารภาษีอากร ปีที่ 38 ฉบับที่ 453 เดือนมิถุนายน 2562




Tax Talk : Customer Duty : รติรัตน์ คงเอียด
วารสาร : เอกสารภาษีอากร มิถุนายน  2562



FaLang translation system by Faboba